Uncategorized

สื่อมาเลเซีย วิเคราะห์ข่าวใหญ่ของไทย น่าสนใจ ! “การพูดคุยสันติภาพ จชต. : จริงหรือ BRN มีอำนาจในการหยุดยั้งการก่อการร้ายใน จชต.

สื่อมาเลเซีย วิเคราะห์ข่าวใหญ่ของไทย น่าสนใจ ! “การพูดคุยสันติภาพ จชต. : จริงหรือ BRN มีอำนาจในการหยุดยั้งการก่อการร้ายใน จชต.


สำนักข่าว UtusanTv ของมาเลเซีย ได้นำเสนอบทความสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างรัฐบาลไทย กับแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ซึ่งได้มีขึ้นเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยผู้เขียนบทความครั้งนี้ ยังได้ตั้งคำถามหลายเรื่อง ในหลายสิ่งที่คณะทั้งสองได้ตั้งโต๊ะพูดคุยกันเพื่อหวังว่า “กระบวนการพูดคุยที่มีขึ้นหลายครั้งจะสามารถยุติหรือหยุดยั้งเหตุความรุนแรงในพื้นที่ จชต.ของไทยได้หรือไม่ (เมื่อไร) การตั้งหัวบทความครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทย โดยเฉพาะรัฐบาลไทยหวังที่จะให้เกิดขึ้น แต่จริงหรือไม่ !!

Adakah kumpulan pejuang BRN ada kuasa henti keganasan di Selatan Thailand?
“การพูดคุยสันติภาพ จชต. : จริงหรือ BRN มีอำนาจในการหยุดยั้งการก่อการร้ายใน จชต.ของประเทศไทยหรือไม่?”

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ และ 7 กุมภาพันธ์ กระบวนการพูดคุยสันติภาพจชต.ระหว่างรัฐบาลไทย กับแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ได้มีขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในแถลงการณ์ของผู้อํานวยความสะดวกของประเทศมาเลเซีย กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต.
โดย พลเอก ตันศรี ซุลกิฟลี ไซยนัน อาบีดีน กล่าวว่าทั้งสองฝ่ายได้ยอมรับแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (JCPP) ซึ่งจะดำเนินการในอนาคตอันใกล้นี้

พลเอก ตันศรี ซุลกิฟลีฯ ยืนยันว่า รัฐบาลมาเลเซียยืนยันที่จะดำเนินการการพูดคุยอย่างมั่นใจอย่างโปร่งใสและครอบคลุม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จชต.ของไทย ผู้เขียนไม่สงสัยในความโปร่งใส และความมุ่งมานะของรัฐบาลมาเลเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลเอกตันศรี ซุลกิฟลี ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อํานวยความสะดวกในการแสวงหาสันติภาพในพื้นที่ จชต.ของไทยและผู้เขียนก็ไม่ได้โต้แย้งหรือสงสัยในความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการหยุดยั้งความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.ของไทย ที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนานจนได้สังเวยชีวิต ไปแล้วกว่า 7,000 คน นอกจากนี้ ผู้เขียนไม่ได้โต้แย้งถึงแถลงการณ์ของ อุสตาซ อานัส อับดุลเราะห์มาน หัวหน้าคณะผู้แทนของกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ยืนยันว่าการพูดคุยสันติภาพ จชต.ของไทยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและเหมาะสม ในการหาทางออกสู่สันติภาพที่แท้จริงและยั่งยืนในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการตั้งคําถามก็คือว่า บีอาร์เอ็น เป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทยจริงหรือไม่? หรือเพียงแค่เป็นการอ้างว่าสามารถควบคุมกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทยได้ทั้งหมด สำหรับบันทึกความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทยซึ่งประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส และยะลา รวมถึง 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวน
มาก คือ อำเภอเทพา จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย ผู้เขียนได้ตั้งคําถามนี้เนื่องจากในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันแรกของการพูดคุยในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต. ของประเทศไทย ตำรวจไทยถูกสังหารในจังหวัดนราธิวาสโดยกลุ่มที่เรียกว่าผู้ก่อการร้ายโจมตีแฟลตซึ่งเป็นที่พักอาศัยของตำรวจ ในเหตุการณ์เมื่อเวลา 20.30น. (21.30 น. ตามเวลามาเลเซีย) แฟลตตำรวจภูธรอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ตามรายงานของสื่อไทยระบุว่า ตำรวจนายดังกล่าวถูกกระสุนปืนที่คอเสียชีวิต ในอีกเหตุการณ์หนึ่งมีการระเบิดบริเวณปากซอยบาเละ ในเขตอำเภอรือเสาะ ตำรวจเชื่อว่าทั้งสองเหตุการณ์นั้นเป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการติดอาวุธ/นักสู้ เพื่อสร้างบรรยากาศความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และเพื่อโต้แย้ง/ตอบโต้กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต. ของประเทศไทยที่กําลังดำเนินอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์

