Uncategorized

คปภ. จัดโครงการ คปภ. เพื่อชุมชนปีที่ 2 ที่ชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด ชู “กู่กาสิงห์อินชัวรันส์โมเดล” รณรงค์ทำประกันภัยภาคบังคับ(พ.ร.บ.) รถจักรยานยนต์ 100% ก่อนขยายผลไปยังชุมชนทั่วประเทศ

คปภ. จัดโครงการ คปภ. เพื่อชุมชนปีที่ 2 ที่ชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด ชู “กู่กาสิงห์อินชัวรันส์โมเดล” รณรงค์ทำประกันภัยภาคบังคับ(พ.ร.บ.) รถจักรยานยนต์ 100% ก่อนขยายผลไปยังชุมชนทั่วประเทศ


วันที่ 3 สิงหาคม 2561 เมื่อเวลา 10.30 น. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการ คปภ. เพื่อชุมชนปีที่ 2 ที่ชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด ชู “กู่กาสิงห์อินชัวรันส์โมเดล” รณรงค์ทำประกันภัยภาคบังคับ(พ.ร.บ.) รถจักรยานยนต์ 100% ที่ หอประชุมเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี นายชยันต์ ศิริมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และชาวตำบลกู่กาสิงห์ ร่วมให้การต้อนรับ
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า สำนักงาน คปภ. มีความมุ่งมั่นที่จะนำระบบประกันภัยไปสู่ประตูบ้านของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ คปภ. เพื่อชุมชน โดยมีเป้าหมายหลักที่ต้องการให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ ของประเทศ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยและสิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันสำนักงาน คปภ. ก็จะมีเวทีเคลื่อนที่ผ่านโครงการเพื่อแนะนำภารกิจและบทบาทหน้าที่ รวมถึงช่องทางการเข้าถึงบริการต่างๆ ของสำนักงาน คปภ. อันจะสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนผู้ไกล่เกลี่ยของสำนักงาน คปภ. ผู้แทนจากองทุนประกันชีวิต กองทุนประกันวินาศภัย พร้อมภาคธุรกิจประกันภัย ลงพื้นที่ชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของการลงพื้นที่ตาม “โครงการ คปภ. เพื่อชุมชนปีที่ 2” โดยชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีรายได้หลักคือขายข้าวหอมมะลิ ทอผ้าไหมและรับจ้างเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เกิดจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ไม่ซ้ำแบบใคร มีฐานการเรียนรู้ 6 ฐาน ได้แก่ ฐานโบราณสถานขอม ฐานผ้าไหมพื้นบ้าน ฐานสวนเกษตรแบบพอเพียง ฐานพิพิธภัณฑ์มรดกภูมิปัญญา ฐานวรรณกรรมชาวบ้าน และฐานการฟื้นฟูการตัดลายกระดาษพื้นบ้าน
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวอีกว่าเพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมและสิทธิประโยชน์ด้านการประกันภัยให้กับชาวชุมชนบ้านกู่กาสิงห์ ในโอกาสนี้สำนักงาน คปภ. ได้จัดเวทีเสวนาให้ความรู้ด้านประกันภัยแก่ชุมชนภายใต้หัวข้อ “ประกันภัยน่ารู้ สู่ชุมชน” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงาน คปภ. อาทิ นายชัยยุทธ มังสี ผู้ช่วยเลขาธิการสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ นางคะนึงนิจ สุจิตจร ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย ดร.อายุศรี คำบันลือ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และนายกี่เดช อนันต์ศิริประภา ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทย ……..
เหยี่ยวข่าว/รายงาน