ข่าว พะเยา

พะเยา หนึ่งปีมีครั้ง สวดเบิก พิธีกรรมล้านนาสืบทอดมายาวนาน

https://youtu.be/ZGQd8ToiuEQ

พะเยา หนึ่งปีมีครั้ง สวดเบิก พิธีกรรมล้านนาสืบทอดมายาวนาน

วันที่ 18 เม.ย.62 ผู้สื่อข่าวได้ติดตามดูชาวบ้านตำบลแม่ใสที่กำลังร่วมกันทำพิธีกรรม การสวดเบิก ซึ่ง 1 ปี มี 1 ครั้ง ที่ได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน การสวดเบิกหรือเข้าเบิก จะเริ่มทำพิธีสวดช่วง หลังเทศกาลปีใหม่เมือง โดยชาวบ้าน ทั้ง 12 หมู่บ้านใน ตำบลแม่ใส จะผลัดเปลี่ยนกันทำพิธีสวดเบิก เข้าเบิก ตามจุดต่างๆ ที่ชาวบ้านเลือก เพื่อเป็นการขับไล่ปัดเป่า สิ่งชั่วร้าย ให้แก่หมู่บ้าน ตลอดจนสัมภเวสี และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ บ้านเรือน และตัวตนของชาวบ้านเอง

โดยพิธีการสวดเบิก พระนำเอาหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นภาษาคำเมืองล้านนา นำมาใช้เป็นบทสวด และทำพิธีปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ตามความเชื่อของชาวล้านนา ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ การเข้าเบิกเป็นประเพณีที่เก่าแก่ ปัจจุบัน จะไม่ค่อยมี ตำบล อำเภอ หรือจังหวัดใกน ทำกัน ไม่มาก แต่ที่ตำบลแม่ใส อ.เมือง พะเยา ประเพณีสวดเบิก เข้าเบิกทำสืบทอดกันมายาวนาน การสวดเบิกทำเพื่อป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น โรคระบาด และอุบัติเหตุ อุบัติภัยต่างๆที่ผ่านพันไปหรือที่ยังไม่เกิดขึ้น การทำพิธีคนในหมู่บ้าน จะร่วมกันกำหนดวันและสถานที่ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาทำพิธีสวดเบิก หรือเข้าเบิก การสวดเบิกเป็นการสวดของชาวล้านนา จะ สวดในงานพิธีสมโภชพระพุทธรูป ทางล้านนาเรียกว่า การอบรมพระเจ้า, เปิดไขตา พระเจ้า การสวดเบิกเป็นการสวดประสานเสียงแบบพื้นเมืองของพระภิกษุและสามเณร โดย พระภิกษุเป็นเสียงกลาง (เสียงต่ำ) สามเณรเป็นเป็นเสียงน้อย (เสียงสูง) การสวดเบิกนั้นแบ่งบท สวดออกเป็นวาร ต้องฝึกหัดกันอย่างพิถีพิถันมากใช้เวลาฝึกซ้อมเป็นเวลาหลายเดือน บทสวดเบิก มี4 วาร (บท) โดยเนื้อหาแต่ละวารเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับการตรัสรู้ธรรมของ องค์สัมมาสำพุทธเจ้า แต่ละวารมีท่วงทำนองที่ไพเราะแตกต่างกันไป ซึ่งการทำพิธีสวดเข้าเบิก จะกระทำกันบริเวณทางแยกเข้าหมู่บ้านชาวบ้านจะนำด้ายสายสินมาโยงเข้าบ้านใครบ้านมัน บางคนเอาไว้ที่หิ้งพระบ้าง ก็เอบรอบตัวบ้าน รอบรถ เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปในตัวด้วย พระสงฆ์ ทำ พิธีบูชาพระรัตนตรัย รับศีล และสวดเบิก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

การสวดเบิกแต่ละจังหวัดของชาวล้านนา จะทำในโอกาสที่ต่างกัน โดยส่วนใหญ่ทำในช่วงหลังปีใหม่เมือง ทุกปี เพื่อสืบชะตาน สะเดาะเคราะห์ หมู่บ้าน ที่เข้าสู่ศักราชใหม่ หรือปี๋ใหม่เมือง เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว หลังพิธีการสวดเบิกเสร็จ ชาวบ้านที่มาร่วมพิธี จะแย่งกันดึงด้ายสายสิญจน์ที่ผูกโยง กับอาสนะสวดเบิกกลับบ้าน เพื่อนำไปผูกข้อมือให้แก่ลูกหลาน ผูกติดประตูบ้าน ประตูรั้ว บ้าน หรือนำไปผูกรถหรือนำติดตัว ถือว่าการสวดเบิก ของชาวบ้านชุมชนแม่ใสนั้น เป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ของชาวล้านนาที่หาดูได้ยากยิ่งในยุคปัจจุบัน