นศ.โปลิฯ พัฒนาถังขยะคัดแยกแบบอัตโนมัติใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จากโซลล่าเซลล์ เป็นเครื่องต้นแบบมาทดลองใช้วันแรก
พัฒนาจากอัตโมมือ สู่อัตโนมัติ 2 นศ.สาขาพาณิชย์ และ 1 นศ. สาขาเทคโน ช่วยกันพัฒนาถังขยะคัดแยกจากพลังแสงอาทิตย์ หลังจากพัฒนาต่อยอด จากถังขยะอัตโนมือ สู่คัดแยกอัตโนมัติ ทดลองใช้วันแรก สามารถคัดแยกขยะพลาสติกจากขวดน้ำ ระบบการคัดแยก และระบบแอพพลิเคชั่น นำเข้ามาช่วยสะสมแต้มรับของรางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจ
ผู้สื่อข่าว จะพาไปชมอีกหนึ่งความสามารถของน้องนักศึกษา จากวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำถังขยะคัดแยกแบบอัตโนมัติใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จากโซลล่าเซลล์ เป็นเครื่องต้นแบบมาทดลองใช้วันแรก เป็นผลงานของนายวันชัย นายพัน นักศึกษาสาขาการบัญชี นางสาวรุจิรา ไพรวนาวัลย์นักศึกษาสาขาการตลาด ชั้นปวส.ปีที่ 2 และนายหมิว ไม่มีนามสกุล นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปวส.ชั้นปีที่ 1 โดยมีอาจารย์สุรชัย เจริญศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของโครงการ ซึ่งน้องทั้ง 2 คน จากพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ ที่ได้คิดค้นถังขยะบู้บี้ โดยเป็นถังธรรมดาใช้การคัดแยกจากอัตโนมือเป็นหลัก ซึ่งได้ส่งเข้าประกวดผลงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส หลังจากในต้นปีที่ผ่านทางสสส. ต้องการต่อยอดพัฒนาถังขยะบู้บี้อัน จึงได้มาหารือกันร่วมกับน้องหมิว นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ปวส.ชั้นปีที่ 1 ที่รู้จักเข้ามาชวยกันคิดพัฒนาต่อยอดจนได้ถังขยะชิ้นใหม่ ที่จะระบบเซ็นเซอร์เข้ามาคัดแยก จัดการโปรแกรมลงไป พร้อมใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์ เข้ามาในช้ประหยัดพลังงาน สามารถนำไปติดตั้งที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมนำแอพพลิเคชั่นของไลน์ เข้ามาใช้เชื่อม ใช้การสแกนจากหน้าจอ รอการทำงานของระบบสัก 10 วินาที ขั้นตอนต่างๆ ก็แล้วเสร็จ ตรวจสอบสถานที่ทิ้งขยะ การสะสมคะแนน คิดคำนวนคะแนนที่ได้ จากการนำขยะมาทิ้ง เพื่อนำมาแลกของรางวัล ในการสร้างแรงจูงใจจากการสะสมคะแนน ใช้เวลา 2 เดือนเศษ ซึ่งวันนี้ได้นำมาทดลองใช้งานระบบต่างๆ
อย่างไรก็ตามในตอนนี้ อยู่ช่วงทดลองระบบความเสถียรในการใช้จริง เพื่อต่อยอดไปสู่กระบวนใช้งานได้จริงในอนาคต โดยโครงการนี้มุ่งหวังให้สร้างแรงจูงใจคนรักษ์สิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ ก่อนจะทิ้งลงไป จะทำให้การกำจัดขยะของเสียต่างๆ เป็นการใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ จากนี้หากเสร็จสมบูรณ์จากถังขยะต้นแบบจะได้ช่วยการระบบจัดการขยะที่ดีต่อไป.