Reporter&Thai Army ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

(มีคลิป) ประธานกองทุนแม่ฯ “สืบฮีตสานฮอยล้านนา” ถวายเครื่องสักการะ บรมครูบาอาจารย์ ปี 67

ประธานกองทุนแม่ฯ “สืบฮีตสานฮอยล้านนา” ถวายเครื่องสักการะ บรมครูบาอาจารย์ ปี 67

เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2567 เวลา 09.09 น. ที่ศูนย์ประสานงานกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่ นายสว่าง ธาตุอินทร์จันทร์ ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่ และ ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดิน 8 จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) ได้จัดพิธีทำบุญถวายเครื่องสักการะ บรมครูบาอาจารย์ ถวายเพลพระ พร้อมด้วยเครื่องสักการะ คาวหวาน แด่เทพเทวา โดย มีการแห่มหรสพดนตรีพื้นเมือง และรำถวาย อย่างสวยงาม ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก “พระอธิการชาญชัย กนฺตวีโร” เจ้าอาวาสวัดร้องอ้อ นำคณะฯ “ฮีตล้านนาดนตรีพื้นเมืองเชียงใหม่” เข้าร่วมในพิธีครั้งนี้ มีการฟ้อนรำถวายแก่เทพเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การรำฟ้อนเมืองสักการะบรมครู, การรำขันดอก, และการรำฟ้อนทีหรือฟ้อนร่ม ของคณะ “ฮีตล้านนาดนตรีพื้นเมืองเชียงใหม่” ควบคุมการดำเนินการฟ้อนรำและบรรเลงมหรสะโดย พระสะหลียศ พระลูกวัด “วัดร้องอ้อ” เพื่อถวายสักการะแก่บรมครูบาอาจารย์ประจำปี 2567 โดยมีชาวบ้านและลูกศิษย์เข้ามาร่วมพิธีในครั้งนี้กันอย่างพร้อมเพียง

นายสว่าง ธาตุอินทร์จันทร์ ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดเชียงใหม่และ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน กล่าวว่าตามหลักวิถีชีวิตของชาวล้านนา การจัดทำพิธีกรรมเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เราเคารพนับถือนั้นมีมาช้านานแล้ว เป็นการถวายการสักการะ หรือคาระวะครูบาอาจารย์หรือพ่อปู่ของศาสนาพุทธ และพราหมณ์โดยมีการประดิษฐ์เครื่องสักการะ สำหรับใช้ในพิธีกรรมขึ้น เครื่องสักการะที่มักพบเห็นในพิธีกรรมของชาวล้านนานั้น มีด้วยกัน 5 ประการ ซึ่งการประดิษฐ์เครื่องสักการะทั้ง 5 ประการนั้น ทำให้เห็นว่า ชาวล้านนามีความคิดที่ลึกซึ้งและรู้จักใช้สิ่งของจากธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้มีความสวยงามและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการทำความเคารพต่อสิ่งที่ตนให้การสักการะและบูชาเพื่อน้อมรำลึกถึงบรมครูอาจารย์

โดยพิธีทำบุญถวายเครื่องสักการะ บรมครูอาจารย์ ได้จัดทำขึ้นทุกปีในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมือง (ช่วงเทศกาลสงกรานต์) เพื่อบรวงสรวงครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประศาสน์วิชาให้ อีกทั้งยังเป็นการขอพรให้ในปีใหม่ที่จะถึงให้ประสบแต่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน รวมไปถึงกิจการเจริญรุ่งเรืองตลอดทั้งปี ซึ่งตนเองได้สืบทอดประเพณีบูชาบรมครูแบบล้านนา พร้อมทั้งสืบทอดตำนานจุดเทียนมงคล สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ ตามตำนานโบราณล้านนา เพื่อจุดในพิธีนี้ด้วย คนล้านนาเรียกว่า “ต๋ามเตียนปู่จาพระเจ้า” โดยเทียนดังกล่าวจะมีอยู่สามเล่ม คือ เทียนบูชาลดเคราะห์ เทียนบูชาสืบชะตา และเทียนบูชาโชคลาภ และการจุดเทียนยังถือว่าเป็นการสืบชะตาให้แก่ตัวเรา ให้รุ่งเรืองรุ่งโรจน์ ประดุจเปลวไฟในปีใหม่ที่มาถึงนี้ จะทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า แต่ต้องระมัดระวังเรื่องฟื้นไฟในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน สำหรับการจัดพิธีถวายเครื่องสัการะบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามหลักศาสนาพุทธและพราหมณ์ บูชาบรมครูบาอาจารย์มีการจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการ “สืบฮีตสานฮอยล้านนา” ร่วมไปถึงยังเป็นการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีล้านนาของชาวเหนือที่หาดูได้ยากในยุคโซเชียล สังคมปัจจุบัน จึงต้องมีการอนุรักษ์งานประเพณีสืบต่อไป นายสว่าง ประธานกองทุนแม่ฯกล่าว.