Uncategorized

กระทรวงเกษตรฯโดยพัฒนาที่ดินนร่วมแก้ปัญหาชะล้างหน้าดินเพิ่มผลิตข้าวให้ชาวบ่อเกลือพอกิน

ที่บ้านผาสุข หมู่.3 ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการรณรงค์ขยายผลการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชา พื้นที่ลุ่มน้ำน่านพร้อมด้วยนายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน นายปราโมทย์ ยาใจ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน มีนายวรกิตติ ศรีทิพากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย นายเอนก ดีพรมกุล ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินน่าน ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและเกษตรกรใน อ.บ่อเกลือ ให้การต้อนรับและร่วมโครงการ
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า ที่เดินทางมาที่ อ.บ่อเกลือเพราะได้รับรายงานว่าบ้านบ่อเกลือเหนือและบ่อเกลือใต้ชาวบ้านขาดแคลนข้าวรับประทานทั้งๆที่มีพื้นที่ถึง 523,781.25 ไร่แต่ส่วนใหญ่พบว่าเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 40 บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอบ่อเกลือสูงประมาณ 730 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง จุดสูงสุด 1,648.066 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ราบลุ่มตามลำน้ำและหุบเขาแคบ ๆ เพียงร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ทั้งหมด ตนเองจึงนำคณะผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาในพื้นที่มาแก้ปัญหานี้เพราะเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง วิธีที่ 1 สำรวจและหาข้อมูลพบว่าอำเภอบ่อเกลือมีทั้งหมด 39 หมู่บ้าน มี25 หมู่บ้าน มีข้าวไม่พอกินจึงได้ให้คำแนะนำเพื่อนำไปปฎิบัติเป็นรูปธรรมด้วยการเคลื่อยย้ายข้าวในหมู่บ้านที่ไฃพอกินไปให้หมู่บ้านที่ไม่พอกิน วิธีที่ 2 หาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ซึ่งที่อำเภอบ่อเกลือและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดน่านเป็นพื้นที่สูงชันทำให้ฝนชะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นอาหารของพืชไปเป็นจำนวนมากเราจึงได้นำศาสตร์พระราชาตามพระราชดำริของในหลวง ร.๙ มาใช้โดยใช้หญ้าแฝกปลูกเป็นแถวๆสลับกับต้นข้าวเพื่อเป็นการเบรคการชะล้างหน้าดิน ถือว่าเป็นจุดแรกที่จะทำการทดลองวิจัยใช้จริงเป็นต้นแบบก็ว่าได้โดยคาดการว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้จริงไหม ขั้นที่ 2 ปั้นคันดินให้ด้านในเป็นคูน้ำเมื่อฝนตำลงมาและชะหน้าดินลงมาจะมาติดอยู่ที่คูน้ำหรือคลองใส้ไก่ก็จะทำการดำนาลงไปในคลองตื้นๆที่เกิดจากการทับถมของหน้าดินนั้นเลย ขั้นที 2 ปั้นเป็นคันดินใหญ่ๆเพื่อกักเก็บน้ำและหน้าดินซึ้งจะใช้เป็นที่ปลูกข้าวที่เราเรียกว่านาขั้นบันได ขั้นที่ 3 เอาปลามาเลี้ยงในนาข้าวปรับพื้นดินให้แน่นด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุ อาทิซังตอข้าวโพดใส้ลงไปผ่านขบวนการย่อยสลายด้วยน้ำหมักที่กรมพัฒนาที่ดินได้ลงมาทำการอบรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรเมื่อซังข้าวโพดเกิดการย่อยกลายเป็นเลนจะไปอุดรอยรั่วของคันนาและพื้นนาทำให้นาเก็บน้ำได้ดีเมื่อนำปลามาปล่อยในนาในบ่อดินจะได้ขี้ปลาซึ่งเราเชื่อว่าขี้ปลาคือปุ๋ยอย่างดีที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวได้สูงจากผลผลิตที่บ้านนาเกลือได้ 10 ถังต่อไร้จะกลายเป็น 5ถังหรือ 500กิโลกรัมต่อไร่อย่างแน่นอนเชื่อว่าจะช่วยให้ชาวอำเภอนาเกลือมีข่าวเหลือกิรเหลือใช้แน่นอน
ด้านนายสุรเดช อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่าภาระกิจของกรมพัฒนาที่ดินคือ 1.การอนุรักษ์น้ำและดินในระบบ ภาระกิจที่ 2 คือการปรับปรุงบำรุงดินให้สมบรูณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ในวันนี้จึงลงมาดูพื้นที่ว่าพื้นที่ไหรมีพื้นที่ที่มีการชะล้างหน้าดินสูงทางกรมจะนำวิชาการและวิธีป้องกันส่วนนะบบการชะล้างหน้าดินเรามีทั้งระบบวิธีกลและวิธีพืช วิธีกลคือการทำคันดิน ระบบพืชคือการใช้หญ้าแฝกซึ่งในวันนี้ที่อำเภอบ่อเกลือเราได้นำทั้งสองวิธีมาใช้การป้องกันการชะล้างหน้าดินหากเราไม่ดำเนินการจะทำให้ห้วยหนอง คลอง บึงตื้นเขินนายสุรเดช ยังกล่าวอีกว่า ภาคเหนือมีการชะล้างหน้าดินสูงมากซึ่งในวันนี้จะเป็นต้นแบบให้กับพี่น้องเกษตรกรในการพัฒนาที่ดินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
คณะของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมด้วยอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินได้ร่วมกันปลูกหญ้าแฝกและปล่อยปลาถือเป็นการลงจอบใช้มื้ออันเป็นสัญญาลักษณ์ในการร่วมกันแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
จากนั้นคณะยังได้เดินทางไปยังบ้านคั๊วะ(ขั้ว) หมู่.7 ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา เพื่อเปิดการอบรม”หลักสูตรการออกแบบการพัฒนาระบบกสิกรรมด้วยศาสตร์พระราชาลุ่มน้ำน่านฯ(รุ่นที่ 1) มีนายพิภัช ประจันเขตต์ ปลัดจังหวัดน่านพร้อมด้วยกลุ่มเกษตรกร คณาจารย์ทำหน้าที่เป็นวิทยากรจากสำนักสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักศึกษาและเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินในพื้นทั้งภาคเหนือตอนบนและอีสานบางจังหวัดอาทิ จ.เชียงใหม่, ตาก, เพชรบูรณ์, ลำปาง,อุตรดิษถ์, น่าน, เชียงราย และจังหวัดเลย กว่า 50 คน ให้การต้อนรับและเข้าอบรม

ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล อาจารย์สำนักสถาปัตยกรรมศาสตร์กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมมี 2 กลุ่มคือกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการพัฒนาที่ดินทำกินของตนเอง กลุ่มที่ 2 กลุ่มนักวิชาการจากกรมพัฒนาที่ดินประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ช่างโยธา สถาปนิกจากกรมพัฒนาที่ดินใน 7 จังหวัดภาคเหนือร่วมกับ 2 จังหวัดอีสาน ทั้งนี้้เกษตรกรที่ต้องการพัฒนาที่ทำกินของตนเองตามศาสตร์พระราชาแต่ขาดความรู้ที่จะเขียนแบบออกแบบ ขณะที่นายช่างและเจ้าหน้าที่กรมที่ดินมีความรู้ในด้านการเขียนแบบและการคำนวนพื้นที่แต่ขาดความรู้เรื่องศาสตร์พระราชาอย่างถ่องแท้เราจึงให้ 2 กลุ่มมาพบกันมาจับคู่กันเกษตรกร 1 คนต่อเจ้าหน้าที่ 1 ท่านทั้งนำพื้นที่เกษตรกรรมจริงมาร่วมกันออกแบบซึ่งทำให้ทางเจ้าหน้าที่จะต้องถามความต้องการของชาวบ้านในด้านข้อมูลของพื้นที่จากนั้นเกษตรกรและเจ้าหน้าที่จะได้ร่วมกันออกแบบในการพัฒนาพื้นที่ตามศาสตร์พระราชาซึ่งสิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับคือชาวบ้านจะได้แบบที่ทำกินของตนเองไปพัฒนาที่ทำกิน ได้ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานและชาวบ้านทั้งภาครัฐจะได้รู้ปัญหาในพื้นที่แต่ละแปลงรวมถึงการแก้ปัญหาทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันและกันโดยในการอบรมตลอกทั้ง 4 วันจะมีการออกแบบแปลนที่ทำกินทั้งสิ้น 30 แปลงจะพบปัญหาในหลายมิติซึ่งทางนายวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะมาตรวจแบบที่ทางเจ้าหน้าที่ออกแบบร่วมกับชาวบ้านก่อนให้ความรู้ว่าควรจะแก้ไขแบบและความเหมาะสมอย่างไรในพื้นที่ลาดชันควรมีคลองใส้ไก่ในการดักการชะล้างหน้าดิน มีคันหน้าขนาดให้เป็นแปลงนาขั้นบันได มีบ่อน้ำไว้อุปโภคไว้เลี้ยงปลาและมีฝายน้ำที่จะเติมน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ซึ่งท่านรัฐมนตรีช่วยพร้อมคณะได้พักแรมกับผู้ร่วมอบรมก่อนที่จะนำผู้ร่วมอบรมออกไปพื้นที่ที่ได้ออกแบบและผ่านการพิจารณาว่าเป็นแบบที่เหมาะสมเพื่อลงมือทำจริงทำให้เห็นว่าการนำศาสตร์พระราชามาปฎิบัติพัฒนาพื้นที่จริงในระยะ 6 เดือนก่อนถึง”วันดินโลก” 5 ธันวาคม”พื้นที่ดังกล่าวที่กรมพัฒนาที่ดินร่วมกับชาวบ้านและเกษตรกรจะสามารถผลิตอาหารในนะดับหนึ่งขึ้นมาเลี้ยงและแจกจ่ายคนที่ขาดแคลนได้ถือเป็นการเทิดพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ ๙ ในส่วนของการวางวางเป้าหมายนั้นใน 2 ปีนี้พื้นดินที่ร่วมกันออกแบบและพัฒนาจะมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งน้ำท่าข้าวปลาอาหารตามที่จะหล่อเลี้ยงคนในพื้นที่ตามศาสตร์พระราชาต่อไป….

จักรภัทร แสนภูธร รายงาน รมณ ภัทรทองศักดิ์ ถ่ายภาพ