Reporter&Thai Army นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับฟังสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ จาก กองทัพภาคที่ 3

รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับฟังสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ จาก กองทัพภาคที่ 3

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ จาก กองทัพภาคที่ 3 ณ สโมสรค่ายกาวิละ ค่ายกาวิละ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562

ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ถือเป็นปัญหาระดับชาติที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ พี่น้องประชาชนในชุมชนและสังคม โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ นายกรัฐมนตรี จึงได้มีความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาไฟป่าและหมอกควัน โดยได้กำชับให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการแก้ไขที่ผ่านมา จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่ปรากฏว่าเมื่อหยุดการควบคุมและถึงห้วงเวลา ปัญหาก็จะกลับมาอีก จากข้อห่วงใยดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งการให้กองทัพไทย โดยกองทัพบก และกองทัพอากาศ ร่วมปฏิบัติการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยในห้วงตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ในบางวันปรากฏค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

ดังนั้น กองทัพภาคที่ 3 จึงได้จัดตั้ง กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ขึ้น ณ ค่ายกาวิละ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันมุ่งแก้ไขปัญหาเชิงประจักษ์ รวมทั้งวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงที่ต้องเพ่งเล็ง เพื่อจัดกำลังและยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ ของแต่ละหน่วยงาน ให้เกิดความสอดคล้องอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งระดมแนวความคิดในการปฏิบัติของแต่ละภาคส่วน และได้จัดการประชุมฯ ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อให้ทราบถึงกรอบแนวความคิดในการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ ดังนี้

1. การปฏิบัติ โดยกำหนด Action Plan ที่ชัดเจน มุ่งเน้นการปฏิบัติเชิงรุก ต่อพื้นที่เกิดไฟป่า/หมอกควัน โดยการสนธิกำลังทุกภาคส่วนและเพิ่มเติมกำลังจากกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ประจำจังหวัดเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่มีปัญหา

2. บูรณาการองค์ความรู้ เครื่องมือ และอำนาจหน้าที่ ของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าควบคุมสถานการณ์ร่วมกัน

3. การตรวจสอบและติดตามข้อมูลการเผาป่าในพื้นที่ โดยหน่วยกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ประจำอำเภอ ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าดำเนินการ หากเกินขีดความสามารถของหน่วยประจำพื้นที่ กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า จะเป็นผู้วางแผนเข้าควบคุมสถานการณ์

4. ประสานแผนการปฏิบัติกับ กองทัพอากาศ ในการใช้ เครื่องบินทหารอากาศโปรยละอองน้ำในอากาศ ในย่านชุมชน เพื่อลดภาวะค่า PM 2.5 และหน่วยฝนหลวงภาคเหนือ อย่างใกล้ชิด เพื่อทำฝนเทียมในพื้นที่มีปัญหา

5. การติดตามสถานการณ์ และวิเคราะห์พื้นที่เป้าหมาย (จุด Hotspot) เพื่อกำหนด แผนการปฏิบัติให้ ฮ.ท.17 และ ฮ.จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าปฏิบัติในการทิ้งน้ำ และใช้ ฮ.ท.212 ส่งกำลังพลลงเข้าปฏิบัติ ในพื้นที่ยากลำบากห่างไกล และส่งมอบพื้นที่ต่อไป

6. ความเร่งด่วนแรกกำหนดเป็น จังหวัดลำปาง, จังหวัดลำพูน และ จังหวัดเชียงใหม่
สำหรับการปฏิบัติ Action Plan ของกองบัญชาการควบคุมสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ที่ได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ จนถึงปัจจุบัน มีการดำเนินงาน ที่ผ่านมา ดังนี้

1. การลาดตระเวนตรวจพื้นที่ด้วยอากาศยาน ด้วย ฮ.ท.212 และ ฮ.ท.72 เพื่อวิเคราะห์หาจุดกำเนิดควันไฟ เพื่อชี้เป้าให้ ฮ.MI 17 และฮ.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าดำเนินการดับไฟในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดลำปาง, จังหวัดลำพูน และจังหวัด
อุตรดิตถ์ จำนวน 18 เที่ยว (36 ชั่วโมงบิน)

2. การใช้อากาศยานในการทิ้งน้ำดับไฟ
– ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากกองทัพบก ฮ.ท.17 จำนวน 2 เครื่อง ดำเนินการทั้งหมด 98 เที่ยวบิน สามารถทิ้งน้ำในพื้นที่เกิดไฟป่า จำนวน 343,000 ลิตร

