ข่าวเชียงใหม่

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ เชียงใหม่เมืองไร้ขยะ ไร้พลาสติก ไร้โฟม(Chiangmai No Waste No plastic No foam )”

การประชุมเชิงปฏิบัติการ
“ เชียงใหม่เมืองไร้ขยะ ไร้พลาสติก ไร้โฟม(Chiangmai No Waste No plastic No foam )”
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมรอยัลแอร์คิดแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายมนัส ขันใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิด การประชุม เชิงปฏิบัติการ
โดยมี นายสรัชชา สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่
“เชียงใหม่ไร้ขยะ ไร้พลาสติก ไร้โฟม Chiangmai No Waste No plastic No foam)” ในวันนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ให้แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านการนำเสนอโครงการต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือด้านงบประมาณ ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคนิควิชาการ เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รัฐบาลโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้ให้ความสำคัญด้านการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน จึงประกาศเป็นวาระแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 และเมื่อคราวประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีมติให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ(พ.ศ.2559-2564) แผนปฏิบัติ การ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน” จังหวัดสะอาด”และในปีนี้รัฐบาล ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก โดยจัดโครงการ”ทำความดี ด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” เป็นการบูรณาการระหว่าง ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ของประเทศให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จังหวัดเชียงใหม่จึงกำหนด

กิจกรรม”เชียงใหม่เมืองไร้ ขยะ ไร้พลาสติก ไร้โฟม (Chiangmai No Waste No plastic No foam)”เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและของเสียอันตรายในพื้นที่ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสำคัญและได้รับมอบหน้าที่ตามกฏหมายให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ในพื้นที่ของตน จึงจำเป็นอย่างที่ที่ต้องได้รับการสนับสนุน เสริมสร้างศักยภาพให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