ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเด่น ปทุมธานี

บิ๊กแจ็สพร้อมผู้นำบุกกรมชลฯ ทำบายพาสเจ้าพระยา อดีตนายกโบลิ่งลั่นไม่ยอมให้น้ำท่วมรังสิต

ที่ห้องประชุมดงตากรมชลประทาน สามเสน กทม. พล.ต.ท.คํารณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี พร้อมด้วย ท่านนายก อบต.สจ. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนต่างๆ ที่อยู่ริมแม่นำ้เจ้าพระยา ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เข้าพบกับ ทางเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน โดยมี ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำอุทกวิทยา และคณะให้การต้อนรับและ พูดคุยถึงข้อสงสัยในโครงการที่ทางกรมชลประทานกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจาก ประชาชชนในพื้นที่ ปทุมธานี มีความวิตกกังวล เป็นอย่างมาก

โดย ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำอุทกวิทยา กล่าวว่า แม่น้ำเจ้าพะยาสายหลัก และเจ้าพะยาสายรอง มันคือ น้ำท้ายเขื่อนตัวเดียวกัน ซึงประโยชน์ของเขามันสามารถพร่องน้ำตอนบนได้ก่อน แทนที่จะอั๋น 700 -800 ไปท่วมแถวบางบาน เมื่อก่อนน้ำป่าสักยังไม่มามันก็ทำให้น้ำมาตอนล่างก่อน เพราะในอดีตมันจะชนกัน น้ำเหนือก็จะมากันยายน น้ำป่าสักก็จะมากันยายน แต่ถ้าน้ำเหนือมาสิงหาคมเราก็ กันน้ำน้ำเหนือไปก่อน นี้ก็จะเป็นประโยชน์ของประปาน้ำใส มันไม่ได้มาพร้อมกันแต่เป็นการจัดจราจรน้ำถอนมาเลื่อยๆก่อน ผมถึงบอกว่าน้ำเหนือมี 10 วันต้องระบาย แต่ถ้าเกิดเราระบาย 20 วันน้ำมันก็คล่องตัวไหลไปได้ก่อนมันส่งผลกระทบมากกว่า อันนี้หลักการของมันคือเปลี่ยนทางน้ำ เปลี่ยนทางน้ำที่มาจากท้ายเขื่อนที่มาจากแม่น้ำเจ้าพะยาลงมา แทนที่จะเข้าเขตบางบาน แต่มันจะไม่ใช่น้ำที่เกินมาในอดีตมันจะทำให้สามารถป้องกันน้ำได้ก่อนน้ำที่ค้างในระบบจะออกมาก่อนร่วมถึงฝนที่ตกตอนล่างท้ายจังหวัดชัยนาทเลื่อนออกมาก่อน อันนี้ก็จะมีผลประโยชน์ต่อการที่จัดจราจรน้ำเพราะว่าแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำป่าสักจะมาลงมาผสมกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพอดี ฉะนั้นตอนนี้น้ำตอนเหนือลงมาก่อน ก่อนที่เขื่อนป่าสักจะเต็มในช่วงเดือนตุลาคมไม่งั้นน้ำมันจะชนกัน ส่วนตัวที่สอง คลองรังสิตในช่วงของฤดูน้ำมันปิดปากคลองรังสิตอยู่แล้ว คลองรังสิตตามกายภาพมันไหลคลองแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่แล้วพื้นที่ฝั่งตะวันออกมันจะไหลสโลบลงแม่น้ำเจ้าพระยา ฉะนั้นแนวทางในการจัดการน้ำตั้งแต่คลองชัยนาทป่าสัก จะมาเจอเขื่อนพระรามหก ต่อมาเจอคลองระพีพัฒน์ รังสิตเหนือ

ด้าน ร.ต.อ.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง อดีตนายกเทศมนตรีนครรังสิต กล่าวว่า จากที่ท่าน ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำอุทกวิทยา กล่าวมา ผมขอขอบคุณมากๆ แต่พอทราบจากระดับน้ำที่แจ้งมา2900 ลูกบาศก์เมตร จริง น้ำที่รังสิตไม่มีทางระบายออกได้และ ที่รังสิตน้ำดันขึ้นมาทำให้เกิดปัญหา พอได้ทราบก็มีความเป็นห่วงและมีเรื่องที่จะสอบถาม กับเจ้าหน้าจากแผนผังนี้รอยปะที่ผมทำขึ้นมา อันนี้ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา 2 ถูกไหมครับ และการที่น้ำเจ้าพระยาวิ่งผ่านอยุธยามา จะทำให้มีการผันน้ำต่างๆ ออกไปด้วย ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมา ก็จะผันน้ำไปออกคลองระพีพัฒน์ เพื่อกระจายออกไป 13 คลอง แต่ว่ามีปีหนึ่งที่ผันน้ำในลักษณะแบบนี้ แต่ น้ำเจ้าพระยานั้นสูงกว่าระดับน้ำในคลองรังสิตประยูศักดิ์ มาก จึงได้มีการสูบน้ำไปออก คลองพระยาสุเรณ แต่เนื่องด้วยระดับพื้นที่ที่มีความสูงต่างกันทำให้มวลน้ำมาร่วมกันในพื้นที่ เทศบาลนครรังสิต จนเกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในปีนั้น คนเรารู้สึกลำบากมากได้รับ
ผลกระทบอย่างหนัก ตนเองจึงอยากให้ทางกรมชลประทานได้ศึกษาปัญหาตรงนี้เผื่อเอาไว้ด้วยเพราะไม่อยากให้ ชาวรังสิตได้รับผลกระทบแบบนั้นอีก

ส่วน พล.ต.ท.คํารณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า สาเหตุที่มาวันนี้เนื่องจากพี่น้องชาวปทุมธานี พอมีการประชาสัมพันธ์ ออกไปของโรงการเจ้าพระยา 2 จาก บางบาล มาบางไทร ระยะทาง 22.5 กิโล ซึ่งชลประทานใช้งบกว่า 20,000 ล้าน และจะเสร็จสินภายในปีหน้า พี่น้องประชาชนต่างคนก็ ไปหาข้อมูลมา และหวั่นวิตกว่า ถ้ามวลน้ำมา 2,900 ลูกบาตรเมตรต่อวินาที ปทุมเราเอาไม่อยู่ มาแค่ 2,000 เราก็แย่แล้ว ดังนั้นผมจึงต้องทำหนังสือมายังท่านอธิบดีกรมชลประทาน และก็ได้นัดกันมาพูดคุยในวันนี้ ผมก็ได้นำท่าน นายก สจ. ผู้นำชุมชน ต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เค้ามาฟังด้วยตนเอง ว่าทางกรมชลประทานมีนโยบายอย่างไร และตอนนี้ชัดเจนแล้วว่ายังไม่ได้เปิด จะเปิดจริงๆ ปี 2569 ไปถึง ปี 2571 และทางชลประทานก็มีระบบระบายน้ำที่ทางชลประมานเตรียมการแก้ไขเอาไว้แล้ว เพื่อไม่ให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อน

ซึ่ง ดร.ธเนตร์ สมบูรณ์ กล่าวต่อว่าว่า ในเรื่องการจัดการน้ำของกรมชลประธานเองในการที่สร้างคลองบางไซเราลองเป็นระบบ ที่ว่าให้สอดคล้องน้ำเหนือน้ำฝนและก็น้ำทะเลหนุน ในเรื่องของน้ำเหนือก็คงใช้เขื่อนตอนบนในการบริหารจัดการน้ำในการกักเก็บน้ำไว้ ไม่ว่าจะเป็นเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิต์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ ส่วนเรื่องของน้ำฝน ฝนตกท้ายเขื่อนลงมาที่นครสวรรค์ ผ่านชัยนาท สิงค์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพมหานครฯ เราต้องจัดการน้ำที่มาจากนครสวรรค์ให้ออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด ตัวคลองบางบานไซ เป็นตัวหนึ่งที่เป็นเครื่องมือใหม่ของกรมชลประธานที่จะระบายน้ำเหนือออกไปก่อนซึ่งน้ำตรงนี้จะเป็นน้ำก้อนเดียวกันกับที่เคยระบายในอดีตในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา มีน้ำเหนือที่ผ่านทางเขื่อนเจ้าพระยามาเกิน 2000 ลูกบาศก์เมตรประมาณ 20 ปีด้วยกัน เราจะจัดการน้ำในช่วงเวลาอย่างไร ฉะนั้นเราระบายน้ำเบื้องต้นออกไปก่อนโดยให้จังหวัดปทุมธานีไม่มีผลกระทบก็จะทำให้น้ำไม่อั๋นถึงเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ลดน้ำในช่วงที่พีคสูงสุดได้ ตรงนี้ก็เป็นแนวทางในเรื่องของการนำน้ำผ่านช่องแนวทางน้ำสายหลักจากนครสวรรค์ออกสู่ชัยนาท สิงค์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพมหานครฯ ก่อนออกอ่าวไทย นอกจากนี้เรายังมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เรามีการผันน้ำออกตามระบบ ตะวันออกและฝั่งตะวันตกโดยใช้ระบบคลองชลประธานที่มีอยู่ในการที่ผันน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด เน้นย้ำในเรื่องของระบบภายในก็จะมีการรับน้ำต่อเนื่องระหว่างคลองต่อคลองตั้งแต่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี ออกไปยังสมุทรปราการ โดยใช้สถานีสูบน้ำริมแม่น้ำบางประกง ริมคลองทะเลเร่งสูบน้ำให้เร็วที่สุดก็จะเป็นแนวทางในเรื่องการจัดการน้ำกับน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ ส่วนเรื่องน้ำหนุน ในเรื่องของการวางแผนการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยามาถ้าจะให้สอดคล้องกับจังหวะที่น้ำทะเลหนุนเช่นเดียวกันนี่คือการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดปทุมธานี และนนทบุรีที่จะต้องมีการดำเนินการทุกอย่างให้มีความสอดคล้องกัน