Uncategorized

ส.ส.อนาคตใหม่ นำชาติพันธุ์กว่า 300 คน ยื่นหนังสือต่อตัวแทนคณะทำงานสำนักงานบริหารนโยบาย สำนักนายกรัฐมนตรีให้รัฐบาล ให้ทบทวน การขยายพื้นที่อุทยานฯและป่าสงวนแห่งชาติ กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ภาคหนือจำนวนหลายแสนครอบครัวที่อยู่อาศัยตามป่าเขา

ส.ส.อนาคตใหม่ นำชาติพันธุ์กว่า 300 คน ยื่นหนังสือต่อตัวแทนคณะทำงานสำนักงานบริหารนโยบาย สำนักนายกรัฐมนตรีให้รัฐบาล ให้ทบทวน การขยายพื้นที่อุทยานฯและป่าสงวนแห่งชาติ กระทบต่อประชาชนในพื้นที่ภาคหนือจำนวนหลายแสนครอบครัวที่อยู่อาศัยตามป่าเขา

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 ชนเผ่าชาติพันธุ์จำนวนกว่า 300 คน มาจากพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก- ลำพูน ลำปาง และ จ.น่าน นำโดยนายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ นายพฤ โอโดเชาว์ ได้นำมวลชนไปกราบไหว้เพื่อสการะครูศรีชัย นักบุญแห่งล้านนา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พร้อมกับได้อ่านคำแถลงการณ์ และยื่นหนังสือ ข้อเสนอเกี่ยวกับปัญหาอันเกิดจากการประกาศใช้กฎหมาย ฉบับใหม่ทั้ง พ.ร.บ.อุทยานฯ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ร.บ.ป่าชุมชน รวมทั้ง มติคณะรัฐมนตรี นโยบายด้านการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากร รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินในเขตพื้นที่ภาคเหนือ โดยมีนายธนพร ศรียากูล คณะทำงานสำนักงานบริหารนโยบาย สำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษากรมประมงด้านการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย เป็นผู้รับหนังสือเพื่อนำไปเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและคณะบริหารรัฐบาลชุดนี้ต่อไป
แถลงการณ์โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้ 1.ให้ยุตินโยบายทวงคืนผืนป่าที่สร้างผลกระทบต่อคนจนและเกษตรกรรายย่อย พร้อมทั้งให้หาแนวทางและมาตรการในการฟื้นฟูเยี่ยวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลที่ผ่านมา 2. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เรื่องพื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่า( ทุกประเภท )และแนวทางการแก้ปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตอนุรักษ์ตามมติ ครม.ดังกล่าว เนื่องจาก มติ ครม.และแนวทางดังกล่าวทำลายหลักการคนอยู่กับป่าละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ดูแลรักษาป่ามาช้านานและไม่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ 3.ผลัดดันให้มีมาตรการคุ้มครอง พื้นที่โฉนดชุมชน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

และยกระดับโครงการจัดที่ดินชุมชน ( คทช.) ให้เป็นการรองรับสิทธิชุมชนนากรบริหารจัดการที่ดิน ร่วมกันอย่างแท้จริง และผลัดดันให้มี พ.ร.บ.สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรในรูปแบบโฉนดชุมชน เพื่อรองรับการจัดการทรัพยากรตามวิถีชุมชนที่ดำรงมาช้านาน 4. ขอให้ทบทวน ปรับปรุงเนื้อที่ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติและ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯฉบับ พ.ศ.2562 ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560 ข้อที่ 5. ผลัดดันให้มีการคุ้มครอง ซึ่งที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน พื้นที่ทางจิตวิญาณ รวมทั้งพื้นที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและชาวเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2553 และวันที่ 3 ส.ค.2553และยกระดับมติ ครม. ทั้งสองฉบับดังกล่าวให้เป็น พ.ร.บ.เขตส่งเสริมและคุ้มครองทาววัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ ตามยุทธศาสตร์ชาติด้านสังคมภายในปี พ.ศ.2564 และ 6. กรณีชุมชนที่อยู่ในระหว่างการแก้ปัญหากับหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ชุมชนสามารถเข้าถึงสาธาณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา และที่อยู่อาศัยได้ และข้อที่ 7. ให้มีการแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากคดีป่าไม้ที่ทำกินจากนโยบายทวงคืนผืนป่าโดยมีมาตรการเยี่ยวยาที่เหมาะสมและเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนต่อ ลงท้ายด้วยจิตสมานฉันท์และเชื่อมั่นในพลังประชาชน โดยสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ( สกน.) และในนาม ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ( พีมูฟ )
จากนั้นผู้เรียกร้องและแกนนำต่างพากันถือป้ายพร้อมข้อความในการเรียกร้องต่าง ๆ เดินด้วยเท้าเปล่า ลงมาจากหน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย มายังที่สำนักงานบริหารจัดการต้นน้ำ ตรงกันข้าม สภ.ภูพิงค์ราชนิเวศน์ เพื่อประชุมร่วมกับ นายธนพร ศรียากูล คณะทำงานสำนักงานบริหารนโยบาย สำนักนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ป่าจากหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยใช้เวลากว่า 2 ชม.หลังจากเสร็จการประชุมได้แยกย้ายและสลายตัวกับภูมิลำเนากันต่อไป