Uncategorized

ม.อุบลฯ ส่งนักวิจัยลงพื้นที่เสริมศักยภาพชาวนา

ม.อุบลฯ ส่งนักวิจัยลงพื้นที่เสริมศักยภาพชาวนา


การท่องเที่ยววัฒนธรรมชาวนา วิถีข้าว ปลา นา น้ำ จังหวัดอุบลราชธานี ชม – ชิม – ช้อป – แชะ สร้างมูลค่าเพิ่มเสริมเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์ชุมชนชาวอุบลราชธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงการวิจัย “การท่องเที่ยววัฒนธรรมชาวนา วิถีข้าว ปลา นา น้ำ จังหวัดอุบลราชธานี”

เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยววัฒนธรรมชาวนา วิถีข้าว ปลา นา น้ำ จัดทำปฏิทินและเส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมชาวนาอย่างมีส่วนร่วมเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และทรัพยากรในพื้นที่

และพัฒนารูปแบบในการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินโครงการ 4 พื้นที่ ได้แก่ บ้านหัวดอน ตำบลห้วยดอน อำเภอเขื่องใน บ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน บ้านท่าศาลา ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน บ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง

โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทิรา ซาฮีร์ ข้าราชการบำนาญอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฯ และ ดร.คำล่า มุสิกา หัวหน้าสาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้ร่วมโครงการวิจัยฯ

พร้อมคณะผู้วิจัยฯ ตลอดจนนักท่องเที่ยวจำลองร่วมลงพื้นที่ สืบเนื่องจาก ดร.คำล่า มุสิกา เป็นผู้วิจัยที่รับผิดชอบลงพื้นที่จัดกิจกรรม “ทดลองการท่องเที่ยวบ้านหนองบ่อ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี” ที่ผ่านมา ได้กำหนดกิจกรรมและจุดต้อนรับขึ้นรูปแบบการท่องเที่ยว 1 วัน จำนวน 4 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 ธรรมมะสวัสดี วัดบูรพาพิสัย โดยมี นายประวิทย์ จันทร์พวง กำนันตำบลหนองบ่อ กล่าวต้อนรับ

และ นางประคอง บุญขจร เป็นวิทยาหลักในการแนะนำและบรรยายตลอดการท่องเที่ยวบ้านหนองบ่อ พร้อมทีมงาน มีขบวนฟ้อนกลองตุ้มอย่างสวยงามต้อนรับนักท่องเที่ยว

และทีมวิจัยฯ สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวและทีมวิจัยเป็น จุดที่ 2 ชมวิถีข้าว ปลา นาทาม คนลุ่มน้ำชี เดินทางโดยรถอีแต็ก ชมวิถีชีวิตชุมชนคนหนองบ่อ

ชมวิถีการท็อย่างมาก นาทามของคนลุ่มน้ำชี จุดที่ 3 เลาะรั้วเลียบบ้านชาวนาหนองบ่อ ชมวิถีการทอผ้าใต้ถุนบ้าน พร้อมชมยุ้งข้าวโบราณ ชมเรือนโบราณ นายไมตรี ศิริบูรณ์ ศิลปะคนกล้าคืนถิ่น เจ้าของผลงาน Isan Boy Dream ที่โด่งดัง หลังจากนั้นได้ทำงานร่วมกับช่างภาพจากประเทศอังกฤษ ทิม ไบรทมอร์ ทำงานภาพถ่ายชุด “อิสาน บอยด์ ซอยสี่” จนได้รับเลือกไปแสดงบนหอไอเฟล ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปี 2554 และ จุดที่ 4 เศรษฐกิจชุมชนโบราณฐานภูมิปัญญา ชาวนา ตำบลหนองบ่อ เพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวันที่เลิศรส หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเสร็จชมการสาธิตขั้นตอนการผลิตจากต้นจนเป็นผ้าไหม (สาว มัด ย้อม ทอ) เลือกชม สินค้า ผลิตภัณฑ์จากชุมชนตำบลหนองบ่อ และสรุปภาพรวมของการท่องเที่ยวทั้งวันร่วมกัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีข้าว ปลา นา ทาม คนลุ่มน้ำชี เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยววัฒนธรรมชาวนา วิถีข้าว ปลา นา น้ำ ของชุมชน เพื่อจัดทำปฏิทินและเส้นทางการท่องเที่ยววัฒนธรรมชาวนาในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับสินค้า ผลิตภัณฑ์ และทรัพยากรในพื้นที่ เพื่อพัฒนารูปแบบในการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน

//////////////////////////////////////////ข่าว กฤษณะ วิลามาศ/อุบลราชธานี