ข่าว ราชบุรี

นายประทีป นทีทวีวัฒน์ นายอำเภอปากท่อจ.ราชบุรีเป็นประธานเปิดโครงการสืบสานปณิธาน ร.๙ สานต่อในรัชการที่๑๐ “สร้างฝายมีชีวิต”

จ.ราชบุรี/เมื่อวันที่19พ.ค.2562เวลา9.00น.โครงการสืบสานปณิธาน ร.๙ สานต่อในรัชการที่๑๐ “สร้างฝายมีชีวิต”
นายประทีป นทีทวีวัฒน์ นายอำเภอปากท่อจ.ราชบุรีเป็นประธานเปิดโครงการสืบสานปณิธาน ร.๙ สานต่อในรัชการที่๑๐ “สร้างฝายมีชีวิต”โดยจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ นักศึกษาสถาบันสร้างชาติรุ่นที่ ๗(พระอธิการมานะ ฐานธัมโม)เจ้าอาวาส วัดหทัยนเรศวร์ ต.ห้วยยางโทน อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี โดยมีนายสุชิน พลขันธ์ กำนัน ต.ห้วยยางโทน ประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดราชบุรีให้การต้อนรับและกล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการและวัตถุประสงค์ ณ ป่าชุมชนบ้านพุเกตุเนื้อที่ ๓,๒๓๗ ไร่ โดยมีเทือกเขา หนองกระลุ่ม เทื่อกเขาพุตาแพ ล้อมลอบบริเวณพื้นที่ป่าดังกล่าวเมื่ิอมีฝนตกลงมาน้ำจากเทื่อกเขาทั้ง๒ จะไหลลงมาบันจบกัน จึงเกิดเป็นลำห้วยลิ้นช้าง ในป่าชุมชนบ้านพุเกตุ

หมู่ที่๔ ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยมีข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ทั่วประเทศ ครูผู้ควบคุมการสร้างฝาย CSR ราชบุรี วิทยาลัยธุรกิจการท่องเที่ยว นักเรียนในพื้นที่จาก รร. พุเกตุ รร.ห้วยยางโทน รร.บ้านหัวเขาจีน รร. บัานหนองลังกา พ่อค้าประชาชนจำนวน ๕๐๐ กว่าคน ซึ่งโครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรน้ำป่าไม้ โดยใช้หลักการทรงงานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้มาร่วมกิจกรรมพร้อมอุปกรณ์ จอบ เสียม พั้ว เลื่อย มีด ขวาน ร่วมกันตัดไม้ใผ่เสี้ยมไม้ให้ปลายแหลมเพื่อนำไปตอกเป็นเสา(นายอำเภอลงมือผูกเชือกเองและตอกเสาเอง ใส่หมวกสีฟ้าติดป้ายจิตอาสาที่หน้าอก)และผูกไม้ใผ่ทำเป็นฝายขึ้นโครงนำดินใส่กระสอบวางลงตามช่องสันฝายกว้างประมาณ5เมตรความยาวประมาณ20เมตรมีหูช้าง2ข้างมีฐานฝายที่ลดหลั่นลงไปจากหน้าฝายเพื่อลดแรงปะทะของน้ำกันฝายพังทลายและจะปลูกต้นไทรไว้บนสันเขื่อนเมื่อต้นไทรโตรากไทรก็จะเกาะเกี่ยวเป็นตัวยึดฝายป้องกันดินพังทลายลงกลายเป็นฝายที่มีชีวิตต่อไป ฝายดังกล่าวสร้างด้วยเงินงบประมาณของกองทุนกำนันผู้ใหญบ้านที่มีนายสุชิน พลขันธ์ประธานกำนันอำเภอปากท่อและประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดราชบุรีและชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกันสร้างฝ่ายมีชีวิตขึ้นมาโดยไม่ต้องใช้เงินงบประมาณของทางราชการเลย ประโยชน์ที่ได้ช่วยกักเก็บน้ำ และชลอการไหลของน้ำ และลดการกัดเสาะพังทลายของหน้าดิน เพิ่มความชุมชื่นของพื้นดินทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตงอกงาม ฝายมีชีวิตไม่เพียงแค่คืนฝืนป่าและระบบนิเวศน์ให้ป่าแต่ยังคืนชีวิตให้ชุมชน เพราะฝายจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนที่จะช่วยกันสร้างช่วยกันดูแลให้ป่าที่มีชีวิตต่อไป

สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน