14 กรกฎาคม 68 นับได้ว่าถือเป็น “ปรากฏการณ์” “ถ้วนหน้า” กับกระแสไม่เอากระท่อม ภายหลัง พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกาศ วาระกระท่อม 120 วัน อีกทั้งยังแสดงจุดยืนชัดเจน ในการผลักดัน กระท่อมกลับเข้าบัญชียาเสพติด
ในขณะที่ประชาชนในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ได้เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านไม่เอายาเสพติด ไม่เอากระท่อม ตอนดีใจมาก ที่ นายประเสริฐ ดอเลาะ กำนันตำบลเปียน อำเภอสะบ้าย้อย ร่วมกับเจ้าหน้าที่และประชาชนหาสถานที่บำบัด ที่ใกล้ที่สุดในพื้นที่ กำนันเขากำลังสร้าง ปอเนาะ ครอบครัวปั่นสุข สะบ้าย้อย ที่ หมู่ 6 ตำบลสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เพื่อจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ บำบัดยาเสพติด
ทางด้านนายประเสริฐ ดอเลาะ กำนันตำบลเปียน ได้ยืนยันว่า ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนมาก ขอควาช่วยเหลือนำลูกชายไปบำบัด ซึ่งบางครั้งต้องเดินทางไปถึงจังหวัดกระบี่หรือ ปัตตานี ขณะเดียวกันครอบครัว เป็นผู้มีรายได้น้อย ทำให้การช่วยเหลือมีขีดจำกัด จึงเป็นที่มา คิดที่จะสร้าง ปอเนาะ ครอบครัวปั่นสุข สะบ้าย้อย ร่วมกันกับหลายๆส่วน โดยใช้ “ศาสนาบำบัด” เพราะ การใช้ศาสนานำบัด จะได้ผลจริงและยั้งยืน ซึ่งมันตรงตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาที่กำชับมา ว่าต้องการให้ยาเสพติดหมดไปจากพื้นที่
ตนเองจึงได้มาขับเคลื่อนทำ ปอเนาะปั่นสุข โดย ตนและครอบครัวได้อุทิศ ที่ดิน 14 ไร่ ตอนนี้ กำลังทำอาคาร เสร็จแล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อกำนันด้วยกัน ผู้นำในพื้นที่ต่างมีความหวังว่า ปอเนาะปั่นสุข จะสามารถเปิดใช้โดยเร็ว ตอนนี้คาดว่า ถ้าได้ ไฟฟ้า และน้ำบาดาล ก็จะสามารถเปิดใช้ ได้เป็นปกติปีหน้า และชาวบ้านก็ไม่ต้องเดินทางไปไกล ชาวบ้านไม่มีเงินที่จะพาลูกหรือคนในครอบครัวไปบำบัดไกลๆ เขาหวังว่าเราจะได้ไฟฟ้าและน้ำบาดาลโดยเร็ว เพื่อที่จะสามารถเปิดใช้เร็วๆ ซึ่งหากมีผู้ต้องการช่วยเหลือ ในส่วนนี้ ทางเราก็ยินดี สามารถติดต่อหรือโอนเป็นเงินมาได้ที่ ธกส. เลขที่ 020037810958 นายประเสริฐ ดอเลาะ ตอนนี้ พวกเราเร่งทำเต็มที่ทุกวัน ก็ขอวอนผู้ใหญ่ใจดี ร่วมสนับสนุนเพื่อให้ตรงนี้ได้เปิดใช้โดยเร็ว
จากที่ทำตรงนี้ สามารถยืนยันได้ว่าชาวบ้านในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย ไม่เอายาเสพติด ไม่เอากระท่อม รวมถึงผู้นำในพื้นที่ ก็มีความพยายามทุกวิธี สแกนคน รณรงค์ โดยเฉพาะกลุ่มต้มน้ำกระท่อม ได้ร่วมกันลงพื้นที่พูดคุยสร้างความเข้าใจ เน้นให้ข้อมูลเรื่องของหลักศาสนา รวมทั้งข้อกฎหมาย หลายคนต้องการเลิกให้พาไปบำบัด แต่พวกเขาไม่มีเงิน ซึ่งถ้าที่นี้สามารถเปิดใช้ปกติก็สามารถช่วยเหลือชาวบ้าน ที่อยู่เขตแดนระหว่าง สะบ้าย้อย อำเภอเทพา จ.สงขลา อำเภอยะหา อำเภอกาบังจังหวัดยะลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ยิ่งตอนนี้ กระแสไม่เอากระท่อมแรงมาก ยิ่งทำให้ชาวบ้านโทรประสานมาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนด้าน (ฝ่ายปกครอง) อส.สุเมธ ยีกาจิ อส.สะบ้าย้อย ประจำ ชคต.เปียน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปอเนาะปั่นสุข สะบ้าย้อยที่กำลังก่อสร้างอาคาร กลาวว่า จากทีได้เข้าไปช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้องในพื้นที่ร่วมกันปราบปรามและนำผู้ติดยาไปบำบัด กล้ายืนยันว่า ชาวบ้านที่นี้ไม่เอายาเสพติด ไม่เอากระท่อม และเป็นที่มา ทำให้ กำนัน ร่วมกับหลายฝ่าย คิดจะทำ ปอเนาะ ปั่นสุขเพื่อบำบัด ผู้ติดยาเสพติด โดยใช้ศาสนา บำบัด พวกเรารวมถึงทุกคน ต่างต้องการให้ยาเสพติดหมดไปจากพื้นที่ โดยเฉพาะกระท่อม ชาวบ้านมีความหวังมาก ว่ามันจะดีขึ้น กลับไปเป็นยาเสพติด
ตอนนี้ชาวบ้านต่างรอคอยให้ปอเนาะปั่นสุข เสร็จเร็วๆเขาจะได้ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อย่างต้องนี้ต้องเดินทางไปไกล เพราะที่นี้ไม่มี โดยเฉพาะกลางคืน ต้องประสานไปก่อน บางทีเขาก็รับ และบางทีเขาก็ไม่รับ เพราะเต็มปัญหาจึงตกอยู่กับครอบครัวและผู้นำในพื้นที่
นายมูฮัมหมัด วันยี ผู้ช่วยกำนัน กล่าวว่า ตนมีหน้าที่ช่วยกำลังพาผู้ติดยาไปบำบัด ก็ได้รับเสียงสะท้อนจำนวนมากจากครอบครัวของผุ้ติดยาเสพติด ส่วนมากเขาจะบอกว่า ไม่มีเงิน เพราะปัญหาที่เกิดนอกจาก คนในครอบครัวติดยาแล้ว จะมีปัญหาการลักทรัพย์ ภายในครอบครัว ทำให้เงินของพ่อแม่ไม่เหลือ บางทีพ่อแม่ไม่ให้ก็จะถูกข่มขู่ เวลาจะต้องใช้เงิน ไปบำบัดก็ไม่มี หลายเคสที่มาขอให้พาลูกไปบำบัด แต่จะบอกว่าไม่มีเงิน เพราะ ตัดยางได้ วันละ 100-200 บาท บางที เดือนหนึ่งได้ 2,000 บาท แต่ถ้าปอเนาะปั่นสุข เสร็จก็สามารถรองรับชาวบ้านที่อยู่เขตรอยต่อ ระหว่าง ยะลา และ ปัตตานี ได้จำนวนมาก อย่างน้อยๆ ไม่ต่ำกว่า 100 คน มีความหวังว่าที่นี้จะสามารถเปิดใช้บริการเร็วๆ ในฐานนะ ที่ทำงานตรงนี้ ขอยืนยันว่าคนสะบ้าย้อยไม่ต้องการยาเสพติด ไม่ต้องการกระท่อม ตอนนี้ ทั้งอส. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ตำรวจ ทุกคนช่วยกันเต็มที่ ไม่อยากให้มีผู้ติดยาอยู่ในพื้นที่ และ นโยบายของอำเภอก็กำชับตลอดเรื่องนี้
ตอริก สหสันติวรกุล รายงาน