– ได้รับการสนับสนุนจาก บ.ทอ. บล.2 ก (BT ๖๗) จำนวน ๒ เครื่อง ดำเนินการทั้งหมด 44 เที่ยวบิน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในอากาศโดยดำเนินการทิ้งน้ำ จำนวน 120,000 ลิตร
– ได้รับการสนับสนุนอากาศยานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฮ.ท.1117 จำนวน 1 เครื่อง ดำเนินการทิ้งน้ำดับไฟทั้งสิ้น 124 เที่ยวบิน จำนวน 62,000 ลิตร

3. การทำเครื่องฟอกอากาศด้วยม่านน้ำ ได้จัดทำ ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ จนถึงปัจจุบัน วันละ 175,000 ลิตร 4 ชั่วโมงต่อวัน (ห้วงเวลา 10.00 – 14.00 นาฬิกา) ณ อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มมวลอากาศดี เข้าสู่แอ่งเชียงใหม่ โดยใช้เส้นชั้นความสูงของห้วยตึงเฒ่าซึ่งสูงกว่าตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นตัวส่งผ่านอากาศดี และใช้ลมฝ่ายใต้ที่พัดจากทิศใต้ที่พัดเอาฝุ่นละอองเสียผ่านม่านน้ำ และเปลี่ยนสภาพเป็นลมดีไหลเวียนเข้าสู่ตัวเมือง ส่วนฝุ่นละอองที่ผ่านม่านน้ำก็จะถูกละอองน้ำจับตัวเป็นตะกอนตกลงยังอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า ส่งผลให้มีมวลอากาศดีเข้าสู่แอ่งเชียงใหม่ได้มากขึ้น โดยการระดมรถดับเพลิงหรือรถบรรทุกน้ำจากหน่วยทหาร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ฉีดพ่นละอองน้ำขึ้นไปบนอากาศ เพื่อสร้างเป็นม่านน้ำ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นได้ดีขึ้น ทั้งนี้ หากแนวความคิดดังกล่าว นำไปใช้กับสถานที่ต่างๆ ที่มีแหล่งน้ำ โดยมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางสูงกว่าตัวเมืองเชียงใหม่ จะได้ผลเป็นอย่างดี และยังสามารถนำไปใช้ได้โดยอนุโลมในทุกจังหวัด

4. การจัดทำระบบป่าเปียก (Wet Fire Break) โดยเสนอแนวความคิดการจัดทำระบบป่าเปียกในพื้นที่วิกฤติ 6 พื้นที่ พระราชดำริป่าเปียก เกิดขึ้นเพื่อช่วยเป็นแนวในการป้องกันปัญหาของไฟป่าที่ทรงคิดค้นขึ้น โดยการนำเอาหลักการที่แสนง่ายดาย แต่ได้ประโยชน์อย่างมหาศาลมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายวิธีการประกอบกัน ซึ่งทางด้านของพระบาทสมเด็จ- พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ได้ทรงพระราชทานวิธีการก่อสร้าง “ป่าเปียก” เอาไว้ให้ประชาชนได้ทำตาม พระราชดำริป่าเปียก มี 6 วิธี ด้วยกัน ได้แก่

1) การจัดทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยที่มีการใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่าง ๆ ไปปลูกที่บริเวณตามแนวคลองต่าง ๆ

2) การสร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟของ ป่าเปียก โดยที่มีการอาศัยน้ำในชลประทานและน้ำฝนมาช่วย

3) การปลูกต้นไม้ที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว เพื่อใช้ครอบคลุมแนวร่องน้ำ ส่งผลทำให้บริเวณดังกล่าวนั้นเกิดความชุ่มชื้นอย่างทวีขึ้นและก็สามารถแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้างของร่องน้ำ ซึ่งจะส่งผลทำให้ต้นไม้งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าได้เป็นอย่างดี เพราะว่าไฟป่านั้นมักจะเกิดขึ้นง่ายหากป่าขาดความชุ่มชื้น

4) การสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นให้กับพื้นดิน หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Check Dam” เพื่อทำการปิดกั้นร่องน้ำ หรือ ลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อที่จะใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินเอาไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้ จะทำการ
ซึมเข้าไปสะสมในดิน ช่วยทำให้ดินเกิดเป็นความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น “ป่าเปียก”

5) การสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทาได้ แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมลงดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่าบนพื้นที่สูงในรูป “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็น “ป่าเปียก” ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย

6) ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้มากกว่าพืชอื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก

