ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ เกษตรกร

“ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเชียงใหม่ ชิงรางวัลภาคเหนือ ชูลดต้นทุนเกษตรกรกว่าหกล้านบาท”

“ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนเชียงใหม่ชิงรางวัลภาคเหนือ ชูลดต้นทุนเกษตรกรกว่าหกล้านบาท”

วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.00 น. นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ดอกเตอร์สราวุฒิ วรพงษ์ นายอำเภอสันกำแพง ร่วมการประกวด ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนดีเด่นระดับเขตภาคเหนือ โดยนางแจ่มจันทร์ ล่ามช้าง เกษตรอำเภอ นายมนู บัวคำปัน ประธานศูนย์ฯร่วมให้ข้อมูล ณ เทศบาลตำบลต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งใน 25 ศูนย์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง เกษตรกรส่วนใหญ่ของอำเภอสันกำแพงปลูกข้าวเป็นหลักมีพื้นที่ปลูกกว่า 30,000 ไร่ เกษตรกรกว่า 3,000 ราย ที่ผ่านมา สภาพอากาศที่แปรปรวนประกอบกับการทำการเกษตรแบบพึ่งพาสารเคมีอยู่มาก ทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงอีกทั้งการควบคุมโรค แมลงนั้นไม่เกิดความยั่งยืนคือ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริงต้องใช้ทั้งสารเคมีปริมาณมากทำให้ต้นทุนสูง เกิดผลกระทบต่อระบบวนเกษตรสิ่งแวดล้อม อีกทั้งภาวะสุขภาพของเกษตรกร รวมถึงผู้บริโภค

อีกทั้งเมื่อปี 2555 เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้ประสบปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด อย่างหนัก ทางสำนักงานเกษตรอำเภอสันกำแพง กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมกับเทศบาลเมือวต้นเปาได้นำสารชีวภัณฑ์มาใช้ในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลพร้อมทั้ง ได้จัดตั้งศูนย์ จัดการศัตรูพืชชุมชนต้นเปาเพื่อเป็นเพื่อลดความเสี่ยงการระบาดของศัตรูพืชในพื้นที่ โดยเน้นวิธีการผสมผสาน เป็นจุดสาธิต จุดเฝ้าระวังการระบาด แจ้งเตือน พร้อมผลิต ขยายสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่พร้อมทั้งมีการบริหารจัดการรูปกลุ่มเกษตรกร ทั้งเป็นจุดเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนจุดเด่นของศูนย์แห่งนี้คือ องค์ความรู้ที่เกษตรกรสามารถการผลิตหัวเชื้อสดไตรโครเดอร์มา บิวเวอเรีย ซึ่งปกติต้องทำในห้องปฏิบัติการเฉพาะ หรือห้องแล็ป แต่ศูนย์แห่งนี้สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาถ่ายทอดให้เกษตรสามรถปฏิบัติเองได้ โดยการดำเนินงานที่ผ่านมา 6 ปี พื้นที่ 1,200ไร่ เกษตรกรลดต้นทุนได้กว่า 6,000,000 บาทพร้อมทั้งนำเทคโนโลยีมาปรับใช้โดยใช้โดรนฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ในแปลงข้าวหอมมะลิ 105 ซึ่งเกษตรกรสามารถจัดการศัตรูพืชด้วยตนเองได้โดยใช้ องค์ความรู้เทคโนโลยี อย่างถูกต้อง เหมาะสม ลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุน เกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรและอาชีพเกษตรต่อไป.

ทรงวุฒิ ทับทอง