Uncategorized ข่าว ร้อยเอ็ด สถานที่ท่องเที่ยว

ร้อยเอ็ด… ท่องเที่ยววิถีชุมชน!!! พบและสัมผัสดินแดน”เผ่ากุลาเคยร้องให้”ชม(บ่อน้ำ มหัศจรรย์) แห่ง”เมืองนครจำปาขัน เจาะลึกโบราณสถานกู่ท้าวคันธนามกับทีมงานผู้สื่อข่าวท้องถิ่นบ้านนอกบ้านนอก(เดอะแมนคันทรี่…โลโซไซตี้กินแต่วิสกี้ขาวแกล้มเมล็ดถั่วลิสง)

ร้อยเอ็ด…

ท่องเที่ยววิถีชุมชน!!!
พบและสัมผัสดินแดน”เผ่ากุลาเคยร้องให้”ชม(บ่อน้ำ มหัศจรรย์) แห่ง”เมืองนครจำปาขัน เจาะลึกโบราณสถานกู่ท้าวคันธนามกับทีมงานผู้สื่อข่าวท้องถิ่นบ้านนอกบ้านนอก(เดอะแมนคันทรี่…โลโซไซตี้กินแต่วิสกี้ขาวแกล้มเมล็ดถั่วลิสง)

* วันนี้ 16./ก.ย./2562.นายดิเรก ธรรมฤทธิ์ พัฒนาการจังหวัดร้อยเอ็ด จัดท่องเที่ยววิถีชุมชน เมือง 101 หรือ “สาเกตุนคร” ในอดีต เมื่อ สองพันปีล่วงล้ำ สาเกตนครมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดสมัยพญาสุริยวงศา มีเมืองขึ้น 11 เมือง ดังตำนานกล่าวขานไว้ “สิบเอ็ดผักตู สิบแปดป่องเอี้ยม ซาวเก้าแม่คั่นได”

**08.00น-13.00 น.พิกัด…บ้านดงเย็น ม.4 ต.เด่นราษฎร์ อ.หนองฮี ชิมน้ำจืดนามว่า”บ่อพันขัน”ที่เมืองนครจำปาขันอดีตกาลผ่านมาแล้ว จนปัจจุบันเป็นบ่อน้ำมหัศจรรย์ 100 ขัน-พันขันตักทั้งวัน(ตักเท่าไรก็ไม่หมด)มีโอกาสพาครอบครัวเดินทางมาฟังตำนานจากปากไทบ้านเด้อ???

***14.00-18.00 น.พิกัด บ้านหนองบัวดอนต้อน ม.8 ต.โพนทราย อ.โพนทราย ตำบลโพนทรายซึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอสุวรรณภูมิต่อมาใน ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอโพนทราย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 เชิญท่องเที่ยวทุ่งกุลาร้องให้…ฟังจากเล่านิทาน กุลาเดินฝ่าทุ่ง ต่างหมายมุ่งข้ามทุ่งใหญ่ไปค้าขาย แต่หนทางเดินร้างแล้งพร้อมแห้งและไกล นั่งร้องให้ต้องย้อมแพ้” ชื่อทุ่งกุลาร้องให้ จึงได้แต่นั้นมา”จากนั้นพานางน้องเดินข้ามทุ่งกุลาพาศรีแก่นหล่า

****ชมกู่ท้าวคันธนาม(คชนาม)โบราณสถานกู่คันธนามมีทางหลวงหมายเข ๒๐๘๖ (สุวรรณภูมิ – ราษีไศล) ผ่านกลางเนินดินทราย เป็นโบราณสถานประเภท”อโรคยาศาล”หรือโรงพยาบาลโบราณวัตถุสำคัญที่พบ***ศิลาจารึก หินทรายสีน้ำตาล ***ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ย่อทรงกระโจม จารึกอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤต ด้านที่ 1-3 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด เป็นจารึกสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ สถานพยาบาล (อโรคยาศาล)ด้านที่ 2:(บรรทัดที่)17 – 18 จารึกดังนี้ส่วนบุรุษสองคนเป็นผู้หุงต้ม เป็นผู้ดูแลรักษาและจ่ายน้ำในที่นี้ เป็นผู้หาดอกไม้และหญ้าบูชายัญ และเป็นผู้ทำความสะอาดเทวสถาน(นักการภารโรง)(บรรทัดที่)19 – 20 บุรุษสองคนเป็นผู้จัดพลีทาน เป็นผู้ทำบัตรและจ่ายบัตรสลาก และเป็นผู้หาฟืนเพื่อต้มยา(ทะเบียน) บรรทัดที่:21 – 22 บุรุษทั้งสิบสี่คนเป็นผู้ดูแลรักษาโรงพยาบาล และเป็นผู้ส่งยาแก่แพทย์ จึงรวมเป็นยี่สิบสองคนบรรทัดที่:23 – 24 บรรดาบุคคลเหล่านั้น บุรุษหนึ่งและสตรีหนึ่ง แต่ละคนเป็นผู้ให้สถิติ ส่วนสตรีอีกหกคน เป็นผู้โม่เภษัชที่สันดาปด้วยน้ำ

ดำเนิน พรมไชยา/ภาพ ข่าว