Uncategorized

สตูล // นายอารีย์ วงศ์อารยะ รองประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ นำเยาวชนโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ร่วมกิจกรรม จิตอาสาปลูกป่าชายเลนทดแทนป่าเสื่อมโทรม 19 ไร่ ในจังหวัดสตูล

สตูล // นายอารีย์ วงศ์อารยะ รองประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ นำเยาวชนโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ร่วมกิจกรรม จิตอาสาปลูกป่าชายเลนทดแทนป่าเสื่อมโทรม 19 ไร่ ในจังหวัดสตูล
วันนี้9ก.ย.61ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ค่ายลูกเสือปากบาง อ.ละงู จ.สตูล นายอารีย์ วงศ์อารยะ รองประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมรวมพลจิตอาสาและรวมพลเยาวชนโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” (เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน) โดยสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดขึ้น โดยในพิธีมีนายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นายกิตติ สุระคำแหง รองเลขาธิการ ศอ.บต. นายอารี ดิเรกกิจ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศอ.บต. หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ รวมถึงเยาวชนจากโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ และเยาวชนจากกองลูกสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา เข้าร่วมกว่า 1,000 คน และมีการออกบูธของเยาวชนจากจังหวัดต่าง ๆและจิตอาสาร่วมสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการปลูกป่าชายเลนทดแทนป่าที่สูญเสียจากการบุกรุกของนายทุน จำนวนพื้นที่ 19 ไร่ ซึ่งถือเป็นการปลูกทดแทนในพื้นทีเป็นวงกว้าง กิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้อุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย และกิจกรรมถอดบทเรียนส่งเสริมการศึกษาเร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ความั่นคง


ทั้งนี้ โครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ ขับเคลื่อนมาแล้วตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการมาแล้วจำนวน 33 รุ่น มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 8,000 คน และมีครอบครัวอุปถัมภ์กว่า 3,000 ครอบครัว ทำให้เยาวชนได้รับประสบการณ์และเข้าใจในการอยู่ร่วมกันของสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ได้ผ่านมติข้อตกลงร่วมกันระหว่างชมรมฯทั้ง 5 จังหวัด ให้ชมรมโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ จังหวัดสตูล เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมฯ จึงได้เสนอผ่าน ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดขึ้น ในรูปแบบกิจกรรมค่าย 3 วัน 2 คืน ภายใต้แรงบัลดาลใจจากประโยคที่ว่า “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” เพื่อพลักดันให้เยาวชนได้เรียนรู้และมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม มีภาวะผู้นำ มีคุณธรรมตามหลักค่านิยม 12 ประการ ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดมั่นและปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือ และสร้างทัศนคติที่ดีให้เยาวชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


นอกจากมีเยาวชนในโครงดารสานใจไทย สู่ใจใต้แล้ว ยังได้นำเยาวชนจากสถานศึกษาทั้งรัฐ เอกชน และสถาบันปอเนาะที่ถูกกำหนดให้เป็นสถานศึกษาเป้าหมาย จำนวน 90 แห่ง เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ด้วย โดยทุกกิจกรรมได้ปลูกฝั่งให้เยาวชนมีความรักในสถาบันชาติ รวมถึงส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดย ศอ.บต. ได้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องคุณภาพการศึกษา การเทิดทูนในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้กำหนดให้มีกิจกรรมรวมพลจิตอาสาและรวมพลเยาวชนโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” (เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน) เพื่อให้เป็นไปตามการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) สำนักงานการศึกษาเอกชน 5 จังหวัด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 15 และ 16
นิตยา แสงมณี

// ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล