ข่าวเชียงใหม่

องคมนตรี เปิดและส่งมอบศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพน้ำพุร้อนสันกำแพง

องคมนตรี เปิดและส่งมอบศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพน้ำพุร้อนสันกำแพง

เมื่อวันที่ 31 ส.ค.2561 เวลา 10.30 น. ที่กิจกรรมน้ำพุร้อนสันกำแพง อำเภอแม่ออน ตามพระราชดำริจ.เชียงใหม่ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี พร้อมนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่,พลตำรวจตรีสรายุทธ สงวนโภคัย ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ และนางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารจัดการกิจการน้ำพุร้อนสันกำแพง และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัธพร ไชยญาติ ผอ.โครงการผลิตไฟฟ้าร่วมกับความเย็นและความร้อนแบบบันไดจากพลังงานความร้อนใต้ภิภพ ในประเทศไทย วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และนางสารภี ศิลา ผู้จัดการกิจการน้ำพุร้อนสันกำแพง และนายพงษ์ศักดิ เพชรคงแก้ว ปลัดอาวุโส อ.แม่ออน พร้อมข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิธีเปิดและส่งมอบศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพ

สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าร่วมกับความเย็นและความร้อนแบบบันไดจากพลังงานความร้อนใต้ภิภพ ในประเทศไทย วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน จำนวน 4,700,000 บาท (สี่ล้านเจ็ดแสนบาท) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าโดยวัฏจักรแรงคินสารอินทรี รวมกับการผลิตความเย็นแบบดูดกลืน (absorptoin chiller) และใช้ประโยชน์ด้านความร้อนโดยห้องอบแห้งแบบรวมศูนย์ สามารถอบผลผลิตทางการเกษตรได้ รวมทั้งรองรับกิจการด้านการท่องเที่ยว เช่นการปรับอุณภมิของน้ำให้ร้อนหรือเย็นจากน้ำพุร้อน สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการผลิตไฟฟ้าร่วมกับความเย็นและความร้อน มีการติดตั้งระบบตรวจวัดและการแสดงผลการทำงานแบบอัจฉริยะของเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สามารถดูข้อมูลผ่านทาง Web service ต่างๆ รวมทั้งการเข้าถึงข้อมูลแบบสาธารณะเพื่อขอรับการ Qr-Code เพื่อ login เข้าสู่หน้าแสดงผลของข้อมูล และประเมินความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลของประเทศ โดยระยะเวลาที่ดำเนินงาน 1 ปี

ประโยชน์ที่ได้คือ ได้ต้นแบบระบบผลิตไฟฟ้าโดยวัฏจักรแรงคินสารอินทรีขนาดเล็ก ต้นแบบระบบการทำความเย็นแบบดูดกลื่น ต้นแบบห้องอบแห่งแบบศูนย์รวม ต้นแบบระบบตรวจวัดและแสดงผลการทำงานแบบอัจฉริยะ ทราบถึงแนวทางการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน และการลดการใช้พลังงานฟอสซิล

ในประเทศไทยมีแหล่งน้ำพุร้อนจำนวนมีมากกว่า 100 แห่ง น้ำพุร้อนสันกำแพง มีความร้อนใต้พิภพที่สูงถึง 105 องศาเซลเซียส สามารถนำไปใช้พลังงานความร้อนทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงานความร้อนใต้พิภพที่สร้างขึ้นถือว่าเป็นความร่วมมือที่ดีระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชนที่จะสามารถต่อยอดขยายผลไปสู่การพัฒนาที่เอื้อประโยชน์ต่อสังคมในระดับกว้าง และเป็นสมบัติของชาวบ้านในพื้นที่ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ตามพระราชดำริ และเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อพัฒนาวิทยาการด้านพลังงานทดแทนที่มีคุณค่าและสร้างปัญญาต่อยอดสู่สังคมต่อไป.