าส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ
ชาวตากใบยึดอาชีพทำปลาฉิ้งฉ้างตากแห้งส่งขายมาเลย์
นางมาสือนะ บินยูโซ๊ะ อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 102 บ้านกูแบยู ม.10 ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ใช้พื้นที่ว่างตรงข้ามบ้านพัก จำนวน 2 ไร่ ปลูกเป็นโรงเรือนสำหรับใช้เป็นพื้นที่ทำปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ปลาฉิ้งฉั้ง ตากแห้งส่งขายในพื้นที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย โดยได้ยึดอาชีพนี้สืบทอดมาเป็นเวลานานกว่า 80 ปี จากรุ่นย่าสู่รุ่นหลาน ซึ่งปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง นางมาสือนะ ได้รับซื้อจากชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำการประมงชายฝั่งในเขตทะเล อ.ตากใบ ซึ่งเป็นปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง ตัวสีขาว ที่อาศัยอยู่เฉพาะถิ่น ในราคากิโลกรัมละ 30 บาท แล้วนำไปแปรรูปเป็นปลาตากแห้ง ส่งขายไปให้ลูกค้าในประเทศมาเลเซีย ตกกิโลกรัมละ 230 บาท ซึ่งการทำปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง นี้จะทำได้ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือนพฤศจิกายน ของทุกปีส่วนการแปรรูปปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง ตากแห้งนี้มีกระบวนการที่ไม่ยุ่งยาก คือ เมื่อรับซื้อปลาจากชาวบ้านแล้ว ต้องนำปลาไปล้างกับน้ำให้สะอาด แล้วนำปลาไปต้มในกระทะที่น้ำเดือดจัด ประมาณ 5 นาที เมื่อปลาสุกแล้วนำปลาไปเทกระจายในตะแกรงเหล็กสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้ ก่อนจะนำออกไปตากแดด ซึ่งการตากแดดนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ หากอากาศร้อนจัดปลาก็จะแห้งในเวลา 1 วัน หากวันใดอากาศไม่เอื้ออำนวยหรือมีเมฆฝนปกคลุมท้องฟ้า การตากปลาก็จะใช้เวลานานถึง 2 วัน ซึ่งกระบวนการแปรรูปนี้จะใช้แรงงานคนช่วยกันถึง 4 คน
ส่วนขั้นตอนสุดท้ายก่อนบรรจุถุงพลาสติกใสเพื่อนำไปจำหน่าย ซึ่งมีน้ำหนักถุงละ 10 กิโลกรัมนั้น เมื่อเราได้ปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง ที่ตากแห้งเป็นที่เรียบร้อย ก็ถึงกระบวนการใช้มือเด็ดหัวปลาที่ตากแห้งบรรจุใส่ถุง ประการสำคัญหัวปลาที่ถูกเด็ดแล้ว สามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 14 บาท ซึ่งหัวปลานี้จะมีชาวบ้านที่มีอาชีพปลูกผักนานาชนิดขาย มารับซื้อถึงบ้านโดยจะนำหัวปลาไปหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ เพื่อนำไปรดผักที่ปลูกจะโตเร็วและสีเขียวเข้มน่ารับประทานนอกจากนี้นางมาสือนะ ยังเปิดเผยถึงการส่งปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง ส่งขายในพื้นที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ว่า การส่งขายปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง ที่ตากแห้งนี้ จะนำขึ้นรถกระบะไปส่งให้ลูกค้าชาวมาเลเซีย โดยผ่านพรมแดน อ.ตากใบสัปดาห์ละ 2 เที่ยวๆละ 40
ถุง หรือ 400 ก.ก.ตกกิโลกรัมละ 230 บาท ก็จะได้เงินในแต่ละเที่ยว 92,000 บาท ซึ่งถือว่ามีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านและชาวประมงมีงานทำได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากเมื่อหมดฤดูทำปลาฉิ้งฉ้าง หรือ ฉิ้งฉั้ง ตากแห้ง นางมาสือนะ ก็จะรับซื้อปลาทะเลชนิดต่างๆจากชาวประมง เพื่อนำมาแปรรูปเป็นปลาเค็มตากแห้ง ส่งขายให้กับลูกค้าชาวมาเลเซีย ซึ่งเป็นวัฎจักรการทำธุรกิจแปรรูปปลาตลอดทั้งปีขาย
//////////////////////////////////////// 20 กรกฏาคม 2561ค