Uncategorized

พาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด”เปิด”การสัมมนาการส่งเสริมสร้างกระแส เพิ่มการตระหนักรู้คุณประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์และสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ทุ่งกุลาร้องไห้ กว่า 9 แสนไร่

พาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด”เปิด”การสัมมนาการส่งเสริมสร้างกระแส เพิ่มการตระหนักรู้คุณประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์และสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ทุ่งกุลาร้องไห้ กว่า 9 แสนไร่

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 8 มกราคม 2562 นายทวี จงประเสริฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดการสัมมนาการส่งเสริมสร้างกระแสเพิ่มตระหนักรู้คุณประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์และสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI ที่ห้องประดับเดือน โรงแรมเพชรรัตน์การ์เด้น จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการบูรณาการของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการในครั้งนี้นางอุตสา จิตกระเสริม ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ด ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่จะเป็นมหานครข้าวหอมมะลิ ท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสาน และสุขภาพดี ภายในปี 2565 จากเป้าหมายดังกล่าวจะเห็นว่าจังหวัดได้ให้ความสำคัญกับข้าวหอมมะลิเป็นลำดับต้น เนื่องจากจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ชั้นดีที่มีคุณประโยชน์สูง และได้รับการยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ เมล็ดข้าวมีความ เรียว ขาว นุ่ม และมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งหอมกว่าแหล่งผลิตอื่นๆ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ GI ของประเทศไทยและในสหภาพยุโรป โดยเป็นสินค้าจากอาเซียนชิ้นแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกลุ่มสหภาพยุโรป โดยจังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 986,807 ไร่

 

อยู่ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอโพนทราย และอำเภอหนองฮี จังหวัดจึงได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาข้าวหอมมะลิให้ได้คุณภาพมีมาตรฐานและการบริโภคที่ปลอดภัยจากสารพิษ สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ และยกระดับราคาให้สูงขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น มีความมั่นคงและยั่งยืน พร้อมที่จะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ในการร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ดให้เป็น “มหานครข้าวหอมมะลิ” โดยการที่ทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา
การอบรมในครั้งนี้ กำหนดการอบรมระหว่างวันที่ 8 – 9 มกราคม 2561 มีเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ผู้เพาะปลูกซึ่งถือเป็นฟั่นเฟืองสำคัญที่สุด ในการจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 150 คน

//////////////////////////+
ศรีไพร ทูลธรรม ข่าว
คมกฤช พวงศรีเคน ภาพ
อำนวย ระดาบุตร บกข่าว
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด