Reporter&Thai Army ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ ข่าวเด่น นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

(มีคลิป) ผู้ช่วยผบ.ตร. เปิดโครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่

ผู้ช่วยผบ.ตร. เปิดโครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ “ผนึกทุกภาคส่วน ร่วมวางแผนอนาคตประเทศไทย สู้ชีวิตวิถีใหม่”

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้องประชุมมหาศาลาหทัยนเรศวร์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ พลตำรวจโทประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการสร้างเครือขายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปองกันอาชญากรรมระดับตําบล ของตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระสุวรรณเมธี (แสวง ปญฺญาปโชโต) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อม พล.ต.ท.กฤตธาพล ยี่สาคร ผบช.ภ.5, พล.ต.ต.ไพศาล ลือสมบูรณ์ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5, พล.ต.ต.ธวัชชัย พงษ์วิวัฒนชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ นายยุทธพงษ์ ไชยศร นายอำเภอจอมทอง พ.ต.อ. ปรัชญา ทิศลาผกก.สภ.จอมทอง พร้อมด้วยหัวหน้าสถานี ตำรวจภูธรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ข้าราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ใน การเปิดอบรม โครงการในครั้งนี้

พล.ต.ต.ธวัชชัย พงษ์วิวัฒนชัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ รายงาน โครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรม ระดับตำบล จัดขึ้นตามตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together) ของรัฐบาล เป็นโครงการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังอาชญากรรมภาคประชาชนโดยการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล การจัดฝึกอบรม ตามโครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล ของตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 1,900 คน โดยเป็นผู้แทนของประชาชนในพื้นที่ตำบลต่างๆ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจในสังกัด 38 สถานี สถานีตำรวจละ 50 คน ใช้เวลาฝึกอบรม รุ่นละ 1 วัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 3 รุ่น ในวันนี้ เป็นการอบรม รุ่นที่ 1 มีผู้แทนประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูธรจอมทอง, ดอยหล่อ, ฮอด, บ่อหลวง, ดอยเต่า, แม่กา, แม่แจ่ม, อมก๋อย และแม่ตื่น รวมทั้งสิ้น 500 คน โดยมีคณะวิทยากรผู้มีความรู้ ความสามารถจากภาครัฐและเอกชน มาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกท่าน จะสามารถนำความรู้ และแนวทางที่ได้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติ เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ระดับตำบล และเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งในการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ต่อไป

ทางด้านพลตำรวจโท ประจวบ วงศ์สุข ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า โครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล ตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together) ของรัฐบาล โดยได้กำหนดเป้าหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดยุทธศาสตร์ การสร้างการมี ส่วนร่วมของ ประชาชน ในทุกมิติ ถึงกำหนดให้ ทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศดำเนินการ ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 5 แล้วที่เราดำเนินการมา ซึ่งตอนนี้เรามีเครือข่าย จำนวน 590,000 กว่าคนทั่วประเทศ โดยได้มีการขอความร่วมมือจากเครือข่ายในการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชนปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ให้สะท้อนถึงปัญหาของในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน อีกทั้งเพื่อจะได้บูรณาการความร่วมมือของส่วนราชการภาคเอกชน และประชาชน ทุกภาคส่วน รวมพลังกัน เพื่อทำนุบำรุงสถาบันหลักของชาติ ได้แก่ ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชน มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สืบไป

นอกจากนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยพลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญและให้นำนโยบายรัฐบาลมาสู่การปฏิบัติ โดยสั่งการให้ทุกหน่วยดำเนินโครงการ “สร้างเครือช่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมระดับตำบล เพื่อสนับสนุนการป้องกันอาชญากรรม ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน (Stronger Together)” โดยมีเป้าหมาย “เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอและแก้ไขปัญหา ชุมชนสังคมความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีอาชีพมีรายได้ ส่งเสริมวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว เพื่อความผาสุกของประชาชนอย่างยั่งยืน”

สำหรับการฝึกอบรมของตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ในวันนี้มีพี่น้องเครือข่ายประชาชนมาอบรม รุ่นที่ 1 จำนวน 500 คน โดยเป็นผู้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องขอบคุณในความเสียสละที่ทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ และผู้ที่เข้ารับอบรมจะได้รับการคัดเลือกและอาสาเข้ามาเพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม ชุมชน ท้องถิ่นที่ท่านอาศัยอยู่ เพราะพวกท่านทราบปัญหาในพื้นที่ดี และทราบว่าแต่ละพื้นที่ต้องการอะไร ทุกปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเห็นแตกแยกทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องความเป็นอยู่ ฝนแล้ง น้ำไม่พอสำหรับบริโภคหรือการเกษตร น้ำไม่ไหลไฟฟ้าดับ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด วัยรุ่นมั่วสุม และทุกปัญหา นอกเหนือไปจากการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงานของตำรวจ ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม พวกท่านยังได้ร่วมสนับสนุนการทำงานของตำรวจอีกด้วย

ดังนั้นการฝึกอบรมในครั้งนี้ จึงเป็นการเสริมสร้างความรู้ในด้านต่างๆ รวมทั้งได้มารู้จักพี่น้องเครือข่ายในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อรวมกันเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่มีพลังในการขับเคลื่อน ในการแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคมในแต่ละพื้นที่ อันจะทำให้ทุกปัญหาได้รับการแก้ไข เรื่องของความเดือดร้อน และความต้องการของพี่น้องประชาชน จะได้รับการแก้ไข และตอบสนองโดยทันที อีกทั้งชุมชนและสังคม ก็จะมีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ ส่งเสริมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เพื่อความผาสุกของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป.

ทรงวุฒิ ทับทอง