ข่าวรัฐสภา

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ และนายวรพล โสคติยานุรักษ์ ในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาท่ียั่งยืน การคลังและการค้า เข้าร่วมการอภิปรายย่อย (Panel Discussion) ในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลังและการค้า ในหัวข้อ “การผลักดันการปฏิบัติตามข้อมติของสหภาพรัฐสภา หัวข้อ การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานหมุนเวียน”

วันที่ 17 ตุลาคม 2561 เวลา 16.30-18.30 นาฬิกา ณ ห้องหมายเลข 3 และ 4 ศูนย์ประชุมนานาชาติ CICG นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ และนายวรพล โสคติยานุรักษ์ ในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาท่ียั่งยืน การคลังและการค้า เข้าร่วมการอภิปรายย่อย (Panel Discussion) ในการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน การคลังและการค้า ในหัวข้อ “การผลักดันการปฏิบัติตามข้อมติของสหภาพรัฐสภา หัวข้อ การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานหมุนเวียน” (Engaging the private sector in implementing the SDGs, especially on renewable energy) โดยได้กล่าวว่า “ประเทศไทยมีความก้าวหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติตามข้อมติของสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในด้านพลังงานหมุนเวียน ประเทศไทยดำเนินการส่งเสริมพลังงานที่ยั่งยืนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการจัดทำแผนบูรณาการพลังงานระยะยาวของประเทศไทย (2558-2579) ซึ่งมุ่งให้ประเทศไทยใช้แหล่งพลังงานที่มีความหลากหลาย โดยเน้นการใช้แหล่งพลังงานในประเทศ พัฒนาประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการพลังงาน โดยแสวงหาแนวทางเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกจากร้อยละ 13.83 ร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2579 และคาดหวังว่าภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ตามข้อมติฯ ข้อที่ 1 หน้า 2 ประเทศไทยได้ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญของสังคม 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักเรียน นักศึกษา และ (2) กลุ่มองค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และให้ความรู้เกี่ยวกับการนำขยะชุมชนมาผลิตพลังงาน
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความคืบหน้าในการนำข้อมติฯ ข้อที่ 6 หน้า 3 ไปปฏิบัติ โดยมีการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทนในกลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นสีเขียวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พลังงานชีวมวล พลังงานขยะ ก๊าซชีวภาพ ภายใต้แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยการขับเคลื่อนภายใต้แผนพลังงานทดแทนฯ (AEDP 2015) มีการส่งเสริมให้เอกชนผลิตพลังงานดังกล่าวและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั้งในส่วนของเอทานอลและไบโอดีเซลด้วย เราต่างเห็นพ้องร่วมกันว่าสมาชิกรัฐสภามีบทบาทที่สำคัญในการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน ปัจจุบันมีร่างพระราชบัญญัติพลังงานทดแทน พ.ศ. …. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีการผลิตและการจัดหาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดการสัมมนาหัวข้อ “พลังงานไทย ทำอย่างไรให้มั่นคง ยั่งยืน” ซึ่งมุ่งเน้นบทบาทของสมาชิกรัฐสภาในการสร้างความมั่นใจเรื่องพลังงานยั่งยืนเพื่อคนไทย และเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน”

 

ภาพ/ข่าว กฤษรชฏะชญตว์ กฤษพิพัฒนโภคิน ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน

Comments are closed.