คําถามคือ หากเป็นความจริงที่กลุ่มนักรบหรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ จชต.ของไทยเป็นตัวแทนไปเจรจากับรัฐบาลไทย แล้วการโจมตีเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใดจึงมีการคัดค้านหากเป็นความจริงที่ บีอาร์เอ็นเป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดในสพื้นที่ จชต. ของไทย โดยปกติแล้วในการเจรจาสันติภาพใด ๆ ในโลก รวมถึงกระบวนการแลกเปลี่ยนนักโทษในความขัดแย้งระหว่างระบอบไซออนิสต์ของอิสราเอลและฮามาสการพักรบจะได้รับการปฏิบัติเพื่อให้กระบวนการดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่น่าเสียดายที่ในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทย มันค่อนข้างแปลกเมื่อกลุ่มที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเจรจา ที่กำลังมีการพูดคุยที่กัวลาลัมเปอร์กับรัฐบาลไทย ในเวลาเดียวกันได้มีการโจมตีที่นราธิวาส และทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่รักษาความปลอดภัยเสียชีวิต จึงเป็นเหตุให้ผู้เขียนอดที่จะตั้งคำถามในประเด็นนี้ขึ้นมาว่า ตัวแทนบีอาร์เอ็นที่ได้วางตัวอย่างสง่า
งาม เข้าร่วมกระบวนการพูดคุยสันติภาพในกัวลาลัมเปอร์นั้น พวกเขาเป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มไหน?
พวกเขาเพียงแต่มีอำนาจน้อยนิดในพื้นที่ปัตตานีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นหรือ ในขณะที่ในจังหวัดอื่น ๆ เช่น นราธิวาส และ ยะลามีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่น ๆ ที่มีอำนาจมากกว่า บีอาร์เอ็นหรือไม่? เป็นความจริงหรือที่คณะผู้แทนบีอาร์เอ็นที่เข้าร่วมในพูดคุยนั้นไม่ได้เป็นตัวแทนของปีกฝ่ายทหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในปีกที่มีอำนาจมากที่สุดของบีอาร์เอ็น แต่พวกเขาเป็นตัวแทนปีกฝ่ายการเมืองการพูดคุยสันติภาพที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางอาวุธ มันควรจะเป็นผู้แทนปีกฝ่ายทหาร ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะปีกฝ่ายทหารเป็นผู้ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ไม่ใช่ปีกฝ่ายอื่น ที่อ้างเป็นผู้นําที่เพียงแค่ออกคำสั่งจากต่างประเทศ เหตุใดปีกฝ่ายทหารจึงไม่ถูกนําเข้ามาเป็นสมาชิกของคณะผู้แทนบีอาร์เอ็น จริงหรือไม่ที่คําฟ้องที่ระบุถึงความขัดแย้งทางการเมืองภายในของบีอาร์เอ็นนั้น ร้ายแรงกว่าความขัดแย้งในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงสถานะของคณะผู้แทนบีอาร์เอ็นที่มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติซึ่งกันและกัน?

จริงหรือไม่ ที่การอ้างว่าบีอาร์เอ็นได้รับการสนับสนุนจากประชากรมุสลิมมากกว่าร้อยละ 5 ของประชากรมุสลิมทั้งหมดกว่า 3 ล้านคนในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหาร และบุคคลที่สูญเสียสมาชิกในครอบครัวจากเหตุการณ์การขัดแย้ง สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในจังหวัดปัตตานี ยะลา หรือนราธิวาส ต้องการอยู่อย่างสงบสุข จึงไม่อยากอยู่อย่างหวาดกลัวและตกอยู่ในความเสี่ยงต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ผู้เขียนเพียงแค่ตั้งคำถาม หวังว่าอย่ามีกลุ่มคนฉลาด รวมถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทยที่สนับสนุนบีอาร์เอ็น กล่าวหาผู้เขียนว่า เป็นนักเขียนรับจ้างให้ “สยาม” (สยาม:เป็นคำเรียกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่อรัฐบาลไทย)คําถามเหล่านั้นจำเป็นต้องได้รับคําตอบ เพราะเราไม่ต้องการให้ความมุ่งมั่นของรัฐบาลมาเลเซีย

