Reporter&Thai Army

พ.อ.สืบสกุล บัวระวงค์ รอง ผอ.รมน.จังหวัด ช.ม. (ท.) มอบหมายให้ ร.อ.วรงกรณ์ ชุติมา กอ.รมน.จังหวัด​ ช.ม. เข้าร่วมประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีล้านนา และคณะทำงานสำรวจการครอบครองที่ดิน ระดับพื้นที่

เมื่อ ๒๐๑๓๐๐ พ.ย.๖๑ พ.อ.สืบสกุล บัวระวงค์ รอง ผอ.รมน.จังหวัด ช.ม. (ท.) มอบหมายให้ ร.อ.วรงกรณ์ ชุติมา กอ.รมน.จังหวัด​ ช.ม. เข้าร่วมประชุมแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีล้านนา และคณะทำงานสำรวจการครอบครองที่ดิน ระดับพื้นที่ ซึ่งมี นายวสันต์ มหานาม ปลัด อ.เชียงดาว เป็นประธาน ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงดาว จว.ชม. โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น ๒๓ คน

 

สรุปประเด็นการประชุมดังนี้
๑).ตามคำสั่งจังหวัด ช.ม. ที่ ๔๒๙๒/๒๕๖๑ ลง ๑๒ ต.ค.๖๑ เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการสำรวจการครอบครองที่ดิน สำนักบริหารษ์พื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ และคำสั่งจังหวัด ช.ม. ที่ ๔๒๙๓/๒๕๖๑ ลง ๑๒ ต.ค.๖๑ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานสำรวจการถือครองที่ดิน ระดับพื้นที่ จึงต้องมีการจัดประชุมเพื่อชี้แจงบทบาทและอำนาจหน้าที่ รวมถึงชี้แจงแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ดินตามมติ ครม. ลง ๓๐ มิ.ย.๖๑ และคำสั่ง คสช. ที่ ๖๖/๕๗
๒).อุทยานแห่งชาติศรีล้านนา มีพื้นที่เป้าหมายในการตรวจสอบ ๑๐ หมู่บ้าน เนื้อที่ ๑๗,๕๐๗.๖๙ ไร่
๓).การดำเนินการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคใดๆในพื้นที่ ต้องได้รับการอนุญาตจากเขตอุทยาน, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน
๔).ในที่ประชุมกำหนดให้ผู้ใหญ่บ้าน เสนอชื่อตัวแทนภาคประชาชน ตำบลละ ๑ คนเพื่อให้คณะกรรมการฯ ทำการแต่งตั้ง
๕).คณะกรรมการฯ ต้องพิจารณาประกอบหลักฐานอื่นๆอย่างละเอียด ทั้งเรื่องการมีที่ดินทำกินจำนวนรวมที่กำหนด การมีที่ดินหลายแปลง หรือการอยู่อาศัยนอกพื้นที่ เช่น กรณีชนเผ่าปกากะญอ อาจมีการละทิ้งพื้นที่ทำประโยชน์ และไม่อยู่อาศัยเป็นเวลานาน ตามขนบธรรมเนียมในการทำเกษตรกรรมของชนเผ่า ซึ่งอาจเกิดปัญหาในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
๖).ตัวแทนประชาชนได้สอบถามถึงกรณีที่ มีการระบุไว้ใน ร่าง เงื่อนไขการอยู่อาศัยหรือทำกินภายในเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ ในข้อ ๕ ที่ว่า ให้ปลูกไม้ยืนต้นประจำถิ่นเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ๕๐ต้น/ไร่ ซึ่งไม่น่าจะทำได้จริง เพราะจะทำให้เหลือพื้นที่เพาะปลูกน้อยมาก ที่ประชุมจึงแจ้งแก่ประชาชนว่า ในตอนนี้ยังอยู่ในขั้นของการร่าง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ หากมีข้อขัดข้องใดๆให้รวบรวมเพื่อนำมาเสนอในที่ประชุมย่อยครั้งต่อๆไป เพื่อที่ประชุมจะได้รวบรวมข้อมูลให้ส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามความเหมาะสม

ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยครับ