ข่าวประชาสัมพันธ์

พิธีเปิดตัวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ฝาย ปลา ป่าบอน ย้อนวิถีชุมชน บ้านหมวดหมู หมู่ที่ ๖ ตำบลละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

พิธีเปิดตัวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ฝาย ปลา ป่าบอน ย้อนวิถีชุมชน บ้านหมวดหมู หมู่ที่ ๖ ตำบลละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 29พฤศจิกายน2561 นาง บุญยิ่ง เทศน้อย พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วย ประธานในพิธีเปิดตัวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านหมวดหมู หมู่ที่ ๖ ตำบลละลวด อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วย พัฒนาการอำเภอชำนิ นาง กิ่ง
กาญจน์ สุขอนันต์) หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นายประสิทธิ์ ชานิพันธ์ กำนันตำบลละลวด ประธานคณะกรรมการบริหารชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านหมวดหมู

โครงการ ฯ ดังกล่าว เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการ “ไทยนิยมยั่งยืน”ที่มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรายได้ให้แก่ชุมชน การสร้างตลาดใหม่ และการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยการใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา ให้เป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว เชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน ใช้เสน่ห์จากวิถีชีวิต วัฒนธรรมภูมิปัญญาพื้นบ้าน และความคิดสร้างสรรค์แปลงให้เกิดเป็นรายได้ การปรับ กลยุทธ์เชิงระบบเพื่อการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวระดับชุมชนที่มีเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนและใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรม เกิดการกระจายรายได้ภายในชุมชนบ้านหมวดหมู หมู่ที่ 6 ตำบลละลวด ได้รับคัดเลือกจากอำเภอชำนิ ให้ดำเนินการตามโครงการ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของดีบ้านฉัน “บ้านหมวดหมู” แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ ศาลตาปู่ ฝายน้ำล้นบ้านหมวดหมู สวนเกษตรผสมผสาน และลานวัฒนธรรมกิจกรรมการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว ได้แก่ ซุมเล่าขานงานฝีมือ ประกอบด้วย กิจกรรม การทอผ้า กิจกรรมการทอเสื่อจากไหล และกิจกรรมการสานหมวกจากไหล ซุมผู้เฒ่าเล่าตานาน ประกอบด้วย กิจกรรมการสานกระด้งและสุ่ม กิจกรรมการทาขนมนมสาว และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย สวนเกษตรผสมผสาน สินค้าชุมชน ได้แก่ ผ้าขาวม้า เสื่อและหมวกจากไหล กระด้งและสุ่ม ผลไม้ตามฤดูกาลปลอดสารพิษ กล้วยอบเนย กล้วยเบรคแตก และขนมนมสาว เมนูอาหารพื้นถิ่น ได้แก่ แกงขี้เหล็กใส่หอย ปลาทอดปรีสตึง แกงจืดหมวดหมู น้าพริกปลาร้าพร้อมผักสด และ บัวลอยเม็ดบัวการแสดงวัฒนธรรมประเพณี ได้แก่ การเล่นสะบ้า ราบายศรีสู่ขวัญ รากะลา และราวงบุรีรัมย์(ย้อนยุค)จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างของงานในครั้งนี้คือการที่ได้นำสื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติกว่า 200คนไปเยี่ยมชมและรับความรู้ที่ฐานการเรียนรู้ประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่สนุกสนานและได้รับความรู้เป็นอย่างยิ่ง โดยส่งเสริมชุมชนผลิตสินค้าที่ตนถนัดและขายสินค้าอยู่ในชุมชน สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับเมืองหลัก เมืองรอง ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เป็นการท่องเที่ยวในชุมชน
(แอ่งเล็ก เช็คอิน) ที่ใช้เสน่ห์จากวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้านและความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าและแปลงให้เกิดรายได้ รวมถึงการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือน มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เกิดการใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน สร้างสรรค์ความผาสุกในบ้านเกิด