Reporter&Thai Army

นครสวรรค์ // ชาวไร่อ้อยยืนหนังสือขอแนวทางแก้ไขความเดือนร้อน

ชาวไร่อ้อยยืนหนังสือขอแนวทางแก้ไขความเดือนร้อน วันที่ 31 พฤษภาคม 2561 กำนันรัชชาพงษ์ ด้วงสั้น อุปนายกสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 11 นครสวรรค์ นายอนันต์ เย็นตั้ง นายกสมาคมชาวไร่อ้อยสี่แควนครสวรรค์ พร้อมด้วย นายอำนวย กลิ่นสอน เลขานุการสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 11 นครสวรรค์ และชาวไร่อ้อยในจังหวัดนครสวรรค์ รวม 300 คน ได้ยื่นหนังสือต่อ นายประทีป ศิลปเทศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พันเอกสุรจิตร สุขีเมฆ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 พ.ต.อ.อรุณ แตงนารา รอง ผบก.ภ.จว.นครสวรรค์ และส่วนราชการ เรื่องขอเสนอแนวทางแก้ไขความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย และขอให้สนับสนุนร่างแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและ น้ำตาลทราย พ.ศ…….. ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเสนอ ณ หน้าศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ (หลังเก่า)สืบเนื่องจากปัญหาราคาอ้อยตกต่ำในฤดูการผลิตปี 2560/61 และ ต่อเนื่องถึงปี 2561/62 เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ตลอดจนรัฐบาลได้รับทราบข้อเท็จจริงถึงความเดือนร้อนของเกษตรกรชาวไร่อ้อย สมาคม….. ขอนำเสนอปัญหาของเกษตรกรชาวไร่อ้อย นำเรียนผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อนำเรียนต่อรัฐบาลให้รับทราบ และหาทางช่วยเหลือคลี่คลายปัญหาก่อนที่จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ หรืออาจนำไปถึงการล่มสลายของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ดังนี้ 1. ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาล จากนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา รวมถึงนโยบายปี 2560/61 ส่งผลกระทบและสร้างความเดือดร้อนและเสียหายต่อเกษตรกรชาวไร่อ้อยและชาวนาเป็นอย่างมากดังนี้ 1.1 นโยบายส่งเสริมให้ชาวนาหันมาปลูกอ้อย ทำให้ปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้น จากปีที่แล้ว 92.95 ล้านตัน เป็น 134.77 ล้านตัน ( ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2561) โดยการเพิ่มขึ้นนั้นมาจากพื้นที่ปลูกที่เพิ่มขึ้น มิใช่จากการเพิ่มของผลผลิตตันต่อไร่ ซึ่งในแต่ละปีระยะเวลาหีบของโรงงานมีระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะเป็นอุปสรรคกับการเก็บเกี่ยวและคุณภาพอ้อยก็จะแย่ลง ต้นทุนสูงขึ้น เป็นผลให้ในปีการผลิต 2560/61 มีอ้อยเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก1.2 การควบคุมน้ำหนักการบรรทุกอ้อยส่งโรงงาน การจำกัดน้ำหนักการบรรทุกอ้อย การจำกัดความสูงที่ 3.6 เมตร นั้น ส่งผลกระทบให้มีปริมาณอ้อยคงเหลือ เนื่องจากอ้อยเป็นพืชที่มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว กรอปกับปริมาณอ้อยที่เพิ่มขึ้น เป็นผลให้ชาวไร่อ้อยไม่สามารถนำอ้อยส่งโรงงานได้หมดตามฤดูหีบ จึงมีปริมาณอ้อยเหลือค้างอยู่เป็นจำนวนมาก 1.3 การกำหนดให้โรงงานน้ำตาลหยุดช่วงเทศกาลต่าง ๆ ในฤดูการหีบอ้อย ชาวไร่อ้อยต้องหยุดตัดอ้อยทำให้การตัดอ้อยส่งโรงงานล่าช้าลงไปอีก จึงส่งผลให้ตัดอ้อยเข้าโรงงานไม่หมด

1.4 การกำหนดนโยบายการนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่เข้มงวด มองในแง่ความมั่นคงของประเทศเป็นข้อกำหนดที่ดี แต่สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรจำนวนมากที่พึ่งพาแรงงานต่างด้าวในการเก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 4 – 5 เดือน หากไม่สามารถนำเข้าแรงงานกลุ่มนี้ได้ หรือการนำเข้ามีอุปสรรคมากก็ส่งผลให้ไม่สามารถตัดอ้อยได้เสร็จทันในฤดูการผลิต ทำให้เกษตรกรมีอ้อยคงเหลือในไร่ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนตามมาอีก2. ราคาอ้อยที่ตกต่ำ ฤดูการผลิตปี 2560/61 และ ปีการผลิต 2561/62 สืบเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก มีการบริโภคภายในประเทศเพียง 2.6 ล้านตัน และในกลุ่มประเทศผู้ผลิต เช่น ไทย อินเดีย บราซิล มีปริมาณอ้อยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปีที่ผ่านมามีราคาอยู่ที่ประมาณ 18 เซนต์/ปอนด์ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 11 เซนต์/ปอนด์ ในปัจจุบัน รวมถึงโครงสร้างรายได้ของเกษตรกรชาวไร่อ้อยมาจากราคาน้ำตาลเพียงอย่างเดียว เป็นผลให้ราคาอ้อยขั้นต้น – 2 – ที่ได้รับในปี 2560/61 อยู่ที่ตันอ้อยละ 880 บาท ที่ 10 ซี.ซี.เอส. และมีข้อเท็จจริงขณะนี้ปรากฎว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปีการผลิต 2560/61 จะติดลบไม่ต่ำกว่า 100 บาท/ตัน หมายถึงชาวไร่อ้อยไม่ได้รับเงินเพิ่ม ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนี้จะต่อเนื่องไปยังฤดูการผลิตปี 2561/62 ที่คาดว่าราคาอ้อยที่ชาวไร่อ้อยจะได้รับอยู่ที่ประมาณ 700 บาทต่อตันอ้อยที่ 10 ซี.ซี.เอส. ซึ่งหากราคาอ้อยเป็นไปตามประมาณการดังกล่าว เกษตรกรชาวไร่อ้อยจะประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก ก่อให้เกิดหนี้สินตามมา ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและครอบครัวอย่างสาหัส เพราะการกำหนดราคาอ้อยที่ชาวไร่อ้อยได้รับควรไม่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตการปลูกอ้อย 3. ร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ…… เกษตรกรชาวไร่อ้อย รวมกว่า 20,000 ราย ได้เข้าชื่อในการเสนอร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ….. และจำนวนกว่า 200 ราย ได้เดินทางไปยื่นร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ….ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมานั้น เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยในฐานะผู้ผลิต และถือว่าเป็นผู้ผลิตต้นน้ำ ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีและมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงขอยืนยันและขอความสนับสนุนให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ….. ตามร่างที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเสนอ ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญดังนี้ 3.1 ให้มีการปรับปรุงการเพิ่มรายได้จากการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย ตลอดจนผลพลอยได้ เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีราคาอ้อยที่เพิ่มสูงขึ้น 3.2 ยืนยันความเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยที่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายที่เสนอ คือ การเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยต้องมีคุณสมบัติเดียวกันทุกองค์กร และต้องมีปริมาณอ้อยของสมาชิกส่งโรงงานน้ำตาลใดโรงงานหนึ่งไม่ต่ำกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะทำให้การรักษาผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยมีเอกภาพยิ่งขึ้น จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และนำเรียนรัฐบาลให้เร่งหาแนวทางช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยเป็นการด่วน เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยรวมตัวกันมาเรียกร้องต่อรัฐบาลก่อนจะมีการเปิดหีบในฤดูการผลิตปี 2561/62 ต่อไปซึ่งนายประทีป ศิลปเทศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้รับหนังสือจาก สมาคมชาวไร่อ้อย เขต 11 นครสวรรค์ และสมาคมชาวไร่อ้อยสี่แควนครสวรรค์ และกล่าวว่า จะนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป