ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่

สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองจ.เชียงใหม่ จัดอบรมเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ตามเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นต้นแบบและไว้ศึกษาดูงานของชุมชนฯ ที่ศาลาบำเพ็ญบุญพระเจ้า 5 พระองค์ วัดช่างทอง (วัดต้นกุก) ม.7 ต.สุเทพ อ.เมืองจ.เชียงใหม่

สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองจ.เชียงใหม่ จัดอบรมเรียนรู้ทฤษฎีใหม่ตามเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นต้นแบบและไว้ศึกษาดูงานของชุมชนฯ ที่ศาลาบำเพ็ญบุญพระเจ้า 5 พระองค์ วัดช่างทอง (วัดต้นกุก) ม.7 ต.สุเทพ อ.เมืองจ.เชียงใหม่

วันที่ 30 ม.ค.2562 เวลา 10.00 น. ที่ศาลาบำเพ็ญบุญพระเจ้า 5 พระองค์ วัดช่างทอง (วัดต้นกุก) ม.7 ต.สุเทพ อ.เมืองจ.เชียงใหม่ นางดวงใจ สมแก้ว นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองจ.เชียงใหม่ จัดอบรม โครงการพัฒนาอบรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านต้นกุก โดยมีนายสว่าง ธาตุอินทร์จันทร์ ประธานเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่ และ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน นางวันวิสา บูรณะกร ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงภูมิปัญญาโคม – ตุงล้านนา มาร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยายในครั้งนี้ โดยมีนายวนารักษ์ ทิพย์ชมภู ผู้ใหญ่บ้าน บ้านต้นกุก หมู่ที่ 7 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังในการอบรมในครั้งนี้

โดยสำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองจ.เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ 2562 โครงการ “สัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อสร้างความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการพัฒนาหมู่บ้านที่สมดุล โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้แทนครอบครัวพัฒนาจำนวน 30 คน ที่ศาลาบำเพ็ญบุญพระเจ้า 5 พระองค์ วัดช่างทอง (วัดต้นกุก) ม.7 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อตอบสนองวาระของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ประกาศวาระการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ 100% จำนวน 2,066 หมู่บ้าน ในปี 2561/2562

โดยสำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองจ.เชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ 2562 โครงการ “สัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อสร้างความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการพัฒนาหมู่บ้านที่สมดุล โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้แทนครอบครัวพัฒนาจำนวน 30 คน ที่ศาลาบำเพ็ญบุญพระเจ้า 5 พระองค์ วัดช่างทอง (วัดต้นกุก) ม.4 ต.สุเทพ อ.เมืองจ.เชียงใหม่ โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อตอบสนองวาระของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ประกาศวาระการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ 100% จำนวน 2,066 หมู่บ้าน ในปี 2561/2562

นายสว่าง ธาตุอินทร์จันทร์ ประธานเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่ และ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่พัฒนาหมู่บ้านร้องขี้ควาย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ที่ได้พัฒนาหมู่บ้านจนได้รับรางวัลแหนบทองคำ มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยว กับเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบที่ได้ดำเนินการมาให้แก่ชาวบ้านต้นกุกได้รับทราบถึงแนวทาง การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมบรรยายให้แก่ชุมชุนได้มีความรักสามัคคีกันและใหนำคำสอนของ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต

โครงการสัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในด้านของการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินการไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจและให้มีความรู้ที่เหมาะสมสามารถดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลพร้อม ต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งในด้านวัตถุสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี.

โครงการสัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในด้านของการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินการไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอนขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจและให้มีความรู้ที่เหมาะสมสามารถดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลพร้อม ต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งในด้านวัตถุสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี.

ทรงวุฒิ ทับทอง ภาพ/ข่าว