Reporter&Thai Army นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

จิตอาสาปั้นดิน บินสร้างป่า ” โฆษก ทภ.3 ยกทีมขึ้นเหนือเชียงใหม่ เผย ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า… เปิด กิจกรรมชวนมาปั้นเมล็ดพันธุ์คืนสู่ป่า….พร้อมต่อยอด“โครงการจัดทัพคัดกรองตาบอดต้อหิน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ”

“ จิตอาสาปั้นดิน บินสร้างป่า ” โฆษก ทภ.3 ยกทีมขึ้นเหนือเชียงใหม่ เผย ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า… เปิด กิจกรรมชวนมาปั้นเมล็ดพันธุ์คืนสู่ป่า….พร้อมต่อยอด“โครงการจัดทัพคัดกรองตาบอดต้อหิน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ”

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พลโท ธวัช ศรีสว่าง รองผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พร้อมด้วย พันเอก ดร. รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 และ พันโท วรปรัชญ์ กาศสกุล. ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 ร่วมแถลงฯ พร้อมทีมช่างภาพ PR ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพภาคที่ 3 …สานสัมพันธ์สื่อมวลชนเชียงใหม่ล้านนาแดนสยาม แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานในภารกิจที่สำคัญของกองทัพภาคที่ 3 ตามนโยบายของกองทัพบก นอกจากนี้ ยังมีประเด็นในการแถลงข่าวที่สำคัญอื่นๆ อาทิ โครงการจิตอาสาปั้นดิน การให้ความช่วยเหลือปัญหาอุทกภัยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และโปรแกรมตรวจคัดกรองโรคต้อหินอัจฉริยะ ซึ่งเกิดจาก พันโท เลอปรัชญ์ มังกรกนกพงศ์ จักษุแพทย์โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี ประสานกับกองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก ให้ช่วยติดต่อประสานงานกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ร่วมกันประดิษฐ์โปรแกรมในการวิเคราะห์ภาพในการวินิจฉัยโรคต้อหินเบื้องต้น และมีกิจกรรมการเสริมสร้างกลุ่มมวลชนเป็นจิตอาสาสร้างสามัคคีปรองดอง โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และนักศึกษาวิชาทหารกว่า 300 คน เข้าร่วม โดยมี พลตรี สืบสกุล บัวระวงศ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ร่วมกิจกรรมด้วย ณ ห้องประชุมเอื้องสามปอยหลวง อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีสาระสำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยวิกฤต , สรุปผลการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ , สรุปผลการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าทางการเกษตรผิดกฎหมาย , การให้ความช่วยเหลือปัญหาอุทกภัยในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ประเด็นที่สำคัญ การติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งส่วนราชการ และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ร่วมกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำคลอง และการจัดการน้ำเสียในคลองแม่ข่า ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ และมีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จึงถึงปัจจุบัน
คลองแม่ข่าหรือแม่น้ำข่าเป็นคลองธรรมชาติ ถือเป็นหนึ่งในชัยมงคลเจ็ดประการ ของการเลือกพื้นที่ ในการสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ 722 ปี ที่ผ่านมา มีความยาว 30.5 กิโลเมตร เริ่มจากต้นน้ำ คือลำน้ำแม่สา อำเภอแม่ริม ไหลผ่านตัวเมืองเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และสิ้นสุดในช่วงปลายน้ำบริเวณ ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตคลองแม่ข่าเป็นเหล่งน้ำใช้เพื่อเกษตรกรรม, อุปโภคบริโภคและการสัญจรทางน้ำเอื้อต่อวิถีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของชาวเมืองเชียงใหม่มาช้านาน แต่ในช่วงระยะเวลา 20 – 30 ปีที่ผ่านมา การเจริญเติบโตของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีชุมชนเข้ามาอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้ทำให้น้ำแม่ข่า ถูกทำลาย มีการรุกล้ำลำน้ำ, ระบายน้ำทิ้งจากบ้านเรือน/สถานประกอบการ และไม่มีน้ำไหลผ่านดังเช่นในอดีต ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียอย่างรุนแรง ทำให้คุณค่าและประวัติศาสตร์ที่เคยมีสูญเสียไป

โครงการจิตอาสาปั้นดิน บินสร้างป่า หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 7 ร่วมกับ โรงเรียนชุมชนบ้านผาบ่อง, โรงเรียนกุงไม้สักมิตรภาพที่ 98 และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน พร้อมใจกันรวมพลัง เยาวชนคนรุ่นใหม่จิตอาสา จัดโครงการจิตอาสา ปั้นดิน บินสร้างป่า เพื่อปลูกป่าในใจคน ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดเดือนสิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา
รูปแบบกิจกรรมฯ เริ่มจากการนำเยาวชนจิตอาสา ทั้ง 3 โรงเรียน มาร่วมกันปั้นก้อนดิน ซึ่งข้างในก้อนดินนั้น จะบรรจุเมล็ดพันธุ์ไม้ในท้องถิ่น ประกอบด้วย ไม้ตะแบก ไม้สัก และไม้ประดู่ จำนวนกว่า 50,000 ก้อน เมื่อนำ มาปั้นเป็นก้อนดินเรียบร้อยแล้ว จะนำไปตากแห้งและรวบรวมไว้ เพื่อใช้โปรยจากอากาศยานต่อไป

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคต้อหินอัจฉริยะ (Glaucoma Checker) โรคต้อหิน เป็นสาเหตุทำให้เกิดการตาบอดอันดับสองของโลก และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของโรคตาบอดที่รักษากลับคืนไม่ได้ ในปี พ.ศ. 2553 โรคต้อหิน พบทั่วโลกถึง 60.5 ล้านคน และประมาณ 8.4 ล้านคนต้องตาบอดทั้งสองข้าง คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2563 คนทั่วโลกจะต้องเป็นต้อหินเพิ่มขึ้น รวมเป็นจำนวน 79.6 ล้านคน และตาบอดทั้งสองข้าง รวมเป็นจำนวน 11.4 ล้านคน สำหรับในประเทศไทย เคยมีการสำรวจ ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า คนไทยเป็นโรคต้อหิน ถึง 4.1 ล้านคน
โรคต้อหินมักพบในประชาชน อายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติโรคต้อหินในครอบครัว, มีสายตาสั้นหรือยาวมาก, มีประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์หรือเคยเกิดอุบัติเหตุทางตา เป็นต้น