Uncategorized

โรงเรียนบ้านหนองคู จับมือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดยโสธร ปลูกพืชผักอินทรีย์ พร้อมเลี้ยงไก่ไข่,กบ และเลี้ยงปลา ใช้เป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน ที่เหลือจำหน่ายให้นักเรียนและชุมชน

โรงเรียนบ้านหนองคู จับมือกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดยโสธร ปลูกพืชผักอินทรีย์ พร้อมเลี้ยงไก่ไข่,กบ และเลี้ยงปลา ใช้เป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน ที่เหลือจำหน่ายให้นักเรียนและชุมชน

ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เด็กได้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ ส่งผลให้อาหารปลอดภัย ตลอดจนสร้างรายได้เป็นทุนหมุนเวียนของโครงการ อีกด้วย
นายพินิจ คาดพันโน ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านหนองคู (อินทร์ประชาคาร) ตำบลหนองคู อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร พร้อมด้วยนายทัศนัย ขันเงิน นายก อบต.หนองคู, และนายถวิล สายคำวงษ์ กำนันตำบลหนองคู ได้เดินเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านหนองคู หลังได้รับงบประมาณจาก กอ.รมน.หวัดยโสธร จำนวนหนึ่งมาดำเนินการตามโครงการอาหารกลางวันปลอดภัยในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กประจำตำบล ซึ่งได้มาซื้อเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ อาทิ ผักบุ้ง ผักชะอม พริก ข่า ตะไคร่ หอม มะนาว มะเขือ ถั่วผักยาว ฯลฯและพันธุ์ปลาดุกนับพันตัว,พันกบ ตลอดจน พันธุ์ไก่ไข่เกือบร้อยตัว ซึ่งได้แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกพืชผัก และแบ่งขุดบ่อและสร้างโรงเรือน ปัจจุบัน ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่ายแล้ว ส่วนหนึ่งได้นำมาประกอบอาหารกลางวันให้กับโรงเรียน ที่เหลือนำจำหน่ายให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนในพื้นที่ ทั้งนี้ได้นำรายได้ไปเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อพันธุ์พืชผักและพันธุ์สัตว์หมุนเวียนของโครงการ ต่อไป ทางด้านนายถวิล สายคำวงษ์ กำนันตำบลหนองคู กล่าวถึงเรื่องน้ำที่มาใช้โครงการอาหารกลางวันปลอดภัยในโรงเรียน ว่า ขณะนี้ทาง กอ.รมน.ยโสธร ได้ติดตั้งแผงโซล่าแชล(พลังงานแสงอาทิตย์)ที่โรงงเรียน เพื่อสูบน้ำมาใช้ในโรงเรียนเกษตร พร้อมกันนี้ทางชุมชนในละแวกใกล้เคียงยังได้ใช้น้ำไปใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ และในด้านอุปโภคและบริโภค
ขณะที่ นายพินิจ คาดพันโน ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านหนองคู (อินทร์ประชาคาร) กล่าวว่า แน่นอนการพัฒนาเด็กถือเป็นวาระของโรงเรียนที่ต้องมีการจัดการเพื่อไปสู่เป้าหมายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า โดยเฉพาะในเรื่องอาหารปลอดภัย ทั้งนี้ขอบคุณทาง กอ.รมน.จังหวัดยโสธร ที่ได้นำงบประมาณมาให้โรงเรียน นำมาบริหารจัดการ นักเรียนที่ได้ศึกษาเรียนรู้ได้ฝึกปฎิบัติจริงสามารถนำไปต่อยอดที่บ้าน ส่งผลให้ทางชุมชนได้มีวัตถุดิบที่เป็นเกษตรอินทรีย์ พร้อมทั้งได้ซื้อหาในราคาถูก ซึ่งเป็นอาหารปลอดภัย ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อีกด้วย

………………………….
นายอุทัย มานาดี / โทร.098-1194212