เกษตรกร

ร้อยเอ็ดชาวตำบลโนนสวรรค์อำเภอปทุมรัตต์ไม่เอาโรงน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลขอให้ย้ายไปสร้างที่อื่น เพราะที่นี่คือนครหลวงแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิอันลือชื่อสุดท้ายโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งต้องเริ่มต้นใหม่อย่างทั่วถึง

ร้อยเอ็ดชาวตำบลโนนสวรรค์อำเภอปทุมรัตต์ไม่เอาโรงน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลขอให้ย้ายไปสร้างที่อื่น เพราะที่นี่คือนครหลวงแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิอันลือชื่อสุดท้ายโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งต้องเริ่มต้นใหม่อย่างทั่วถึง

เมื่อเช้าวันนี้วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.00 น.ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ดนายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดการเจรจา เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยการดำเนินงานของ นายสายยนต์ สีหาบัว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดร้อยเอ็ด,นายกมล ชัยกันทะ ท้องถิ่นจังหวัด และคณะ พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด ฝ่ายทหาร ตำรวจ ,ดร.รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน,นายแสนพิทักษ์เกษมเหลาชัย เลขานุการชมรมเครือข่ายคนรักษ์ปทุมรัตน์(กลุ่มผู้ร้อง), ผู้แทนโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล บริษัทน้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด
โดยที่จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ จากนายแสนพิทักษ์ เกษมเหลาชัย เลขานุการชมรมเครือข่ายคนรักษ์ปทุมรัตต์ กรณีขอให้ย้ายสถานที่ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลและโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ออกจากพื้นที่ตำบลโนนสวรรค์อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด และได้รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ จากประชาชนตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด(กลุ่มผู้ร้อง) ร้องเรียนร้องทุกข์กรณี เนื่องจากบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด จะดำเนินการ สร้างโรงงานผลิตน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล(ชานอ้อย) ในเขตพื้นที่ตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งประชากรทั้งหมด ในพื้นที่อาจจะได้รับผลกระทบหลายด้าน อาทิ ด้านมลพิษทางอากาศ ด้านมลพิษทางน้ำ ปัญหาด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการจราจรและอื่นๆ จึงไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงงานดังกล่าว และขอคัดค้านการก่อสร้างในพื้นที่ ตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ดพิจารณาเห็นว่า ประเด็นการร้องเรียนดังกล่าว เป็นกรณีที่กระทบต่อประชาชน เป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดการขัดแย้งในพื้นที่ เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รวมทั้งเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเป็นธรรม จึงได้เชิญส่วนราชการหน่วยงานและผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมชี้แจง และให้ข้อมูล ในประเด็นการร้องเรียนดังกล่าว เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น

 

