17 กรกฎาคม 2568 นายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้ นายสุวรรธณ์ เข็มธนเพ็ชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมเร่งรัดการดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัดร้อยเอ็ด สาขาอำเภอเเละสาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 224 แห่ง ณ ห้องประชุมพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด นายอำเภอ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 203 แห่ง เข้าร่วมประชุม
นายสุวัฒน์ เข็มเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตามที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยศูนย์อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดร้อยเอ็ด (ศอ.ปส.จ.รอ.) ได้มีการได้ให้อำเภอ/ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ (ศป.ปส.อ.) ทุกแห่ง เร่งรัดการบันทึกข้อมูลขอรับการช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพทางสังคมของผู้ผ่านการบําบัดรักษาในรูปแบบชุมชนบําบัด (CBTx) ในระบบข้อมูลการบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.) ให้ครบถ้วน รวมทั้งจำนวน 14,304 ราย และจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการบําบัดรักษาที่ขอรับการช่วยเหลือดังกล่าว เพื่อส่งต่อไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อติดตามให้การช่วยเหลือ ซึ่งมีจำนวนผู้ผ่านการบำบัดรักษาที่ขอรับการช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพทางสังคม จำนวน 10,619 ราย ซึ่งได้รับการช่วยเหลือเสร็จสิ้นเเล้ว 8,920 ราย คงเหลือระหว่างดำเนินการ 1,699 ราย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการดำเนินงานร่วมกับศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมจังหวัด สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการติดตามและให้ความช่วยเหลือครบถ้วนทุกราย ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เเละได้กำหนดให้มีการรายงานข้อมูลเชิงคุณภาพ หลังการช่วยเหลือ เพื่อให้มีความเป็นรูปธรรม และสามารถติดตามและสนับสนุนด้านต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ผู้ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ชีวิตปกติร่วมกับชุมชน และไม่กลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีก
รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้การอำนวยการของนายชัชวาลย์ เบญจสิริวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้สั่งการให้มีการเร่งรัดการดำเนินการขับเคลื่อนศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในทุกระดับ โดยกำชับให้นายอำเภอ บูรณาการร่วมกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมทั้งติดตามให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดผ่านศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม สาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครบทั้ง 203 แห่ง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ผ่านการบำบัดรักษาในระดับพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม การแนะแนวการศึกษา/อาชีพ ทักษะการประกอบอาชีพตามความต้องการของแต่ละคน และการสงเคราะห์ในด้านต่างๆ เพื่อเสริมสร้างพื้นที่ความปลอดภัยในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยและให้ผู้ผ่านการบำบัดสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข อันเป็นการคืนคนดีสู่สังคมอย่างแท้จริง
สมนึก บุญศรี รายงาน