ข่าวแพร่

แพร่ “หมอชลน่าน” ลงตรวจความพร้อม โครงการบัตรประชาชนใบเดียว ยันไม่กระทบภารกิจโอน รพ.สต. เงินดิจิตอล 1 หมื่นบาท คาดเริ่ม พ.ค.67

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ลงพื้นที่จังหวัดแพร่ ตรวจเยี่ยมเตรียมความพร้อมโครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ ยืนยันโครงการนี้ไม่กระทบภารกิจถ่ายโอน รพ.สต.ให้ท้องถิ่น มีความพร้อมสามารถโอนได้ตลอดเวลา ส่วนเงิน ดิจิตอล 1 หมื่นบาท คาด เริ่มโครงการในเดือน พฤษภาคม 2567

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 เวลา 11.00-12.00 น. นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางมา ตรวจเยี่ยมติดตามความก้าวหน้าการดำเนิน “โครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่” และนโยบาย Quick Win ณ โรงพยาบาลแพร่ จังหวัดแพร่ มี นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ


นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงษ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้มาร่วมการตรวจติดตามการ ดำเนิน “โครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ ณ จังหวัดแพร่ ในวันนี้ ขอเรียนว่ากระทรวงสาธารณสุข ได้มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและสาธารณสุขให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันมาอย่างต่อเนื่อง โดยนโยบายกระทรวง สาธารณสุข พ.ศ. 2567 ได้มีการพัฒนานโยบายเร่งด่วน 13 ประเด็น และมุ่งเน้นให้เกิดการลง มือปฏิบัติจริง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ตามกรอบ Quick Win 100 วัน

หนึ่งใน 13 นโยบายนี้ คือโครงการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการสุขภาพด้วยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย มาใช้ ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพที่จำเป็นของผู้รับบริการได้ในหน่วยบริการทุกระดับที่ เข้าร่วมโครงการ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวประชาชนและหน่วย บริการ เพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพิ่มความปลอดภัยในการรับบริการ โดยจังหวัดแพร่ เป็นหนึ่ง ใน 4จังหวัดนำร่อง ที่ดำเนินงานและพัฒนาระบบการบริการตามนโยบายสำคัญนี้ ซึ่งจะช่วยให้เกิด การบริการสาธารณสุขในพื้นที่อย่างไร้รอยต่อ ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มความสะดวกในการรับบริการ

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วันนี้มาตรวจเยี่ยมเพื่อเตรียมความพร้อมโครงการการยกระดับบัตร 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นบัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ ตามโครงการของรัฐบาล และนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 8 มกราคม 2567 เราจะเปิดที่ 4 จังหวัดนำร่องบัตรประชาชนใบเดียว ประชาชนก็สามารถเข้าไปดูแลรักษาสุขภาพได้ทุกเครือข่ายทั้งในและนอกของสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงทบวงกรมอื่น คลินิก ร้านยา ห้องตรวจชันสูตรภาคเอกชนเข้ารับบริการได้หมด ในจังหวัดแพร่ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลแพร่ โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง รวมทั้งสถานีอนามัย รพ.สต. คลินิกเอกชน ร้านขายยา ห้องตรวจแล็บ ที่เข้ามาในเครือข่ายก็สามารถเข้าได้ทุกแห่ง วันที่ 8 มกราคม 2567 เราจะเปิดพร้อมกันทั่วประเทศ ภาคเหนือ แพร่ ภาคอีสาน ร้อยเอ็ด ภาคกลาง เพชรบุรี ภาคใต้ นราธิวาส วันที่ 2 มีนาคม 2567 เราจะเปิดขยายโครงการไปอีก 8 จังหวัด ตามเขตบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขมี 12 เขต รวม กทม.อีก 1 เขต เป็น 13 เขต จาก 12 เขต เราเลือก 4 จังหวัดนำร่องไปแล้วที่เหลือ 8 เขต เราก็เลือกมาอีก 8 จังหวัด เขต 2 เพชรบูรณ์ เขต 3 นครสวรรค์ เขต 4 สิงห์บุรี เขต 6 สระแก้ว เขต 8 หนองบัวลำพู เขต 9 โคราช เขต 10 อำนาจเจริญ และ เขต11 พังงา หลังจากนั้นประมาณ เมษายน 2567เราจะเชื่อมในภูมิภาคอีก 4 เขต เขต 1 ภาคเหนือของเรามี 8 จังหวัด สามารถเข้าได้ทุกที่ใน 8 จังหวัดนี้ เฉพาะเครือข่ายของกระทรวงสาธารณสุข ยกเว้นที่จังหวัดแพร่ เข้าได้ทุกเครือข่าย รวมถึง เขต 1 เขต 4 เขต 9 และ เขต 12 แล้วหลังจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี เรามั่นใจว่าเราจะเชื่อมโยงเครือข่ายได้ทั้งประเทศ

นพ.ศรีแก้ว กล่าวถึงโครงการนี้จะกระทบกับการถ่ายโอน รพ.สต.หรือไม่ นั้น เปิดเผยว่า ข้อมูลการเชื่อมโยงเครือข่ายมีความสมบูรณ์มีประวัติการรักษาที่เคาะดูได้ทุกจุด ไม่ว่าจะรักษาตรงไหน ประวัติการรักษาเดิมที่เรียกว่าการบันทึกกประวัติการรักษาจะอยู่ในฟอร์แมต(หมายถึงรูปแบบการเก็บข้อมูลของโปรแกรมสำเร็จแต่ละโปรแกรม)ของเราทั้งหมด จึงทำให้ระบบบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ จะไม่กระทบการกระจายอำนาจขของ รพ.สต.ในการถ่ายโอน แต่กลับเป็นโยบายที่ ส่งเสริมให้ รพ.สต.สามารถจัดบริการประชาชนได้ดีขึ้น เพราะว่า รพ.สต.เขารับผิดชอบการให้บริการระดับปฐมภูมิ เป็นการรักษาเบื้องต้น การรักษาระดับครอบครัว การที่เรามีนโยบายนี้ มันสามารถส่งหมอที่มีอย่างจำกัดลงไปดูใน รพ.สต.ได้ โดยผ่ายระบบดิจิตอลของเรา ส่วนการโอนภารกิจ รพ.สต. เราก็เริ่มปี 2566 แล้วก็ ปี 2567-68 รพ.สต.ที่ไหนมีความพร้อม อบจ.ไหนมีความพร้อม ก็เริ่มกระบวนการไป ไม่มีคำว่าสิ้นสุด พร้อมเมื่อไหร่ก็โอนได้ตลอด

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว กล่าวถึง เงินดิจิตอล 1 หมื่นบาทว่า ในส่วนของ เงินดิจิตอล 1 หมื่นบาท นั้นเป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ที่เป็นคำมั่น ท่านนายกรัฐมนตรีว่า โครงการนี้ดำเนินการไม่มียกเลิก รอข้อกฎหมายเท่านั้นเอง ท่านนายกบอกว่าถ้ากฎหมายเสร็จก็จะเริ่มพฤษภาคม 2567 นี้

ญาณัจฉรา โชติถนอมกิจ
ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ

แพร่…รายงาน