Uncategorized ข่าว ร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ด บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ร้อยเอ็ด บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 24 ตุลาคม 2562 นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเวทีรับฟัง ความคิดเห็นต่อร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของ บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด ที่ หอประชุมสาเกตฮอลล์ ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชนในพื้นที่ อำเภอปทุมรัตต์ องค์กรอิสระ และสื่อมวล เข้าร่วม ในครั้งนี้
ทั้งนี้ บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง ได้รับสิทธิ์ตั้งโรงงานน้ำตาลมีขนาดกำลังการผลิต 24,000 ตันอ้อย/วัน จากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ตั้งอยู่บ้านโนนสวรรค์ ตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด การพัฒนาโครงการโรงงานน้ำตาลน้ำตาลดังกล่าวเข้าข่ายที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผล สิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินโครงการตามความในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการกิจการหรือการดำเนินการซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 โดยบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัดได้มอบหมายให้ บริษัท เทคนิคสิ่งแวดล้อมไทย จำกัด เป็นผู้ศึกษาและจัดทำรายงาน บริษัทฯ ได้จัดการประชุมประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการกำหนดขอบเขต แนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมารวมถึงการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของตัวแทนหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน และการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดยครัวเรือนซึ่งได้รับความได้รับรวบรวมความคิดเห็นข้อเสนอแนะประชาชนรายครัวเรือน สำหรับการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ รวมถึงเปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อพื้นที่การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรื่องมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ นายพีรพันธุ์ ชัยคณารักษ์กูล นายกสมาคมชาวไร่อ้อยร้อยเอ็ดและคณะ ได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้รับหนังสือ เนื่องจากจังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ถือครองการทำเกษตรประมาณ 3,952,000 ไร่ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 160,824 ไร่ คิดเป็น 4% ของพื้นที่ทำการเกษตรคิดปริมาณอ้อย 1,876,815 ตัน ส่วนใหญ่กระจายในอำเภอหนองพอก โพนทอง เสลภูมิ โพธิ์ชัย วาปีปทุม จตุรพักตรพิมาน และประทุมรัตต์ ผลอันเนื่องมาจากเพิ่มขึ้นปริมาณอ้อยได้ส่งผลให้มีประชากรส่วนหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ดได้หันมาประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมไร่อ้อยเพื่อสร้างรายได้กับครัวเรือนอีกทั้งเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพกับประชากรในพื้นที่ใกล้เคียงที่ทำการเพาะปลูกอ้อยซึ่งรวบรวมแล้วคงไม่ต่ำกว่าแสนครัวเรือนในปัจจุบัน ปัญหาความเดือดร้อนซึ่งเกิดขึ้นกับชาวไร่อ้อยจังหวัดร้อยเอ็ดต่อเนื่องมาตลอดคือ ราคาอ้อยตกต่ำตั้งแต่ปี 2561 ต่อเนื่องมาตลอดอีกทั้งยังต้องประสบปัญหาภัยแล้ง ผลผลิตตกต่ำได้รับความเสียหายไม่คุ้มทุนมีหนี้สินสะสมมาตลอด เนื่องด้วยผลดังกล่าวชาวไร่อ้อยจังหวัดร้อยเอ็ดนำโดยสมคมชาวไรอ้อยร้อยเอ็ดได้นำตัวแทนของชาวไร่อ้อยในแต่ละเขตอำเภอของสมาคมนำหนังสือเพื่อนำเสนอขอความช่วยเหลือแก้ปัญหาความเดือดร้อนต่อท่านผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ดังนี้
ช่วยนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระทรวงอุตสาหกรรมที่ดูแลระบบอ้อยและน้ำตาล กระทรวงการคลังที่ดูแลงบประมาณนำเอานโยบายประกันราคาอ้อยขั้นต้นตันละ 1,000 บาท ในราคาที่ 10 ซีซีเอส ผ่อนผันรถบรรทุกอ้อยในการบรรทุกอ้อยจากไร่ของเกษตรกรไปโรงงานโดยให้จำกัดความสูงที่ไม่เกิน 4.00 เมตร อนึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบรรทุกอ้อย เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรชาวไร่อ้อย นำเรื่องไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผ่านกรมวิชาการเกษตรให้นำงบประมาณส่วนหนึ่งไปพัฒนาผลิตพันธุ์อ้อยที่ทนแล้ง ทนพื้นที่ดินเค็มเป็นการเพิ่มผลผลิตอย่างยั่งยืนให้กับเกษตรกร สร้างความสมดุลให้กับปริมาณอ้อยในพื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยการส่งเสริมให้มีการสร้างโรงงานน้ำตาลภายในจังหวัดอันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาสร้างรายได้ซึ่งอาชีพการปลูกอ้อยเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง เกษตรกรอย่างยั่งยืนและมั่นคงในอนาคต

/////ให้เครดิต*
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
อำนวย ระดาบุตร บก.ข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด
*ศรีไพร ทูลธรรม รายงาน