ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวศรีสะเกษ ข่าวเด่น

อำเภอบึงบูรพ์ ทำข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์เป็นซอฟท์พาวเวอร์ สร้างรายได้สู่ชุมชน

8 พฤษภาคม 2567 ที่ วัดป่าเนรัญชรา ตำบลเป๊าะ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ นายวิทยา วิรารัตน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการอบรมการทำข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์ โดยมี นายพงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ นางวาสิตา น้อยพรหม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ นายคเชนทร์ ชนะชัย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลบึงบูรพ์ และนายเกียรติศักดิ์ บุญกันหา ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอำเภอบึงบูรพ์และประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบึงบูรพ์ นำกลุ่มแม่บ้านจาก 25 หมู่บ้านของอำเภอบึงบูรพ์ เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เพื่อนำข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์เป็น Soft Power อำเภอบึงบูรพ์ สร้างรายได้สู่ชุมชน และร่วมขบวนแห่ขอพรจากกู่สมบูรณ์ขอฝนให้ตกถูกต้องตามฤดูกาล


นายคเชนทร์ ชนะชัย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลบึงบูรพ์ กล่าวว่า ข้าวหมากมีคุณสมบัติ คุณประโยชน์ของข้าวหลาก ดีต่อสุขภาพในทุกเพศ ทุกวัย ก่อนที่จะมีโยเกิร์ต จำหน่ายทั่วไปในตลาด ตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ ซึ่งวันนี้หากชุมชน สามารถพัฒนาข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์ขึ้นเป็น Soft Power ของอำเภอบึงบูรพ์ ของชุมชนได้ จะทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งข้าวหมาก คือ ข้าวที่หมักได้นุ่ม และมีรสหวาน มีกลิ่นหอม ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ต้านมะเร็ง ต้านโรคอัมพฤกษ์ ต้านโรคหัวใจ ความดันโลหิต แก้ปัญหาวัยทอง ช่วยให้นอนหลับสบาย เป็นต้น นับเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่ทำของหวานให้คนในครอบครัวทานแล้ว มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอันมาก


นายเกียรติศักดิ์ บุญกันหา ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบึงบูรพ์ กล่าวว่า กลุ่มแม่บ้านได้ร่วมกันศึกษา เรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทำข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์ หรือเมื่ออดีตพันกว่าปี เรียก น้ำจัน หรือน้ำเมา เพื่อถวายแด่องค์มหาเทพ พระศิวะเทพ ยังที่ตั้งกู่สมบูรณ์ที่มีอายุราวหนึ่งพันกว่าปีเศษ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวอำเภอบึงบูรพ์ ที่เชื่อกันว่ามีดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิ่งสถิตย์อยู่ เพื่อปกป้องดูแลลูกหลาน ซึ่งทุกปีในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ก่อนที่จะมีการลงทำไร่ ไถนา ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกร จะต้องนำเครื่องเซ่นไหว้ มาไหว้บูชา ขอพรจากกู่สมบูรณ์ และหลวงปู่ยอดแก้ว ที่เป็นผู้สร้างวัดนี้เมื่อในอดีต และในวันนี้ได้มีการสอนการทำข้าวหมากหลากศรีบึงบูรพ์ เพื่อทดแทนน้ำจัน นำไปร่วมขบวนแห่อัญเชิญเครื่องเซ่นไหว้ ณ บริเวณที่ตั้งเครื่องเซ่นไหว้ ประกอบพิธี โดยมีคณะสงฆ์อนุโมทนา ให้ศีล ให้พร นางรำสาวงาม จาก 12 หมู่บ้าน ที่แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง ร่วมกันรำถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่อหน้าปราสาทกู่สมบูรณ์ และขอพรจากกู่สมบูรณ์ บูชาปู่ยอดแก้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะเริ่มต้นของการทำไร่ไถนา ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เช่นทุกปีตลอดเรื่อยมา

บุญทัน ธุศรีวรรณ รายงาน