ปทุมธานี

ปทุมธานีชาวไทยเชื้อสายรามัญจัดงานร่วมสืบทอดวัฒนธรรมในวันรำลึกบรรพชนมอญ

ปทุมธานีชาวไทยเชื้อสายรามัญจัดงานร่วมสืบทอดวัฒนธรรมในวันรำลึกบรรพชนมอญ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 นายคมสันต์ ญานวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานเปิดงานสืบทอดวัฒนธรรมในวันรำลึกบรรพชนมอญ” รามัญศิลป์ถิ่นปทุม “ครั้งที่ 77 ณ วัดหงส์ปทุมาวาส ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยมีชาวไทยเชื้อสายมอญจากชุมชนทั่วประเทศได้เดินทางมาร่วมกันจัดงานสืบทอดวัฒนธรรมในวันรำลึกบรรพชนมอญ ประจำปีพุทธศักราช 2567 โดยมีพระครูปทุมวรคุณ(ณรง์ (อคฺควณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดหงส์ปทุมาวาส ประธานฝ่ายสงฆ์ พระครู ดร.สุนทร คุณธาดา (หลวงพ่อทองกลึง) วัดเจดีย์หอย) อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี รองประธานฝ่ายสงฆ์ พลเอก บัณฑูร ติปยานนท์ ประธานชมรมชาวไทยเชื้อสายรามัญปทุมธานี ประธานฝ่ายฆารวาส พลโท จาปศักดิ์ จาปแก้ว พลโทบัญชา ถนอมทอง พล.อ.อ.สักก์สกล แสงสุกรัตน์วดี คุณสำเนียง นิรมย์ อาจารย์รัตยา ชลายมนาวิน คุณเวนิต วัฒนธำรงค์ พันเอก รศ.ดร.วีรพล แพทย์ประสิทธิ์ พันเอก ณรงค์ ครองแถว นาวาอากาศเอกโชค หาญสวัสดิ์ คุณสุนทรี ดนตรีเสนาะ พร้อมทั้งชุมชนชาวมอญ ต่าง ๆ ทั่วประเทศร่วมกันให้การต้อนรับ
บรรยากาศของการจัดงานชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศ ทยอยเดินทางมาถึงจุดเริ่มขบวน ณ สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติปทุมธานี ต่อจากนั้นเริ่มริ้วขบวนทั้งหมด 25 ขบวน จำนวน 500 คน

แห่เข้าสู่หน้าเวทีใหญ่ รร.วัดหงส์ปทุมาวาส อาจารย์สนั่น มีขันหมาก ได้กล่าวสดุดีรำลึกถึงบรรพชนมอญว่าชนชาติมอญผู้ร่ำรวยอารยธรรมจักเจริญรุ่งเรืองได้ตราบเท่าที่ลูกหลานมอญยังคงเทิดทูนหวงแหนไว้ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม สืบทอดต่อจากบรรพบุรุษมอญผู้เสียสละแล้วซึ่งเลือดเนื้อ เพื่อเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่มิอาจเป็นข้าฯแผ่นดินของชนชาติอื่น กระทั้งโชคชะตาได้นำพาบรรพชนของเราเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในดินแดนสยาม บัดนี้ลูกหลานมอญในเมืองไทยก็ได้เจริญรุ่งเรื่องด้วยความผาสุขสืบมา ปรากฏดังปัจจุบันสมัย และพิธีส่งมอบธงสัญลักษณ์งานวันรำลึกบรรพชนมอญให้กับเจ้าภาพครั้งที่ 78 พ.ศ.2568 ต่อไป
โดยพลเอก บัณฑูร ติปยานนท์ ประธานชมรมชาวไทยเชื้อสายรามัญปทุมธานี ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ว่าการจัดงานรำลึกถึงบรรพชนมอญครั้งที่ 77ในครั้งนี้เป็นการจัดโดยความร่วมมือของชาวไทยเชื้อสายรามัญปทุมธานีกับชมรมมอญกรุงเทพซึ่งจะหมุนเวียนกันไปทุกปี ในปีนี้ปทุมธานีรับเป็นเจ้าภาพในการจัดวัตถุประสงค์ก็คล้ายๆกันทุกปีมีอยู่ 2 ประการ ประการแรกต้องการที่จะแสดงความกตัญญูกตเวทีตอบแทนบรรพบุรุษมอญ ประการที่สองก็คือส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมตลอดจนฟื้นฟูวัฒนธรรมมอญให้สืบต่อไปจนชั่วลูกชั่วหลาน
ภายในงานมีการจัดนิทรรศการชนชาติมอญ และเปิดร้านจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านมอญ ร้านอาหารพื้นบ้านของชุมชนมอญต่างๆ การแสดงรำหงส์ทอง ตามตำนานเมืองหงสาวดี ซึ่งจะหาดูได้ยาก

สญชัย คล้ายแก้ว/รายงาน