ข่าวรัฐสภา

จังหวัดเชียงใหม่ คณะอนุกรรมการจัดโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชนตามวิถีไทยนิยม ยั่งยืน

วันที่ 26 มิถุนายน 2561 เวลา 12.30 – 14.00 นาฬิกา ณ ที่ว่าการอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ คณะอนุกรรมการจัดโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชนตามวิถีไทยนิยม ยั่งยืน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน (เขต 12) ประกอบด้วย นายปรีชา บัววิรัตน์เลิศ พร้อมด้วย พลโท อำพน ชูประทุม พร้อมด้วยอนุกรรมการ ประชุมร่วมกับนายทรงศักดิ์ วิลัยใจ นายอำเภอพร้าว ปลัดอาวุโส และส่วนราชการในพื้นที่ เพื่อแลกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืนสำหรับประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ต้องการได้รับการแก้ไข อาทิ ปัญหาถนน
ปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาไฟฟ้า ปัญหาขยะ และปัญหาน้ำดื่ม
โอกาสนี้ คณะอนุกรรมการได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1.รัฐบาลมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้เรียนรู้การเป็นเจ้าของ การเสนอความต้องการ เรียนรู้การทำงาน การวางแผน การบริหารงบประมาณ ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
2.การส่งเสริมอาชีพให้คำนึงถึงผู้ซื้อหรือตลาด เนื่องจากมีการแข็งขันกันมีลูกค้ามีความต้องการซื้อจัดกลุ่มเลยว่ากลุ่มนี้จะฝึกอบรมอะไร ให้มีฝึกอบรมหลายวิชาชีพ และให้รวมตัวกันเป็นสหกรณ์มีการระดมทุน
3.ขอให้คัดแยกปัญหา ปัญหาอะไรที่สามารถดำเนินการเองได้และปัญหาอะไรที่ไม่สามารถดำเนินการเองได้ ขอให้นำเสนอผ่านอำเภอ จังหวัด ทาง สนช.จะช่วยผลักดันในอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้ อีกทั้ง ฝากให้มีการพิจารณาโครงการให้มีความครอบคลุมในเงื่อนไขของโครงการ และขอให้มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างอำเภอและส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
4.อนุกรรมการเมื่อได้ลงพื้นที่แล้วจะมีการประชุมคณะอนุกรรมการโดยจะนำประเด็นปัญหาที่ได้รับมาปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน และจะได้รวบรวมประเด็นปัญหาทั้งหมดที่ได้นำเรียนรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง และจะสะท้อนปัญหานั้นไปยังรัฐบาลเพื่อรับทราบต่อไป
5.หลักการร่วมมือกันระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยส่วนกลางมอบนโยบาย มีส่วนภูมิภาค จังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น ที่ทำบริการสาธารณประโยชน์ เช่น อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในส่วนนี้จะมีข้อมูลความต้องการของประชาชนอยู่ ก็ควรจะนำมาเป็นแม่บทระดับอำเภอ ตำบล และนำเสนอขึ้นมาในระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด และถ้าเกินกำลังของจังหวัดก็นำเสนอแผนมายังส่วนกลาง ก็จะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนที่นำเสนอจากระดับล่างขึ้นมาสู่ระดับบนและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
6.ต้องมีการประชาสัมพันธ์ สื่อสารข้อมูลให้มีความชัดเจน เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ประชาชนบางท่านไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วนทำให้เสียโอกาสโดนตัดเงินในรอบ 2 ดังนั้น คุณมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ คุณสามารถใช้กำนัน ผู้ใหญ่ นี้ เป็นคนให้ข้อมูลหรือประชาสัมพันธ์ได้ เพราะอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว
7.โครงการใดที่อยู่อำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น ขอให้ท้องถิ่นดำเนินการโดยไม่ต้องรองบประมาณจากส่วนกลาง โดยการใช้เงินสะสมแก้ไขปัญหา เพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนอย่างรวดเร็ว และโครงการใดที่ยังไม่ได้รับงบประมาณสามารถนำไปเป็นแผนในปีงบประมาณต่อไปได้
8.ในเรื่องเงิน 300,000 บาท ของเกษตรนั้น ต้องให้แนวคิดให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในพื้นที่ เราต้องทำอย่างไร ต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรหรือไร สามารถนำโครงการ 9101 หรือ กองทุนหมู่บ้านมาต่อยอดได้หรือไม่ ดังนั้น เราต้องบูรณาการร่วมกัน พูดคุยกัน วางแผนร่วมกัน
9.เรื่องโครงการนวัติวิถี เรื่องท่องเที่ยว เงินในกิจกรรมที่ 5 ที่ต้องหัก 40% ไปงบประชาสัมพันธ์ของจังหวัดนั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายๆ อำเภอได้นำมาพูดคุยนั้น ถือเป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ต้องนำเรียนส่วนกลางให้ทราบต่อไป จะเป็นการดีถ้าใช้งบประชาสัมพันธ์โดยให้กลุ่มนักศึกษาเข้ามามีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์ เป็นการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาไปอีกทาง
10.ในเรื่องบัตรผู้มีรายได้น้อยนั้น ขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ปลัดปกครอง ออมสิน ธอส. จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงขั้นตอน หลักเกณฑ์ และควรจะศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ด้วย เพื่อจะได้สร้างความเข้าใจ และสามารถตอบคำถามข้อสงสัย อีกทั้ง สามารถให้แนะนำแก่ประชาชนได้ และขอฝากเรื่องผู้มีรายได้ที่ควรจะได้ แต่ไม่ได้ เรามีแนวทางช่วยเหลืออย่างไร

 

ภาพ/ข่าว กฤษรชฏะชญตว์ กฤษพิพัฒนโภคิน ทีมข่าวไทยเกอร์นิวส์ รัฐสภา รายงาน