นายแสนพิทักษ์ เกษมหลังไชย เลขานุการชมรมเครือข่ายคนรักษ์ปทุมรัตน์(กลุ่มผู้ร้อง) กล่าวว่า.-ประชาชนชาวตำบลโนนสวรรค์ พร้อมด้วยกลุ่มข้าวอินทรีย์ตำบลโนนสวรรค์ กลุ่มเกษตรกรชาวนาตำบลโนนสวรรค์ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ปทุมรัตต์ เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านอำเภอปทุมรัตต์ สหณ์กรเครดิตยูเนี่ยนปทุมรัตน์จำกัด สภาองค์กรชุมชนอำเภอปทุมรัตต์ เครือข่ายครูอำเภอปทุมรัตต์ ได้ประชุมพิจารณาเห็นพร้อมกันว่า การดำเนินการของบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัดที่จะมีโครงการ สร้างโรงงานผลิตน้ำตาลขนาด 24000 ตันอ้อยต่อวัน และโรงไฟฟ้าชีวมวล(ชานอ้อย) ขนาด 80 เมกะวัตต์ในพื้นที่ตำบลโนนสวรรค์ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
ซึ่งถือเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมาในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยบริษัทได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินจำนวน 500 กว่าไร่ บริเวณตลาดนัดโค กระบือ ตำบลโนนสวรรค์ และได้ดำเนินการส่งเสริมการปลูกอ้อย ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ มาประมาณ 3 ปีแล้วนั้น ประชาชนมีความกังวลต่างๆที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และวิถีชีวิต ในวงกว้าง กลุ่มและเครือข่ายต่างๆ ในอำเภอปทุมรัตต์ ได้เชื่อมร้อยกันเป็นเครือข่ายคนรักษ์ปทุมรัตต์ ด้วยจิตสำนึกแห่งความรักท้องถิ่นและบ้านเกิด จึงขอเป็นตัวแทนประชาชนชาวปทุมรัตต์ แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
และไม่ยอมรับการดำเนินการที่ขาดการมีส่วนร่วม ของคนในพื้นที่ และขอเสนอข้อเรียกร้องต่อทุกส่วนที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1 ขอให้บริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด ชะลอการดำเนินโครงการโดยหยุดการทำ อีไอเอ ไว้ก่อนเพื่อลดความขัดแย้งในพื้นที่, 2 ขอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง วางตัวเป็นกลาง ทำหน้าที่ให้ข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน และทั่วถึง และสร้างการมีส่วนร่วม โดยยึดหลักตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ. 2560 มาตรา 43 และ 58 และระเบียบสำนักนายกมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนปี พ.ศ. 2548 จัดให้มีการประชาคมหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน ในอำเภอปทุมรัตต์ เพื่อให้คนส่วนใหญ่ ได้รับข้อมูลและมีสิทธิตัดสินใจว่า จะให้ดำเนินโครงการหรือไม่ 

โดยในที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นของบุคคลในพื้นที่ รวมถึงเทศบาลตำบลโนนสวรรค์พร้อมกันนั้นทางด้านตัวแทนของบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งจำกัด ได้แลกเปลี่ยนอธิบายเหตุผลต่างๆที่ได้ดำเนินการอยู่ การเสนอแนวความคิดเห็นก่อนหน้าไม่มีการประชาคมให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างกว้างขวาง ,ประชาชนกังวลใจต่อผลกระทบการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขภาพ การคมนาคม และที่สำคัญที่สุด คือผลกระทบที่มีต่อการปลูกข้าวหอมมะลิ นอกจากนั้นยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางด้านวัฒนธรรมประเพณีต่างๆซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อ ส่งผลกระทบด้านลบอย่างใหญ่หลวง และสุดท้ายยืนยันว่าอยากจะให้ย้ายไปสร้างที่อื่น
ในที่สุด นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานได้กล่าวสรุป รวบรวมความคิดเห็น โดยเป็นที่ตกลงเห็นพ้องต้องกันว่า ขอให้ปลดป้ายต่อต้านลงก่อน เนื่องจากว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายและทางด้านบริษัท น้ำตาลบ้านโป่งจำกัด ก็จะไปทบทวนแนวทางการปฏิบัติที่ที่เหมาะสม ซึ่งชาวบ้านยืนยันพร้อมกันว่าจะต้องเริ่มต้นใหม่ ถ้าทางด้านบริษัทน้ำตาลบ้านโป่ง ไม่เริ่มต้นใหม่ก็จะไม่เอาป้ายต่อต้านลง แต่ในที่สุดก็เห็นคล้องจองกันว่า ควรจะไปเปิดประชาพิจารณ์เริ่มต้นใหม่ หรือเปิด ค 1 และเป็นที่พอใจ ทั้งผู้ร้องและบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งเวลา 12:00 น .กว่าๆได้ยุติการประชุม เพื่อจะไปดำเนินการตามความเห็นชอบฝ่ายต่างๆ ในที่ประชาคมครั้งต่อไป โดยกระบวนการต่างๆ ขั้นตอนต่างๆนั้น จะต้องมีหน่วยงานทุกภาคส่วน ไปร่วมเห็นชอบ และทางจังหวัดต้องตั้งคณะกรรมการดูแลขั้นตอนต่างๆให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป.-

 

—-///—สมนึก/ร้อยเอ็ด/0885730542—-