Uncategorized ข่าว พะเยา เกษตรกร

พะเยา เพิ่มขีดความสามารถการเกษตรสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์

พะเยา เพิ่มขีดความสามารถการเกษตรสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา พัฒนาเพิ่มขีดในการแข่งขันการเกษตรระดับภูมิภาค” กิจกรรม ยกระดับวิสาหกิจเข้าสู่สังคมผู้ประกอบการ ที่สามารถพัฒนาสินค้าทางด้านเกษตรสู่กระบวนการยกระดับจากวิสาหกิจไปสู่สังคมผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง การเริ่มต้นธุรกิจของวิสาหกิจ

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสินค้าทางด้านการเกษตร และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน จำนวนหลากหลายรายการ “โครงการเพิ่มขีดในการแข่งขันการเกษตรระดับภูมิภาค” ถูกนำมาแสดงในงาน “โครงการเพิ่มขีดในการแข่งขันการเกษตรระดับภูมิภาค” ที่ทางอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยาและอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม กลุ่มวิสากิจชุมชน ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เพื่อการพัฒนา ด้านค่านิยม จิตวิญญาณและทักษะพื้นฐานของผู้ประกอบการ ให้มีความรู้พื้นฐานความรู้ในการทำธุรกิจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และก้าวสู่ผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง โดยผ่านเครือข่ายพันธมิตรห่วงโซ่มูลค่า

ซึ่งทางผู้จัดกิจกรรม “โครงการเพิ่มขีดในการแข่งขันการเกษตรระดับภูมิภาค” และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน) ซึ่งกิจกรรมยกระดับวิสาหกิจเข้าสู่สังคมผู้ประกอบการ แบ่งเป็น 5 กิจกรรมหลักๆคือ 1.การสัมมนาให้ความรู้เชิงปฎิบัติ 2.การอบรมยกระดับวิสาหกิจสู่สังคมผู้ประกอบการ 3.ศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตร 4.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบเชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 5.การแสดงสินค้าในระดับภูมิภาค ในครั้งนี้ ถือเป็นการจัดกิจกรรมครั้งที่ 1 การสัมมนาให้ความรู้เชิงปฎิบัติ ภายใต้หัวข้อ “การพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ผลิตวิสาหกิจชุมชน” โดยมีผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) และวิสาหกิจชุมชนจาก 4 จังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน) เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด ๒๐๐ ราย

นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวนั้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ของภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่น่าน) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ให้กับตนเองยั่งยืน และเพื่อบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนที่ยังไม่เข้าถึง ให้สามารถไปเป็นผู้ประกอบการได้ในอนาคต นอกจากนั้นยังเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าของวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 ให้เป็นที่รู้จัก โดยในการพัฒนาตรงนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณสี่เดือน ซึ่งเบื้องต้นได้นำผู้ประกอบการจาก 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน มาอบรมให้ความรู้เรื่องทั้ง 200 ท่าน แล้วก็จะมีการคัดสรรเหลือ 100 ท่าน จากนั้นก็จะนำไปศึกษาดูงานโดยนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง และสิ่งสำคัญอีกอันหนึ่งคือผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกก็จะเหลือ 10 ราย ซึ่งเราจะมีการพัฒนาสินค้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยี สิ่งที่คาดหวังตอนนี้เราก็อยากจะเห็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนรายเล็กๆของเราสามารถที่จะก้าวไปข้างหน้าได้

สัมภาษณ์…นายบุญอุ้ม วงศ์บุตร อุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา