ข่าว พะเยา

ชาวบ้าน พะเยา-ลำปาง ร่วมฟื้นฟู อนุสรณ์สถานพ่อขุนงำเมืองอดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพะเยา 721 ปีให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

พะเยา ชาวบ้าน พะเยา-ลำปาง ร่วมฟื้นฟู อนุสรณ์สถานพ่อขุนงำเมืองอดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพะเยา 721 ปีให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ ของ พ่อขุนงำเมือง อดีตกษัตริย์ ผู้ปกครองเมืองพะเยา( ภูกามยาว )และได้มาสิ้นพระชนม์ ในเขตพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง หลังจากที่ได้ยกทัพมาช่วยทำการสู้รบ กับข้าศึกที่รุกรานอำเภองาว จนเป็นเหตุให้ พระองค์ท่าน ได้รับบาดเจ็บ จนต้องสิ้นพระชนม์ ใต้ต้นสมพง หรือ(ต้นผึ้ง-ต้นงุ้น และต้นมะขาม 7 นาง) บ้านทุ่งศาลา หมู่1 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดพะเยา เมื่อปี พ.ศ1841 รวม 721 ปีที่ผ่านมา และชาวบ้าน2จังหวัดพะเยา-ลำปาง พร้อมชุมชนบ้านทุ่งศาลา ร่วมแรงร่วมใจกันจัดสร้างอนุสรณ์สถานที่สิ้นพระชนม์พ่อขุนงำเมืองอดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมือง ไว้เป็นที่ สักการะ ยึดเหนี่ยวจิตใจ และให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ ของ 2 จังหวัด พะเยา-ลำปาง รวมเวลาถึง721ปีผ่านมา ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้ ได้ถูกลืม ว่ามีความสำคัญ ทางด้านประวัติศาสตร์ เป็นบ้านพี่เมืองน้อง ของชาวพะเยาและชาว อำเภองาว จังหวัดลำปาง มาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านเตรียมพัฒนาเป็นสถานที่ศึกษาและท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ระหว่าง2จังหวัด ในโอกาสต่อไป

สำหรับประวัติศาสตร์ พ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพะเยา เป็นลำดับที่ 9 นับตั้งแต่พ่อขุนจอมธรรมเป็นต้นมาประสูติเมื่อปีเป๊กสัมฤทธิศก จุลศักราช 600 พุทธศักราช 178 1 เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำเม็งวันพฤหัสบดี ไทยเต่าไจ้ ยามปล่นรุ่ง ดวงชะตาพฤหัสบดีอยู่ราศีกรกฎ พุธกับอาทิตย์อยู่ราศีเมษกุมภ์ลัคนา จันทร์ อยู่ราศีพฤศจิก ศุกร์เสาร์ราหูอยู่ราศีกันย์ อังคารอยู่ราศีธนู ฤกษ์ได้ 17 ตัว ชื่ออนุราธะ เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบสายมาจากท้าวจอมผาเรือง พระราชบุตรของขุนเจื๋อง เมื่อขุนงำเมืองมีพระชนมายุได้ 14 ปี พระราชบิดานำไปศึกษา เล่าเรียนวิชาศิลปศาสตร์ 2 ปี จบการศึกษาพระชนม์ได้ 16 ปีพระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อ ณ กรุงละโว้ (ลพบุรี) คณะศึกษาได้รู้จักคุ้นเคยกับพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย จึงมีความสนิทสนมและผูกพันธ์ไมตรีจิตต่อกันอย่างแน่นแฟ้น เพราะได้เข้าศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมครูอาจารย์เดียวกันเป็นพระสหายกันตั้งแต่นั้นมา ขุนงำเมืองหลังจากเรียนศิลปศาสตร์ก็ได้เสด็จกลับเมืองพะเยาถึงปีจุลศักราช 620 พุทธศักราช 1801 พ่อขุนงำเมืองพระบิดาก็สิ้นพระชนม์ ขุนงำเมืองขึ้นครองราชย์ตั้งแต่นั้นมา

ตำนานเมืองพะเยากล่าวตอนหนึ่งว่า ขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอิทธิฤทธิ์มากเช่นกับพระร่วงเจ้า จะเห็นได้ว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน “แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำ” บังคับจะให้แดดก็แดดจัด ครั้นจะให้หมดก็บด คือทำให้อากาศปิดบังได้ ถ้าจะให้ฝนตกก็ตกลงมาทันทีเป็นต้นจึงได้พระนามว่า”งำเมือง” และได้ทำการปกครอง อาณาจักร ภูกามยาว มาอย่างร่มเย็นเป็นสุข

