Uncategorized

สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 จัดอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ พุทธศักราช 2561 ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2562

สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 จัดอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ พุทธศักราช 2561 ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2562

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 15 ตุลาคม 2562 ดร.สุรพล เสนบุญ ประธานกลุ่มสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ พุทธศักราช 2561 ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2562 และได้รับเกียรติจาก นางอรอินทร์ คลองมิ่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล ในนามของคณะกรรมการดำเนินงานจัดอบรม กล่าวรายงาน

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสํานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้มอบหมาย และอนุมัติให้กลุ่มสถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมในฐานะส่วนราชการ จำนวน 8 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัดสมุทรสาคร
กลุ่มที่ 2 โรงเรียนโสตศึกษาปราจีนบุรี
กลุ่มที่ 3 โรงเรียนกาฬสินธุ์ปัญญานุกูล
กลุ่มที่ 4 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 57 จังหวัดเพชรบูรณ์
กลุ่มที่ 6 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่
กลุ่มที่ 7 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 37 จังหวัดกระบี่
กลุ่มที่ 8 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 3 จังหวัดสงขลา

ส่วนหน่วยฝึกอบรมที่ 4 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 เป็นผู้จัดอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ พุทธศักราช 2561 ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2562 ระหว่างวันที่ 15-27 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 32 จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษมีความรู้ ทักษะ ในการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคนพิการอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างขวัญและกําลังใจ และความก้าวหน้าในวิชาชีพครูด้านการสอนคนพิการ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยแบ่งเป็นวิชาเอกการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 27 คน วิชาเอกการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 40 คน วิชาเอกการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการหรือผู้ที่มีความต้องการจำเป็นทุกประเภทที่ได้รับบริการในศูนย์การศึกษาพิเศษ 121 คน และวิชาเอกการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการหรือผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในชั้นเรียนรวม 12 คน

ดร.สุรพล เสนบุญ ประธานหน่วยฝึกอบรมที่ 4 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 กล่าวว่า การฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ เป็นการพัฒนาครูระหว่างการปฏิบัติงานสอน เพื่อเพิ่มสมรรถนะ ให้ครูมีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการหรือผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีทักษะชีวิต และประกอบอาชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เสมอภาค และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจ และวิทยาการใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ แก่ครูสอนคนพิการหรือผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ มุ่งเน้นให้มีการฝึกปฏิบัติจริงระหว่างการฝึกอบรม ได้รับการนิเทศ กํากับติดตาม และประเมินผล จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง นําไปสู่การจัดการศึกษาที่สอดคล้องต่อความต้องการจําเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล หลักสูตรการฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ กําหนดให้ผู้เข้าอบรมศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตร 16 เล่ม ทําแฟ้มสะสมงานเขียนสะท้อนคิดจากการศึกษาด้วยตนเอง และเข้ารับการทดสอบวัดความรู้พื้นฐาน เมื่อผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหลักสูตร จึงจะเข้ารับการอบรมเข้ม เพื่อเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ฝึกปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้สําหรับคนพิการหรือผู้เรียน ที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษในสถานศึกษาที่ตนปฏิบัติงาน ซึ่งกําหนดเป็นการฝึกอบรมภาคปฏิบัติตาม หลักสูตร ที่มีการนิเทศ กํากับ และติดตาม โดยมีที่ปรึกษาให้คําชี้แนะ เกิดความมั่นใจในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

หลักสูตรการฝึกอบรมครูด้านการสอนคนพิการ ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนา หลักสูตรอบรมครูสอนการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2544 ใน พ.ศ. 2551 (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2556 (ครั้งที่ 2) และการพัฒนาหลักสูตรฉบับปัจจุบัน เพื่อปรับเนื้อหาสาระในการ ฝึกอบรมให้สอดคล้องกับวิทยาการที่ก้าวหน้าและองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งในกระบวนการฝึกอบรมได้มีการ ปรับเปลี่ยนให้ส่วนราชการเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมเข้ม เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสมรรถภาพการจัด การศึกษาสําหรับคนพิการหรือผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษที่มีประสิทธิภาพ