ว่าที่ พรรรคไทยศรีวิไลย์ เรียกร้อง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังนี้เร่งดำเนินคดีเพิ่มเติมต่อ ศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง รวมทั้งเรียกร้องความเสียหายทางแพ่งหรือละเมิด กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินทรัพย์ ปรส อาทิ คณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส) ชุดที่ 2 แต่งตั้ง เมื่อ 23 ธันวาคม 2540 จำนวน 6 ราย พร้อม คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 53 สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 49 ราย ที่ทำให้รัฐขาดทุนทันที 660,000 ล้านบาท ซึ่งถ้านับดอกเบี้ยถึงปัจจุบันกว่า 20 ปี ถ้าร้อยละ 2.5% ร่วม 330,000 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งกลายเป็นหนี้สาธารณะ ณ ปัจจุบัน ซึ่งเทียบเคียงกับความเสียหายของโครงการรับจำนำข้าว ของ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยคณะรัฐมนตรี ชุด พรรคประชาธิปัตย์ เป็น รัฐบาล ตั้ง คณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส) ชุดที่ 2 เมื่อ 23 ธันวาคม 2540

คณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส.) ชุดที่ 2 ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาลชวน 2 ก็คือ ชุดที่นำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินไปประมูลขายในราคาที่ถูกแสนถูก จากทรัพย์สินประเมินว่าน่าจะมีมูลค่ามากถึง 851,000 ล้านบาท กลับถูกขายทอดตลาดด้วยมูลค่าเพียง 190,000 ล้านบาท ขาดทุนทั้งสิ้น 660,000 ล้านบาท
หากย้อนอดีตไปเมื่อปี 2540 วิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ปาเข้าไปนานถึงยี่สิบเอ็ดปี กับ สำนวนคดี การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส.เกี่ยวกับการเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ เมื่อ 26 สิงหาคม 2559 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีดำ อ.3344/2551 ความผิดฐานร่วมกันกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงาน ในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา11 ตัดสิน จำเลยที่ 1-2 จำคุก เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 3 ปีจำเลยที่ 1 นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จำเลยที่ 2 นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีต เลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส.) เหล่านี้ คือ ผลของการกระทำดังกล่าวทำให้ การประมูลทรัพย์ ได้ราคาที่ต่ำมาก ซึ่ง ดีเอสไอ สรุปสำนวนคดี ปรส. ชี้การกระทำดังกล่าวว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แถลงสรุปผลการประชุม ยังพบว่า มีการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สิน จากปรส.โดยมิชอบ2.คณะกรรมการ ปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส3.ข้อกำหนดของ ปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อ พรก.ปรส.5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการ ปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย6.คณะกรรมการ ปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขาย ทรัพย์สิน7. กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจาก ปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส. และ10.ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อน กับสถาบันการเงินอีกแห่ง คดีเดิม คดี ที่ 1 กรณี บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิงค์ ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทยพร็อพเพอร์ตี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค.2541 ยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาทคดีที่ 2 กรณีบริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมบางกอกแคปปิตอล ยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาทคดีที่ 3 – 4 กรณี บริษัท เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับ กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 1 – 3 ยอดคงค้างทางบัญชี 64,303.34 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 23,176.38 ล้านบาท
คดีที่ 5 กรณี บริษัท วีคอนกลอมเมอเรท จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ จาก ปรส. แล้วโอนสิทธิให้กับกองทุนรวมวีแคปปิตอล ยอดคงค้างทาง บัญชี2,376.73 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 3,189.90 ล้านบาท