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอำเภองาวจ.ลำปาง และจ.พะเยา ในอดีต พ่อขุนงำเมืองกลับมาเยือนเมืองเงิน (งาว) ตามคำร้องเรียกของชาวงาว เพราะเมืองนี้เป็นเมืองประยูรญาติ มีความใกล้ชิดกันตลอดเช่นพ่อแสนเมือง เจ้าผู้ครองเมืองงาว ก็ได้เข้าไปท่องเที่ยวประทับอยู่เมืองพะเยาเช่นกัน ถือว่า เมืองพะเยาเป็นเมืองพี่เมืองเงิน(งาว) เป็นเมืองน้อง มีอะไรก็จะช่วยเหลือกัน มีการเล่าขานมา

ต่อมา เมืองเงิน(งาว) ถูก ข้า ศึกเงี้ยว เข้าโจมตี และปล้นทรัพย์ของประชาชนชาวเมืองเงิน ได้รับความเดือดร้อน และพ่อขุนงำเมืองได้ยกกองทัพมาช่วยเมืองเงิน สู้รบกับพวกเงี้ยว ที่มารุกรานเมืองเงิน( ราวปีพ.ศ 1850 ) จนพวกเงี้ยวแตกพ่ายไป ล้มตายเป็นจำนวนมาก และ พ่อขุนงำเมืองได้ต้อนข้าศึก แตกพ่าย ในการปราบข้าศึกครั้งนี้ ขณะเดียวกันพ่อขุนงำเมือง ถูกลูกปืนของข้าศึก ได้รับบาดเจ็บ แล้วหยุดรักษาพยาบาลเป็นเวลานาน แต่มีอาการ มีแต่ทรงกับทรุดซึ่งรักษาพยาบาลอาการก็ไม่ดีขึ้น อยากแต่การรักษาให้หายได้ พญางำเมืองก็มาสิ้นพระชนม์ ณ.สถานที่ ปัจจุบันเรียกว่าบ้านทุ่งศาลา หมู่ 1 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง สถานที่ตรงนี้จะมีต้นไม้ใหญ่ 2 ต้นขึ้นใกล้ชิดกัน คือต้นสมพง หรือ(ต้นผึ้ง-ต้นงุ้น และต้นมะขาม 7 นาง) ที่มีขนาดลำต้นสูงใหญ่ วัดโดยรอบประมาณ 5 เมตร และมีต้นมะขามอยู่ห่างกันประมาณ 25 เมตร รวมต้นไม้ใหญ่ติดกัน3 ต้น ซึ่งชาว อำเภองาว และชาวบ้าน ทุ่งศาลา จึงได้ทำการใช้ สถานที่แห่งน เป็นอนุสรณ์สถานที่สิ้นพระชนม์ ของพ่อขุนงำเมืองอดีตของเมืองพะเยา จึงสร้างศาลเจ้าพ่อขุนงำเมืองขึ้นมา 1 หลังขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร ต่อมาชาวบ้านทุ่งศาลาและชาวอำเภองาวจังหวัดลำปางร่วมแรงร่วมใจกัน นำเงินสมทบ จัดสร้างรูปหล่อองค์รูปเหมือนประทับยืนของ พ่อขุนงำเมือง ขนาดสูง 1.7 เมตร นำมาประดิษฐาน ไว้บุญแท่น ในสถาน ที่สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ . 2559 ที่ผ่านมาและได้ยึดถือเอาทุกวันที่ 27 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นงานประเพณีบวงสรวง พ่อขุนงำเมือง เป็นงานประจำปีของอำเภองาวจังหวัดลำปาง เช่นเดียวกับที่จังหวัดพะเยาที่มีงานพิธีบวงสรวง พ่อขุนงำเมือง ในวันที่ 5 มีนาคมของทุกปีด้วยเช่นกัน

นางสาวกนกอร สุวรรณาลัย ส.อบต.นาแก
บ้านทุ่งศาลาหมู่ 1 ตำบลนาแกอำเภองาวจังหวัดลำปาง กล่าวว่า จากการติดตาม ประวัติศาสตร์ของพ่อขุนงำเมืองอดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพะเยา ที่ได้มาสิ้นพระชนม์ ณ.อนุสรณ์สถาน สิ้นพระชนม์ พ่อขุนงำเมือง บ้านทุ่งศาลา หมู่ 1 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง เดิมทีได้มีร่างทรงของพ่อขุนงำเมืองจะมาทำการเข้าทรงที่อนุสรณ์สถานที่สิ้นพระชนม์พ่อขุนงำเมืองแห่งนี้ เมื่อหลายสิบปีก่อน จะมีเพียง ศาล เพียงตาเก่าๆอยู่1หลัง และมีร่างของพ่อขุนงำเมืองมา จะมา ณ บริเวณนี้อย่างต่อเนื่อง และติดต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

