ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวอุตรดิตถ์ ข่าวเด่น

คึกคักตลอดทั้งวัน นักท่องเที่ยวแห่ซื้อทุเรียนที่ตลาดกลางผลสินค้าโอทอปเทศบาลหัวดง อุตรดิตถ์

3 มิถุนายน 2567  บรรยากาศบริเวณตลาดกลางผลไม้และผลิตภัณฑ์ OTOP เทศบาลตำบลหัวดง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ มีบรรดานักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด ต่างเดินทางมาแห่ซื้อทุเรียนกันอย่างคึกคักตลอดทั้งวัน เพื่อนำไปรับประทานกันที่บ้านหรือซื้อเป็นของฝากให้กับญาติ ๆ โดยเฉพาะทุเรียนสายพันธ์ หลง-หลิน ลับแล ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มนักท่องเที่ยว

เพราะทุเรียนหลง-หลินลับแล ที่ใครๆเรียกกันว่า ทุเรียนเทวดาเลี้ยง ปลูกบนภูเขาสูง แห่งอำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ อาศัยปัจจัยทั้งน้ำ อากาศ และแร่ธาตุในดิน ทำรสสัมผัสและรสชาติโดดเด่นไม่เหมือนใคร จึงทำให้ได้รับความอร่อยไม่เหมือนใครในผลผลิตสมบูรณ์ รูปทรงสวย น่าซื้อ ทุเรียนหลงหลินลับแล เป็นทุเรียนที่ใช้เวลาปลูกเป็น 10 ปี ใช้เวลานานกว่าทุเรียนสายพันธุ์อื่น ต้องเริ่มจากการหาต้นตอทุเรียนพื้นเมืองที่เป็นต้นสมบูรณ์ จากนั้นจึงนำยอดของทุเรียนทั้ง 2 สายพันธุ์ มาเสียบยอด เวลาในการปลูกก็จะนานกว่าปกติ จึงจะได้ผลิต พื้นที่ปลูกบนภูเขา ที่มีเส้นทางสุดโหด ซึ่งจะใช้เวลาในการขึ้นไปดูแลและเก็บเกี่ยว

ทุเรียนพันธุ์ หลงล-หลินลับแล เป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียงมาก รสชาติอร่อยไม่เหมือนใคร เพราะปลูกบนภูเขาสูง (เรียกว่าภูเขากินได้) อากาศดี ดินดี และ มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตทุเรียนที่ได้มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว รสชาติหวานมันกำลังดี กลิ่นไม่แรง เนื้อเนียนละเอียด ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของทุเรียนเป็นอย่างมาก จนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เมื่อปี พ.ศ. 2561

สำหรับราคาทุเรียนสายพันธ์หลง-หลิน ลับแล อยู่ที่
ทุเรียนสายพันธ์หลงลับแล 150-500
ทุเรียนสายพันธ์หลงลับแล(เกรดA 350-500)
ทุเรียนสายพันธ์หลินลับแล 150-500
ทุเรียนสายพันธ์หลินลับแล (เกรดA 800)

สำหรับทุเรียนหลง-หลินลับแล เป็นสายพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองที่มีเฉพาะพื้นที่ อ.ลับแล และ เป็นทุเรียนที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งอร่อย กินแล้วไม่ทำให้เกิดอาการร้อนใน มีจำหน่ายบริเวณตลาดกลางผลไม้เทศบาลตำบลหัวดง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร จังหวัดอุตรดิตถ์ มีรายได้จากการขายผลผลิตทุเรียนมากขึ้น กระตุ้นเกษตรกรผลิตทุเรียนคุณภาพดี ตรงตามความต้องการของตลาดและ ผู้บริโภค และ รักษาชื่อเสียงทุเรียนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตลอดจนเพื่อให้มีนักท่องเที่ยวมาจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนอีกทางหนึ่ง

นาคา คะเลิศรัมย์  รายงาน