ข่าว ร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ด.. พิธีกรรม”เต้านางด้ง”สารถึงพญาแถน และสาสน์ถึงลูกหลาน ที่ อ.เสลภูมิ

ร้อยเอ็ด..
พิธีกรรม”เต้านางด้ง”สารถึงพญาแถน และสาสน์ถึงลูกหลาน ที่ อ.เสลภูมิ
ค่ำคืนวันที่ 21 ก.ค.2562 เวลา 19.00 น.เกษตรกรชาวนาบ้านนาดี ม.1 ต.วังหลวง อ.เสลภูมิ ประมาณ 140 หลังคาเรือนรวมใจกันทำพิธีกรรม”เต้านางด้ง”เพื่อขอฝนจากพญาแถน นายชุมพล พรหมวงค์ อยุ 77 ปีทำหน้าที่กระจ้ำ(เชิญเทวดา-พญาแถน) ลงมาฟังสารจากชาวบ้าน นายประสงค์ สมนาเมือง 83 ปี ผู้นำชาวบ้านอ่านกาพย์เซิ้งสารถึงพญาแถนในความเดือดร้อนของชาวโลก.และพาลูกหลานอ่านสาสน์สอนลูกสอนหลาน

**บ้านนาดี ม.1 ต.วังหลวง อ.เสลภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดร้อยเอ็ดประมาณ 70 กม.สังคมแบบชนบท อาชีพ เพาะปลูกสวนมาก ทำนาปีต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลัก ต้นเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมฝนทิ้งช่วง ข้าวกล้าในนาแห้งดินขาดน้ำ คนเฒ่าคนแก่แห่งชุมชนบ้านนาดี ม.1 ต.วังหลวง มีความเชื่อว่า พิธีแห่นางแมว พิธีบุญบั้งไฟ พิธีเต้านางด้ง พิธีเต้าเชียงข้อง พิธีโยนครกโยนสาก พิธีสวดคาถาปลาค่อ เป็นพิธีบูชาพญาแถนให้บันดาลฝนตกลงมนุษย์โลก
***นายธงสิน ธนกัญญา อายุ 62 ปี อดีต ผอ.โรงเรียนท่าเยี่ยม ต.วังหลวง อ.เสลภูมิ ได้อนุเคราะห์เล่าให้ทีมข่าวท้องถิ่นถึงคติชนวิทยา กุศโลบาย “พิธีเต้านางด้ง”จะจัดเฉพาะปีที่เกิดฝนแล้งเท่านั้น เมื่อ ธรรมชาติเกิดการแปรปรวนส่งผลต่อวิถีชีวิตของชาวอีสาน เชื่อว่าเป็นการลงโทษของสิ่งลี้ลับที่มี อำนาจเหนือธรรมชาติดลบันดาลให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล บทเซิ้งที่ใช้เป็นสารที่ 1.ในการอ้อนวอนส่งถึงพญาแถนให้ฝนตกลงสู่โลกมนุษย์ สาสน์ที่ 2 เป็นคำคมสอนลูกสอนหลานให้ฮู้จักศิล-ธรรม****อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธืกรรมมี
1.หญิงหม่ายในหมู่บ้าน 2 คนเพื่อจับกระด้ง(เครื่องจักสานจากไม้ไผ่)
2.ไม้คานหาบจากบ้านหญิงที่เป็นหม่าย จำนวน 4 อัน
3.กะด้ง 2 อันมัดประกบกัน
4.ด้านในกระด้งจะมีหอยหนึ่งตัว

ดำเนิน พรมไชยา/ถ่ายภาพ-รายงาน