จึงได้เริ่มศึกษาติดตาม ประวัติศาสตร์ของพ่อขุนงำเมือง จนกระทั่งทราบว่า พ่อขุนงำเมือง ได้มาสิ้นพระชนม์ ตรงนี้ พอได้มา เป็นนักการเมืองท้องถิ่นจึงอยากจะพัฒนาตรงนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพราะเรามีต้นทุนอยู่แล้วตามตำนานที่มีการเล่าขานพ่อขุนงำเมืองได้มาสิ้นพระชนม์ตรงจุดนี้ก็เลยพยายามสืบค้นหาข้อมูลก็เลยได้หนังสือที่ได้ทำการบันทึกซึ่งเป็นหนังสือของอำเภองาวและเป็นประวัติ ของอำเภองาวซึ่งในหนังสือเล่มนี้จะท่านปลัดในสมัยนั้นได้เป็นผู้เขียนเอาไว้ว่า พ่อขุนงำเมืองได้มาสิ้นพระชนม์ที่บ้านทุ่งศาลาแห่งนี้จึงได้พยายามสืบค้นจนกระทั่งได้ไปที่จังหวัดพะเยาไปไหว้พระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำก็ได้หนังสือที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์หรือ(หลวงพ่อใหญ่)อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ได้เขียนบันทึกไว้ในหนังสือโดยระบุว่าบ้านทุ่งศาลาหมู่ 1 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวั ลำปาง พ่อขุนงำเมืองได้มาสิ้นพระชนม์นะตรงนี้ก็เลยเป็นที่จุดประกายขึ้นมาว่าได้มีหนังสืออ้างอิงจำนวนหลายเล่มจึงได้คิดว่า ต้องทำ อะไรซักอย่างขึ้นมาเพื่อให้ชาวบ้านทุ่งศาลาไม่เห็นได้เคารพและให้ เงินสถานที่ ชาวอำเภองาวและชาวพะเยาได้มาเที่ยวจึงได้มีความคิดที่จะพัฒนาบริเวณสถานที่สิ้นพระชนม์พ่อขุนงำเมืองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางด้านประวัติศาสตร์

หลังจากนั้น ได้ปรึกษากับหลายฝ่ายตลอดผู้คนที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ของพ่อขุนงำเมืองเข้ามาร่วมกันคิดจะทำการพัฒนาบริเวณละตรงจุดนี้จะจึงได้จัดตั้งองค์ผ้าป่าขึ้นมาและสร้างรูปเหมือนพ่อขุนงำเมืองขึ้นมาเพื่อนำมาประดิษฐานณบริเวณจุดนี้เพื่อแสดงให้รู้ว่าบริเวณแห่งนี้เป็นสถานที่สิ้นพระชนม์ของพ่อขุนงำเมืองซึ่งจะทำการพัฒนาเป็นหลังท่องเที่ยวขึ้นมาโดยก่อนการดำเนินการก็ได้มีการสืบค้นหาช่างที่จะทำการปั้นรูปหล่อพ่อขุนงำเมืองและจึงได้ไปพบสล่าแดงหรือนายกิตติภพ ขันทะกิจ ช่างพื้นบ้านเมืองพะเยาได้ทำการออกแบบรูปหล่อพ่อขุนงำเมืองโดยใช้เงินในการดำเนินการ1แสนกว่าบาท ของเงินที่ได้จากทอดผ้าป่า จำนวน 200,000 กว่าบาท จากจิตศรัทธาของชาวเมืองงาวและชาวจังหวัดพะเยาพอสร้างเสร็จ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2559 ก็ได้อัญเชิญรูปเหมือนของพ่อขุนงำเมืองประทับในท่ายืนสูง 1 เมตร 70 เซนติเมตรแห่นำมาประดิษฐาน ณ.ที่บริเวณแห่งนี้จนถึงปัจจุบันและทางชาวอำเภองาวก็ได้ยึดถือวันที่ 27 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันงานพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองอดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพะเยาที่ได้ เข้ามาสู้รบกับข้าศึกที่บุกรุกจนพระองค์ท่านได้รับบาดเจ็บ และสิ้นพระชนม์ตรงบริเวณบ้านทุ่งศาลา รวม 721ปี และได้สร้าง อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองได้ 3 ปี

สัมภาษณ์ นางสาวกนกอร สุวรรณาลัย ส.อบต.นาแก บ้านทุ่งศาลาหมู่ 1 ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดพะเยา(เบอร์โทร 089 838 2409)