ข่าว พะเยา

พะเยา ต๋าแหลว “ เครื่องหมายพิธีกรรมความเชื่อ ชาวล้านนา ลบล้างอัปมงคล เสริมบุญบารมี สืบทอดกันมากว่า1,000ปี

พะเยา ต๋าแหลว “ เครื่องหมายพิธีกรรมความเชื่อ ชาวล้านนา ลบล้างอัปมงคล เสริมบุญบารมี สืบทอดกันมากว่า1,000ปี

วันที่ 17 มกราคม 2562 จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่ง ที่ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นไว้ให้คงอยู่กับในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยที่ศิลปะวัฒนธรรม เงินรางหายไปเกือบหมดสิ้น ในปัจจุบัน ทางพระสงฆ์และชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดพะเยายังได้ทำการอนุรักษ์รักษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ให้คงไว้ อาทิ ต๋าแหลว หรือเฉลว อัน เป็น เครื่องหมายพิธีกรรม และความเชื่อ ของชาวเหนือล้านนา ซึ่งเป็นความเชื่อของคนโบราณ และเป็นเครื่องหมายหรือสัญญาลักษณ์ที่จะทำให้สิ่งอัปมงคลหรือสิ่งที่ลี้ลับอันเป็นเรื่องร้ายหรือลางเหตุอื่นๆ ตลอดจน ภัยพิบัติต่างๆ ไม่เกิดขึ้นในหมู๋บ้านหรือชุมชนรวมทั้งบ้านเรือนอาคารและ สถานที่สำคัญๆ

 

ต๋าแหลว หรือ เฉลว เป็นเครื่องสานทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้ไผ่ที่ จักสานเป็น เส้นๆ นำมามัดไขว้ รวมกันหรือสานให้เป็นตาข่าย ในรูปแบบต่างๆ อาทิ แบบเหลี่ยม เช่น สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม 8 เหลี่ยม เป็นต้น โดยตาแล้วจะมีรูปลักษณะต่างๆ ไม่เหมือนกันแล้วแต่ว่าจะนำมาใช้ ประกอบพิธี ในงาน รูปแบบไหน ไหน ซึ่งชาวล้านนา จะให้ความสำคัญ ใช้ ต๋าแหลว นำมาประกอบในพิธีกรรมต่างๆมา มาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน ตามความเชื่อ ที่สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน

พระครูสุกิตยากร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีอูโมงคำ( วัดสูง) ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา กล่าวว่า ต๋าแหลว หรือ เฉลียว เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชาวล้านนา ใช้ในการประกอบพิธี ต่างๆ ซึ่งทางวัด ได้นำมา ทำการฟื้นฟู อนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นการสืบทอด ให้กับคนในยุคปัจจุบันและคนรุ่นหลังได้รู้จัก จึงได้นำมา จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างบุญบารมีและลบล้างสิ่งอัปมงคลและสิ่งเลวร้ายที่อยู่ในตัวตนให้หมดสิ้นไป หน้าที่สำคัญเพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความเป็นสิริมงคลให้กับผู้คนที่ได้มุดลอดผ่าน ซุ้ม ต๋าแหลวที่ทำขึ้น

 

สำหรับ ต๋าแหลว ที่วัดได้ทำขึ้นมาเป็น แปดรูปเหลี่ยม เป็นต๋าแหลว 7 ชั้น ทำด้วยไม้ไผ่ 7 ชั้น ประกอบด้วยด้ายดำ ด้ายขาว คาเขียว ด้ายสายสิญจน์ และส้มป่อย เวลาลอดแล้ว จะทำให้สิ่งที่เป็นอัปมงคลในตัว จะถูกลบล้าง หายไป และจะได้รับสิ่งที่เป็นมงคลเข้ากับตัวเองทำให้ชีวิตดีขึ้น
ต๋าแหลว ถิอเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยผู้เฒ่าแก่ ช่วยกันทำประกอบ ขึ้นมา นำมาให้ญาติโยม ที่ได้มุดเข้าลอดต๋าแหลวจะเป็นสิริมงคล แก่ตัวเองแล้วก็เข้าไปกราบไหว้พระเจ้าทันใจ ใส่ บาตร 108 เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง

ต๋าแหลวมีความสำคัญ ที่ทำขึ้น จะต้องมีสิ่งที่ประกอบสำคัญๆมี สิ่งของหรือวัสดุ ที่เป็นมงคล นำมา ประกอบ ในการทำ อาทิหญ้า คาเขียว เป็นหญ้าที่ตายยาก ทำให้ชีวิตเราอายุยืน ด้ายขาว ทำให้ชีวิตมีความสดใสบริสุทธิ์ และสายศิลป์เป็นสิ่งมงคล ส้มป่อยเป็นเครื่องหอม นำมาใช้ประดับประดาเพื่อที่จะเป็นศิริมงคล โดยรวมแล้วคือเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นมงคลแก่ตนเองเวลาลอดผ่านต๋าแหลวแล้วจะทำให้สิ่งที่เป็นอัปมงคลในตัวของเรานั้นหมดใจ และจะได้รับสิ่งที่เป็นมงคลเข้ากับตัวเองให้ชีวิตดีขึ้น ตามความเชื่อของชาวล้านนา ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันกว่า1,000ปี ที่ผ่านมา

https://youtu.be/a3NE82vT9p0