Uncategorized ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

ศปข.5 จัดโครงการรณรงค์สร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อลดการประสบอันตรายของลูกจ้าง รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 21 – 22  ตุลาคม 2562 ณ ห้องช้างกระ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด อ.เมืองเชียงใหม่

ศปข.5 จัดโครงการรณรงค์สร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อลดการประสบอันตรายของลูกจ้าง รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 21 – 22 ตุลาคม 2562 ณ ห้องช้างกระ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด อ.เมืองเชียงใหม่

วันที่ 21 ต.ค.62 เวลา 09.00 น. นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เดินทางมาเป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์สร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อลดการประสบอันตรายของลูกจ้าง รุ่นที่ 4 โดยมีนายควง ใส่แจ่ม ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 กล่าวรายงาน โดยมีนายสมหวัง หมอยาดี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน และนายสุวรรณ สวัสดิ์มูล รก.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมในการฝึกอบรมโครงการรณรงค์สร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดการประสบอันตรายของลูกจ้าง รุ่นที่ 4 ประจำปี 62 พร้อมทีมเจ้าหน้าที่จากรพ.ลานนา มาเป็นวิทยากรให้ความรู้และฝึกปฏิบัติในการอบรมในครั้งนี้

นายควง ใส่แจ่ม ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 กล่าวรายงานว่า ด้วยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานโดยศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากเงินดอกผลกองทุนเงินทดแทนสำนักงานประกันสังคมประจำปี 2562 เพื่อจัดทำโครงการรณรงค์สร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเพื่อลดการประสบอันตรายของลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์เสริมสร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุที่ลูกจ้างพึงรู้, เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉินแก่ลูกจ้าง, เพื่อลดการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้างในสถานที่ประกอบกิจการ ซึ่งการจัดอบรมสร้างการรับรู้มาตรฐานเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยในครั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่นายจ้าง ลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 11,760 คน และแบ่ง การจัดอบรมออกเป็น 196 รุ่นรุ่นละ 60 คน ในระยะเวลาในการอบรมจำนวน 2 วัน โดยเป็นการบรรยายและการสาธิตโดยได้กำหนดหัวข้อการอบรมเป็นแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ ได้แก่หัวข้อมาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง หัวข้อสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานจำนวน 3 ชั่วโมง และหัวข้อการปฐมพยาบาลเบื้องต้นครับและการปฏิบัติการช่วยฟื้นฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่อยู่ทำงานยังกับทหารเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติโดยไม่เกิดความพิการของสมองจำนวน 6 ชั่วโมง สำหรับศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 ได้รับมอบหมายให้จัดอบรมโครงการดังกล่าวจำนวน 5 รุ่น โดยมีลูกช่างที่เกี่ยวข้องจำนวน 300 คน เลิกกันในวันนี้เป็นการจัดอบรมรุ่นที่ 4 โดยมีผู้รับการอบรมได้แก่นายจ้างลูกจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 64 คนจากสถานประกอบกิจการจำนวน 33 แห่ง โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากทีมวิทยากรโรงพยาบาลลานนาเชียงใหม่และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่

ทางด้านนายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ได้กล่าวเปิดการอบรมพร้อมบรรยายให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมฯ ในครั้งนี้ว่า รู้สึกยินดีที่ได้มาเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมตามโครงการรณรงค์สร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อลดการประสบอันตรายของลูกจ้างรุ่นที่ 4/62 ของศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 ในวันนี้ จากที่กล่าวรายงานจะเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการนี้เพื่อสร้างการรับรู้มาตรการเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยในการทำงานให้แก่ลูกจ้างโดยเฉพาะการปฐมพยาบาลในกรณีฉุกเฉินซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญ เพราะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทางนี้ในการดูแลตนเองและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารออนไลน์อยู่ตลอดเวลาเราจะเห็นข่าวบุคคลต่างๆ ในสาขาอาชีพต่างๆ เกิดอุบัติเหตุทั้งเล็กน้อย หรือว่าอยู่ๆ มีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน บางคนก็หาสาเหตุไม่ได้ บางคนสาเหตุมาจากที่ร่างกายไม่พร้อม ซึ่งอาจมาจากการเจ็บป่วยหรือความเครียดภายใต้แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมอื่นๆทำให้เกิดความเครียดสะสมส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกและมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่อยู่รอบๆ ตัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุการให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งหากผู้ช่วยเหลือมีความรู้ความชำนาญในการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินหรือความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะสามารถลดการเสียชีวิต ความพิการ การสูญเสียอวัยวะหรือบรรเทาผลการบาดเจ็บรุนแรงได้เบาบางลงได้

นายสมบูรณ์ ตรัยศิลานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เผยอีกว่า หลักสูตรนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนซึ่งถ้าทุกคนได้รับการอบรมองค์ความรู้และฝึกทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการปฐมพยาบาลการช่วยเหลือชีวิตกรณีฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องเชื่อว่าทุกคนสามารถช่วยเหลือตนเองและสามารถนำไปช่วยเหลือสังคมได้เป็นอย่างดี “โครงการนี้ถือว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แก่ทุกท่าน เพราะให้ความรู้มากขึ้นรวมทั้งการเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีในด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมเป็นการลงทุนเกี่ยวกับ คนเพราะเชื่อว่าคนหรือแรงงานเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทุกๆด้านซึ่งถ้าคนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้องก็จะสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพและในการอบรมในครั้งนี้ผมขอให้ทุกคนตั้งใจเรียนรู้และฝึกปฏิบัติให้มีความชำนาญ เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อถ้าเรามีความรู้ความสามารถพอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมเบื้องต้นก่อนได้ ก่อนที่จะถึงมือผู้เชี่ยวชาญก็จะเป็นการทำบุญอีกทางหนึ่งด้วย”

นายควง ใส่แจ่ม ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 กล่าวในตอนท้ายว่า สรุปโดยร่วมของการอบรมฯ ในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ตัวแทนจากสถานประกอบการต่างๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายและยกพยุง การปฏิบัติเพื่อช่วยฟื้นการทำงาน ของระบบไหลเวียนโลหิตที่หยุดกะทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ (CPR) โดยไม่เกิดความพิการของสมอง รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ หลักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องได้ในสถานประกอบการ กรณีที่พบผู้ประสบเหตุอย่างฉุกเฉิน และสามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที.

นายควง ใส่แจ่ม ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 กล่าวในตอนท้ายว่า สรุปโดยร่วมของการอบรมฯ ในครั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ตัวแทนจากสถานประกอบการต่างๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเคลื่อนย้ายและยกพยุง การปฏิบัติเพื่อช่วยฟื้นการทำงาน ของระบบไหลเวียนโลหิตที่หยุดกะทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ (CPR) โดยไม่เกิดความพิการของสมอง รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ หลักวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องได้ในสถานประกอบการ กรณีที่พบผู้ประสบเหตุอย่างฉุกเฉิน และสามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที.

ทรงวุฒิ ทับทอง