ข่าวกระแสสังคม

เร่งเช็คบิลทุจริตคุรุภัณฑ์ สพฐ!!!! “มงคลกิตติ์ ”เลขาปราบโกง จี้ หมอธี เร่งลงนามสอบสวนวินัยร้ายแรง ระดับ 10-11 สพฐ พร้อมย้ายไปสำนักนายกรัฐมนตรี กรณี ทุจริตคุรุภัณฑ์ สพฐ 279 ลบ ตามมาตรการปราบทุจริต คสช. หากประวิงเวลา โดน 157!!!


นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ กล่าวว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนการอาจจะล๊อกสเป็คครุภัณฑ์ฝึกทักษะมัธยมศึกษาตอนต้น สพฐ ประจำปีงบประมาณ 2561 และ อาจจะกระทำความผิดตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 เพราะตั้งแต่ช่วง ตุลาคม 2560 ปีที่แล้ว มีผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ไม่ทราบว่าใครไปเจรจากันที่ สนามกอร์ฟ แต่น่าจะตกลงกันช้า ทำให้มีการประวิงเวลา ทำให้ราชการเสียหาย ไม่เกิดการกระจายรายได้ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจภาพรวม เพราะงบประมาณดังกล่าวเป็นภาษีของพี่น้องประชาชนที่รัฐเก็บมา นักเรียนขาดโอกาสทางการศึกษาไม่มีวัสดุคุรุภัณฑ์ จึงมีปัญหาเรื่องการแจ้งจัดสรรจึงจัดสรรล่าช้าไปเมื่อ 26 ธันวาคม 2560 ทั้งๆที่ต้องแจ้งจัดสรรไม่เกิน 15 ตุลาคม 2560 ของทุกปี ข้อผิดพลาดของครุภัณฑ์ตัวนี้ คือ ไม่มีคำขอที่ครบถ้วนก่อนตั้งงบประมาณ ไม่มีการดำเนินการตั้งกรรมการสเป็คที่ส่วนกลางที่มีคุณภาพ ที่ต้องผ่านการประชาวิจารณ์ 2 รอบ ให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย กลุ่มบริษัทที่รับงานนำสเป็คเป็นชุดๆไปให้ ผอ.โรงเรียนดำเนินการให้เป็นไปตามสเป็คล๊อคนี้ มีการเช็คยอดการได้รับงานเป็นส่วนๆ ก่อนจะมีการแจ้งตัดโอนงบประมาณ ช่วงปลาย พฤษภาคม 2561 อาจจะมีการสั่งการทางไลด์ โดยผู้บริหารระดับสูง สพฐ บางคน ซึ่งงบประมาณตัวนี้ทาง รมว.ศธ.ได้สั่งการระงับมาตั้งแต่ต้นเพราะผิดขั้นตอนการของบประมาณซึ่งจะมีปัญหาในอนาคต แต่ผู้บริหารระดับสูง สพฐ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง รมว.ศธ. หรือ อาจจะมีเจตนาพิเศษหรือไม่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้ดำเนินการสำเร็จแล้ว ก็อาจจะเข้าข่ายการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ป.อาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง และ อาจจะเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 สำหรับผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นผู้สั่งการข้าราชการระดับล่าง ส่วนข้าราชการระดับล่างคงเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ถ้าไม่ทำตามก็อาจถูกกลั่นแกล้งได้

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าในการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการจัดซื้อครุภัณฑ์ฝึกทักษะมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) งบประมาณ 6 แสนบาทต่อโรงเรียน วงเงิน 279 ล้านบาท ปี 2560 ของเขตพื้นที่การศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ว่า ได้อ่านสำนวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้มอบหมายให้สำนักนิติการ สำนักงานปลัด ศธ.ชี้มูลความผิดว่าบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือทำความผิดเรื่องนี้ มีใครบ้าง ตามที่มีการสรุปสำนวนมา เพื่อดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยของข้าราชแต่ละระดับ (ซี) ซึ่งนิติกรต้องชี้มาว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยแต่ละระดับเป็นอำนาจของใคร เช่น ข้าราชการซี 10 เป็นอำนาจใคร และถ้าข้าราชการซี 11 ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยด้วย จะเป็นอำนาจของใคร


นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า “ผมเซ็นตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยแน่นอน แต่นิติกรต้องชี้มูลให้ชัดเจน ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนวินัยจะมีหลายชุด แล้วแต่ว่าเป็นข้าราชการระดับไหน เช่น ซี 10-11 ไม่ได้ทำตามนโยบาย แล้วเซ็นอนุมัติไป ต้องชี้แจงว่าสุดท้ายใครผิด ผิดอย่างไร และต้องดูอีกว่าซี 8-9 ซึ่งซี 11 ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย แต่ถ้าซี 11 ถูกตั้งกรรมการสอบฯ ด้วย จะเป็นใครที่มีอำนาจในการตั้งคณะกรรมการฯ ฉะนั้น เรื่องนี้ต้องทำให้ถูกกฎหมาย แต่ยืนยันว่าไม่มีมวยล้มแน่นอน ส่วนจะต้องส่งเรื่องมาให้ผมภายในสัปดาห์นี้หรือไม่ ผมไม่อยากเร่งเวลาการทำงานของนิติกร เพราะเรื่องนี้ถือว่าจบไปแล้ว เนื่องจากงบตกไปแล้ว” นพ.ธีระเกียรติ กล่าว
นายมงคลกิตติ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีใจพร้อมให้กำลังใจ ที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ปล่อยปละละเลยเรื่องแบบนี้ เร่งทำอย่างเต็มที่หลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องนี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบัน คณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงได้สรุปข้อเท็จจริงเพียงพอต่อการตั้งกรรมการสอบวินัย แล้วนั้น ซึ่งมีข้าราชการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ส่วนกลาง ระดับ 8-11 ส่วนภูมิภาคตั้งแต่ระดับ 7-9 จึงขอเรียนเสนอให้ดำเนินการตามมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อ 27 มี.ค.2561 ตามข้อเสนอ คสช. อย่างเคร่งครัด ดังนี้
1.การเซ็นคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยข้าราชการ ระดับ 11-10 สพฐ. เป็นอำนาจของ รมว.ศธ เป็นผู้ลงนามตามกฏหมาย และ ต้องลงนามโดยเร็วไม่ชักช้าหรือประวิงเวลา 2.ให้ย้ายหรือโอนข้าราชการ ระดับ 11-10 สพฐ.ออกนอกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในอัตรากำลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษในสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อป้องกันการใช้อำนาจให้คุณให้โทษหรือยุ่งเหยิงพยานหรือกรรมการสอบสวนทางวินัย เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ มติ คณะรัฐมนตรี เมื่อ 27 มี.ค.2561 ตามข้อเสนอของ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก และ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ข้อ 1 วรรค3.การเซ็นคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยข้าราชการ ระดับ 7-9 สพฐ. เป็นอำนาจของ เลขาธิการ สพฐ เป็นผู้ลงนามตามกฏหมาย แต่เหตุการณ์นี้มีเลขาธิการ สพฐ คนปัจจุบันโดนตั้งสอบวินัยด้วยนั้น จึงเป็น อำนาจของ เลขาธิการ สพฐ.คนใหม่
4.สำหรับข้าราชการระดับ 7-9 ที่จะต้องถูกตั้งสอบสวนทางวินัยนั้น ให้ย้ายออกจากตำแหน่งเดิม อาทิ ข้าราชการครู หรือ ผู้อำนวยการโรงเรียน,รองผู้อำนวยการโรงเรียน ให้ย้ายมาประจำที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ตนสังกัดหรือมาประจำที่ สพฐ.เพื่อเป็นการดำเนินนโยบายการปราบปรามการทุจริตในวงราชการอย่างเคร่งครัด ของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และ สร้างความน่าเชื่อถือแก่ประชาชนในภาพรวม

เครดิตภาพ แนวหน้า

เครดิตภาพ ประชาชาติธุรกิจ