ข่าวแพร่

เทศบาลตำบลป่าแมต จัดการประชุม “ถอดบทเรียน”

แพร่///

เทศบาลตำบลป่าแมต จัดการประชุม “ถอดบทเรียน” กรณีน้ำท่วม 3 หมู่บ้านฯ หาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ยกระดับแการแก้ปัญหาเป็น “ป่าแมตโมเดล”

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 ณ ท้องประชุมเทศบาลตำบลป่าแมต ชั้น 2 อาคารป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลป่าแมต นายสมศักดิ์ สุขประเสริฐ นายอำเภอเมืองแพร่ เป็นประธานการประชุมถอดบทเรียนกรณีน้ำท่วม 3 หมู่บ้านของตำบลปาแมต คือ บ้านต้นห้า หมู่ 8 บ้านมณีวรรณ หมู่ 4 ,หมู่ 11 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยมี นายสุภวัฒน์ ศุภศิริ นายกเทศมนตรีตำบลป่าแมต และในนามประธานคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) นำเสนอวิสัยทัศน์ปัญหาอุทกภัย แลกความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐาน

โดยมี นายวีระศักดิ์ ทองพลาย, นายศรัณยู ปัญญารชุน รองนายกเทศมนตรีตำบลป่าแมต ร้อยตำรวจเอกประยูร รัตนบุปผา เลขานายก ,พันตำรวจเอกนคร ขวานเพชร ที่ปรึกษานายอดิเทพ สีทา ประธานสภานายชัชนันท์ กุลณา รองประธานสภา,นางสาวธัญญาภรณ์ วงศ์ทิพย์ เลขานุการ สมาชิกสภา ว่าที่ร้อยตรีฤทธิเดช ศรีชุม รองปลัดเทศบาลตำบลป่าแมต พร้อมผู้อำนวยการกองต่างๆ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลป่าแมต ฝ่ายปกครองตำบลป่าแมต โดยการนำของ นายวีระชัย กุยคำกำนันตำบลป่าแมตฯและตัวแทนผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก หมู่ 8 บ้านต้นห้า หมู่ 4 หมู่ 11 บ้านมณีวรรณ ตำบลป่าแมตฯ

สำหรับตัวแทนและหน่วยงานภาคราชการในจังหวัดแพร่ ประกอบด้วย นายสายัณห์ กาวีวงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและสาธารณภัยจังหวัดแพร่
นายพฤทธิพงศ์ ทัศน์อัญชลีกุลผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานสารสนเทศน้ำและการเกษตรองค์กรมหาชน,นายอัสนี จารุชาต ผู้อำนวยการโครงการชลประทานแพร่, นายณรงค์ฤทธิ์ศิริกันตะ นายธีระ นาคฉ่ำโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม นายนวฤทธิ์ ทองเจริญพร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาคที่ 1 ,นายอานนท์สานะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการฯ พร้อมเจ้าหน้าที่ฯ โดยได้รับมอบหมายจาก นายวิวัฒน์ มณีอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาคที่ 1 ทั้งนี้ โดยการประสานงานของ นางวชิรญาณ์ สุนทร ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานลุ่มน้ำยม , นางมยุรี ยาวิชัย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่, นายสามารถ วงค์ฉายา รองประธานคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC เข้าร่วมประชุม

นายสุภวัฒน์ ศุภศิริ นายกเทศมนตรีตำบลป่าแมต กล่าวว่า ตามที่เกิดอุทกภัย บ้านต้นห้า หมู่ที่ 8 และบ้านมณีวรรณ หมู่ที่ 4 ,11 ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในวันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมานั้น ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างในพื้นที่ตำบลป่าแมต ทั้งทรัพย์สินของทางราชการ ทรัพย์สินของราษฎร และพืชผลทางการเกษตร ซึ่งอุทกภัยดังกล่าว เกิดจาก
การที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้บริมาณน้ำฝนสะสมในพื้นที่ตำบลปาแมตและพื้นที่ใกล้เคียง ไหลมาสมทบรวมกัน ทำให้
เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เทศบาลตำบลบำแมต จะต้องขอระดมความคิดเห็นจากทุกท่านฯ เพื่อนำมาถอดบทเรียน ทบทวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยในครั้งนี้ พร้อมนำเสนอวีดิทัศน์ซึ่งเป็นความเสียหายของพี่น้องของประชาชน ส่วนมากเป็นบ้านเรือนราษฎรและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ในช่วงบ่ายมีแบ่งกลุ่ม เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชน 2 กลุ่ม เพื่อสรุปแนวทางการถอดบทเรียน กลุ่มบ้านต้นห้า หมู่ 8 และกลุ่มบ้านมณีวรรณ หมู่ 4 ,หมู่ 11 ซึ่งอุปสรรคปัญหาทั้งหมดได้รับข้อมูลจากตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากหมู่ 8 บ้านต้นห้า หมู่ 4 หมู่ 11 มณีวรรณ ตำบลป่าแมต

ที่ประชุมมีการสรุปการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้กำหนดชื่อเป็น”ป่าแมตโมเดล” เพื่อให้แก้ปัญหาเป็นต้นแบบของพื้นที่ต่างๆจังหวัดแพร่ ซึ่งในอนาคตถ้าตรงนี้มีความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยดี ก็จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกพื้นที่

สำหรับหน่วยงานที่ต้องเข้ามาช่วยร่วมในการแก้ไขปัญหา คือโครงการชลประทานแพร่ ,ทางหลวงแพร่ ทางหลวงชนบท, ป่าไม้ และเทศบาลตำบลป่าแมต โดยมอบหมายให้
นายนวฤทธิ์ ทองเจริญพร นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาคที่ 1 พร้อมทีมงาน ฯในการเขียนแผนในการดำเนินงานและจะมีการประชุมคณะทำงานในครั้งต่อไป

ญาณัจฉรา โชติถนอมกิจ
ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ

แพร่….รายงาน