Uncategorized

สำรวจซากฟอสซิล ดึกดำบรรพ์หอยตะเกียง อายุ 240 ล้านปี เร่งหามาตราการอนุรักษ์

สำรวจซากฟอสซิล ดึกดำบรรพ์หอยตะเกียง อายุ 240 ล้านปี เร่งหามาตราการอนุรักษ์

ที่ บ้านวังปลา หมู่ที่ 5 ต.พญาวัง อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่าง ต.พญาวัง อ.บึงสามพันและต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรม จ.เพชรบูรณ์ พร้อมด้วยนายบุญเลิศ ถิ่นทัพไทย ปลัดอำเภอบึงสามพัน นายพิธพร วิพิธกาจญน์ ประธานสภาวัฒนธรรม อ.บึงสามพัน เจ้าหน้าที่ทหาร อบต.พญาวัง นายวิชาญ เดชเรืองศรี กำนัน ต.พญาวัง และชาวบ้าน ลงพื้นที่สำรวจ แหล่งที่พบซากฟอสซิล หอยตะเกียง (Brachiopods) แบรคิโอพอด อายุ ราว 240-280 ล้านปี ซึ่งถือเป็นแหล่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติหรืออเมซิ่งทางธรณีวิทยาของ จ.เพชรบูรณ์หอยตะเกียง เป็นสัตว์ทะเลมีสองฝา มีลักษณะภายนอกคล้ายละม้ายกับหอยกาบคู่ แต่ก็ จะมีลักษณะที่แตกต่างจากหอบกาบคู่หลายอย่าง อย่างชัดเจน บรรพบุรุษของหอยตะเกียง ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เร่ิมพบต้ังแต่ยุคแคมเบรียน และได้สูญพันธุ์ ในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดของโลกที่เกิดในปลายยุคเพอร์เมียน ส่วนแหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์หอยตะเกียง ที่บ้านวังปลา อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ มีความคล้ายกับ ที่บ้านยางจ่า ต.ภูน้ำหยด อ.วิเชียรบูรี และที่บ้านซับภู อ.หนองไผ่จ.เพชรบูรณ์ คาดพื้นเหล่านี้เป็นท้องทะเลใหญ่หรือมหาสมุทร แต่ทีมนักวิชาการต้องทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป ลักษณะ ซากดึกดำบรรพ์หอยตะเกียงที่บ้านวังปลา พบอยู่ในชั้นหินทรายสีเทาเหลือง ที่วางตัวอยู่ใต้หินปูนยุคเพอร์เมียน ชั้นหินทรายที่มีซากดึกดำบรรพ์หอยตะเกียง (Brachiopods) มีความหนาประมาณ 10 เมตร ภายในมีซากดึกดำบรรพ์หอยตะเกียงหลายสายพันธุ์

นอกจากนั้นในชั้นหินทรายนี้ ยังพบซากดึกดำบรรพ์ประเภทอื่น เช่น Fenestella ที่ชีวิตอยู่จนถึงยุคเพอร์เมียน(240-280 ล้านปีชั้นซากดึกดำบรรพ์หินทรายนี้มีอายุการสะสมตัวอยู่ระหว่าง 240-360 ล้านปี และแหล่งชั้นหินทรายซากดึกดำบรรพ์หอยตะเกียงนี้ยังแสดงถึงการสะสมตัว ตกตะกอน อย่างต่อเนื่องจากยุคคาร์บอนิเฟอรัส ถึง ยุคเพอร์เมียน (240-360 ล้านปี)

ด้าน ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรม จ.เพชรบูรณ์ อยากให้ทางอำเภอบึงสามพัน ไม่ว่าจะเป็น ทาง อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งชาวบ้าน เจ้าของพื้นที่ ช่วยกันสอดส่องดูแล หามาตรการ ร่วมกันอนุรักษ์ เพราะถือเป็นมรดกของชาติ มีคุณค่า และยังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติธรณีวิทยา และอาจเป็นกุญแ จไขไปสู่ปริศนาในยุคเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน ที่ยังไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่บนโลกนี้

รุ่งทิพย์ บุญบำรุง/มนสิชา คล้ายแก้ว ผู้สื่อข่าวจังหวัดเพชรบูรณ