ข่าวประชาสัมพันธ์

พช.ราชบุรี เร่งพัฒนาบุคลากร “ลับมีดให้คม” จัดติวเข้มพัฒนากรบรรจุใหม่ไม่เกิน 6 ปี ให้พร้อมขับเคลื่อนงาน ตามภารกิจให้มีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้การพัฒนาผ้าจกจากกลุ่มอาชีพณัฐธภาผ้าจก วันที่ 7-8 กันยายน 2566 เวลา 08.30 -16.30 น. ศูนย์ณัฐธภาผ้าจก หมู่ที่ 10 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี มอบหมายให้ นายปฏิพัทธ์ พวงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และนางสาวภัทรลดา สุริโย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน เป็นผู้ดูแลการอบรมตามโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านงานอัตลักษณ์ของกรมการพัฒนาชุมชน กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้การพัฒนาผ้าจกจากกลุ่มอาชีพณัฐธภาผ้าจก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ พัฒนากรที่บรรจุในปี พ.ศ. 2561-2566 จำนวน 22 คน และเจ้าหน้าที่โครงการ เข้าร่วมโครงการฯ โดยวันแรก

วันที่ 7 กันยายน 2566 เป็นการบรรยาย โดยได้รับเกียรติจาก นางณัฐธภา ทิพย์วัจนะ เจ้าของกลุ่มณัฐธภาผ้าจก รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ประเภทผ้าจก จากการประกวดสุดยอดผลงานผ้าลายพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ปี 2565 และนายชญทรรศ วิเศษศรี ผู้มีความรู้ความสามรถด้านการทอผ้า 1 ใน 10 สุดยอดทายาทศิลปินในโครงการ “ทายาทหัตถศิลป์” ปี 2566 และ 1 ใน 25 สุดยอดศิลปิน OTOP ทายาทหัตถจากกลุ่มแต้มตะกอ มีหลักสูตร ดังนี้1. ประเภทของเส้นไหม
2. การย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ
3. สาธิตการย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ
4. เทคนิคการทำบรรจุภัณฑ์ผ้าประกวด
โดยหลักสูตรวันที่สอง วันที่ 8 กันยายน 2566 ประกอบด้วย
1. กระบวนการจัดทำผ้าจกในการประกวดลายผ้าพระราชทานผ้าลายดอกรักราชกัญญา
2. การเขียนลายกราฟเพื่อเป็นแบบในการทอผ้าจก
3. เทคนิคการทอผ้าจก
4. การจัดบูธเพื่อให้สินค้ามีความน่าสนใจ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน และการหล่อหลอมอุดมการณ์ในงานพัฒนาชุมชน แก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นพัฒนากรบรรจุใหม่ (ปี 2561-2566)
2. เพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้ได้เรียนรู้รูปแบบกระบวนการสร้างความเข้มแข็งชุมชนตามแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของประชาชนผ่านกลุ่มอาชีพ และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และได้เรียนรู้แบบอย่างของการพัฒนาผู้ประกอบการ (OTOP) ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนในการศึกษาชุมชน การปฏิบัติงานกับชุมชนในพื้นที่เพื่อสร้างศรัทธาของประชาชน อันจะก่อให้เกิดความรักชุมชนและปลูกฝังอุดมการณ์ในงานพัฒนาชุมชน และเกิดบทเรียนกระบวนการจัดการความรู้ในงานพัฒนาชุมชน
4.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้เรียนรู้กระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นจังหวัดราชบุรี ประเภทผ้าตีนจกซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และเรียนรู้กระบวนการพัฒนาลายผ้าพระราชทานสร้างผลงานเข้าประกวดลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติร่วมกับผู้ประกอบการ OTOP
5. เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นจังหวัดราชบุรีโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านงานอัตลักษณ์ของกรมการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพพัฒนากรบรรจุใหม่
กิจกรรมที่ 2 การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนเรียนรู้รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งชุมชนตามแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของประชาชนผ่านกลุ่มสัมมาชีพ กลุ่มอาชีพ และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้การพัฒนาผ้าจกจากกลุ่มอาชีพณัฐธภาผ้าจก
กิจกรรมที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างโอกาสในการแข่งขันที่มีผลต่อความสำเร็จในให้แก่กลุ่มอาชีพ ณัฐธภาผ้าจก
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมถอดบทเรียนกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ตามแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของประชาชนผ่านกลุ่มอาชีพและโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
กิจกรรมที่ 6 การจะทำคลิปสรุปผลการดำเนินงาน

สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน