Reporter&Thai Army ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า และภัยพิบัติ เหตุฉุกเฉินโดยใช้อากาศยานพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า และภัยพิบัติ เหตุฉุกเฉินโดยใช้อากาศยานพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 ที่ สวนสาธารณะรถไฟ อบจ.เชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ พลตรีชายแดน กฤษณสุวรรณ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า และภัยพิบัติ เหตุฉุกเฉินโดยใช้อากาศยานพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่จัดขึ้น โดยมีนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมอบแนวทางการสนับสนุนและประสานความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พลตรีชายแดน กฤษณสุวรรณ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันของปีนี้ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาค 3 ส่วนหน้าได้ระดมอากาศยานจากทุกหน่วยเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ทั้ง เฮลิคอปเตอร์ MI-17 อากาศยาน BT-67 (กองทัพอากาศ) ฮ.ทส.จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั่งเครื่องบิน CASA ของกรมฝนหลวง เพื่อใช้ดัดแปรสภาพอากาศเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5)

โดยให้ความสำคัญกับการลาดตระเวน การดับไฟ การดัดแปรสภาพอากาศตลอดจนการเฝ้าตรวจหลังการปฏิบัติโดยการใชโดรน Matrice 300 ติดกล้อง IR จำนวน 2 ลำ ของ องค์การบริการส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกิดประสิทธิภาพ ถึงแม้นว่าในปีนี้สถานการณ์ด้านจุดความร้อน ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ เกิดจุดความร้อน 57,112 จุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาในห้วงเวลาเดียวกันลดลงร้อยละ 26.08 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกรอบที่รัฐบาลกำหนด
และทั้งหมดเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เข้ามาร่วมกันในการแก้ไขปัญหาทั้งทางภาคพื้น ทางอากาศยาน และจิตอาสา ประชาชนในแต่ละพื้นที่.