โดยได้คัดเลือกพื้นที่จะดำเนินการจัดทำระบบป่าเปียก จำนวน 6 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ดอยพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง, พื้นที่ดอยขะม้อ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน, พื้นที่ดอยเหลาหลวง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน, พื้นที่ดอยผาเมือง อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน, พื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่โถ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ผลการปฏิบัติตาม Action Plan ที่ผ่านมา สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหา ได้รวดเร็ว เพราะมี War room ในการวิเคราะห์และสั่งการ ตลอดจนความร่วมมือแบบบูรณาการจากทุกภาคส่วนราชการ ซึ่งสามารถชี้ให้เห็นว่า ห้วงเวลาที่ผ่านมา ในภาพรวมสามารถควบคุมการเกิดจุดความร้อน Hotspot ในพื้นที่ได้ อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ โดยสามารถดับไฟได้ 14,000 ไร่เศษ รวมทั้งการประกาศห้วงห้ามเผาเด็ดขาดในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ โดยการประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามมาตรการ และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อที่ไม่ให้เกิดจุดไฟไหม้ในทุกพื้นที่ รวมทั้งได้มีการประสานสื่อมวลชน ร่วมประชาสัมพันธ์ ติดตาม Action Plan และการปฏิบัติภารกิจได้โดยตรงจากกลุ่ม Line สั่งการ เพื่อให้ทราบแผนปฏิบัติการในทุกพื้นที่

ซึ่งหากเราร่วมกันโดยมีเป้าหมายคือ PUBLIC MIND และ PUBLIC HEALTY ยิ่งมาก จะทำให้การตรวจพบจุดความร้อน Hotspot ลดน้อยลง

ทั้งนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นไปอย่างยั่งยืน กองทัพภาคที่ 3 จึงได้มีการเสนอแนวความคิดในการนำระบบ SINGLE COMMAND มาใช้ ควบคุม สั่งการ ซึ่งต้องมีความรวดเร็ว ชัดเจน และดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ ซึ่งระบบ Single Command ต้องลงไปถึงระดับอำเภอ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ต้องให้การสนับสนุน และปฏิบัติตามแผนงานและข้อสั่งการอย่างเต็มกำลังความสามารถ อันประกอบด้วย 1) อำเภอ ต้องบริหารจัดการเชื้อเพลิงของตนเอง ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิผล โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ในภาพรวมของแต่ละจังหวัด 2) อำเภอ ควรเป็นผู้กำหนดห้วงห้ามเผาเด็ดขาด และ 3) ต้องมีการตั้ง War room ติดตามสถานการณ์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ เช่น การดับไฟให้เร็วที่สุด, การลาดตระเวนเฝ้าตรวจพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม

ซึ่งการวางแผนและปฏิบัติการในระบบดังกล่าว จะใช้หลัก 4 F 1 P (Find Fix Fight Follow) & Public Mind เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหา

Find : ค้นหาพื้นที่เกิดไฟป่า
Fix : จำกัดพื้นที่ไม่ให้ขยายเพิ่มมากขึ้น
Fight : ดำเนินการดับไฟป่า อากาศยานทิ้งน้ำดับไฟ, สนธิกำลังภาคพื้นดินดับไฟ
Follow : จัดกำลังควบคุมพื้นที่ และมีมาตรการป้องกันระยะยาว ไม่ให้เกิดไฟป่าขึ้นมาอีก พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนด้วยระบบป่าเปียก โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้น ทำให้เกิดน้ำขังอยู่ในพื้นที่ จนทำให้เกิดการแพร่ความชุ่มชื้น

Public Mind : จิตสาธารณะ โดยเริ่มการปลุกระดมให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก และตระหนักถึงผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากค่าฝุ่นละอองในอากาศ จนขยายตัวเป็นระบบไปจนถึงระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ยกตัวอย่างเช่น ที่จังหวัดเชียงราย เริ่มดำเนินการปลูกจิตสำนึก ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ทุกคนมีความสำนึกในการช่วยกันแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันอย่างจริงจัง ภายใต้ โมเดล 4+2 มีที่มาจาก 4 คือ ทหาร ฝ่ายปกครอง อุทยาน ป่าไม้ และ 2 คือ ประชาชน วิชาการ ซึ่งจังหวัดเชียงราย ได้ขอความร่วมมือ 3 มหาวิทยาลัยหลัก มาเป็นคณะกรรมการในการขับเคลื่อน ทำหน้าที่ในการสนับสนุนข้อมูลต่างๆ โดยมีการสร้างกลุ่มแอปพลิ เคชัน Line ในการติดตาม การเกิดจุด Hotspot และการเข้าดับไฟ

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันจะประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและถาวรได้นั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหา โดยจะต้องประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เกิดจิตสำนึกมีความรักแล