โดยเฉพาะ พลเอก ตันศรี ซุลกีฟลีฯ และทีมงานของท่านและความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการแสวงหาสันติภาพในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทยจะสูญเปล่า ขอบคุณพระเจ้า ตามที่ พลเอก ตันศรี ซุลกีฟลีฯ ได้กล่าวว่า ฝ่ายไทยที่เป็นตัวแทนคณะพุดคุยสันติภาพ จชต. ที่ได้แสดงความพร้อม ที่จะเริ่มมาตรการที่จําเป็นเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติภาพ สำหรับสิ่งนั้น เขากล่าวว่า ความพยายามในการสร้างสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะมีการหารือโดยทีมเทคนิคของทั้งสองฝ่ายในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ผู้เขียนขอสวดขอพรและหวังว่า สิ่งที่วางแผนไว้จะเป็นจริงเพื่อความสงบสุขและความเป็นอยู่ที่ดีในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทยด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงเป็นที่คาดหวังว่า บีอาร์เอ็นเป็นตัวแทนที่แท้จริงของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดในพื้นที่ จชต. และที่สำคัญที่สุดคือมีอำนาจในการหยุดการโจมตีใดๆ นอกจากนี้หากเป็นเรื่องจริงที่บีอาร์เอ็นอยู่ในอำนาจ เริ่มต้นสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติภาพในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทย พวกเขาจำเป็นต้องสั่งให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเพื่อยุติการโจมตีใด ๆ เพื่อให้กระบวนการพูดคุยไม่ถูกรบกวนและความล้มเหลว ซึ่งรวมถึงการโจมตีเพื่อรําลึกถึงโศกนาฏกรรมหรือเหตุการณ์นองเลือดในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทย เช่น การโจมตีมัสยิดกรือเซะ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2547 โศกนาฏกรรมตากใบเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 และการเสียชีวิตของนักจิตวิณญาณภาคใต้ของไทย ฮัจยี สุหลง ฮับดุลเลาะ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 คงไม่ผิดที่จะจัดพิธีการทางศาสนาและละหมาดเพื่ออุทิศให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ แต่อย่าใช้เป็นเครื่องมือปลุกระดม เพื่อทำให้ประชากรมุสลิมโกรธเคือง จนทำลายความสงบสุขในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทย

ในขณะเดียวกันบีอาร์เอ็น จำเป็นต้องมีวิจารณญาณเมื่อได้รับข้อมูล ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการพูดคุยสันติภาพ จชต. ที่กัวลาลัมเปอร์ ผู้แทนบีอาร์เอ็นทุกคนสวมเสื้อชุดมลายู ซึ่งได้ข่าวว่า เป็นการประท้วงการควบคุมตัวสมาชิกเอ็นจีโอ 9 คน โดยทางการไทยซึ่งอ้างว่าสวมเสื้อชุดมลายู และประเด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาโดย อุซตัส อานัส อับดุล เราะห์มาน หัวหน้า คณะบีอาร์เอ็นบนโต๊ะพูดคุยในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาทั้งหมดถูกจับกุมเมื่อเร็ว ๆ นี้หลังจากพิธีกล่าวสุนทรพจน์ปลุกระดมคนหนุ่มสาวให้ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาล ดังนั้น บีอาร์เอ็น ไม่เพียงแต่ต้องพิสูจน์ว่าพวกเขามีอิทธิพลและอำนาจในการหยุดการโจมตีโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดน แต่ต้องชาญฉลาดในการกรองข้อมูล เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในพื้นที่ จชต. ของประเทศไทยหากไม่ไประสบความสำเร็จ หมายความว่ามีบางอย่างผิดปกติกับการยอมรับของการกล่าวอ้าง บีอาร์เอ็นว่า พวกเขาเป็นตัวแทนของคณะผู้แทนของนักสู้หรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ด้วยเหตุนี้ กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต.จึงไร้ผล ไม่ใช่เพราะ บีอาร์เอ็นไม่คู่ควร แต่อำนาจและอิทธิพลของพวกเขาไม่มากเท่าที่ควร อาจมีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มอื่น ๆ ที่ควรนำเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุยสันติภาพ จชต. ของประเทศไทย

ดังนั้น ในการพูดคุยครั้งต่อไป ตามที่ได้ยืนยันและเน้นย้ำโดย พลเอก ตันศรี ซุลกีฟลีฯ อาจนําไปใช้ได้คือ คณะพูดคุยฯ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องการว่าการรวมกลุ่มมีความสำคัญมาก ซึ่งหมายความว่าต้องเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กล่าวคือ ทั้งสองฝ่าย รวมถึงฝ่ายอื่น ๆ เช่น กลุ่มพูโล, กลุ่มมูจาฮีดีน กลุ่ม บีเอ็นพี ประชาชนในพื้นที่ และองค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศหากสามารถทำได้ความฝันของที่ พลเอก ตันศรี ซุลกีฟลีฯ ที่จะเห็นวัตถุประสงค์ของการพูดคุยสันติภาพ จชต. ประสบความสำเร็จ จะเป็นความจริงเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ จชต.ของประเทศไทย