ข่าว ปัตตานี

ปัตตานีจัดแข่งนกกรงหัวจุกครั้งแรก มีนกร่วมแข่งมากกว่า 1000 ตัว

ปัตตานีจัดแข่งนกกรงหัวจุกครั้งแรก มีนกร่วมแข่งมากกว่า 1000 ตัว

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ที่บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดปัตตานี ได้จัดการแข่งขันนกกรงหัวจุก ศึกชิงแชมป์ จังหวัดปัตตานี ซึ่งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้จัดงานแข่งนกกรงหัวจุกระดับจังหวัด โดยมีประชาชนที่เลี้ยงนกกรงหัวจุกมารวมแข่งขันทั้งในและนอกจังหวัด ซึ่งมีค่าลงทะเบียนนกตัวละ 200 บาท รวมแล้วมีนกที่ลงทะเบียนแข่งมากกว่า 1000 ตัว อีกทั้งยังได้นำกรรมการที่สุดยอดทางด้านนี้จากตัวแทนแต่ละตำบล มาเป็นกรรมการการตัดสิน ซึ่งของรางวัลนอกจากถ้วยแชมป์แล้วนั้น ยังมีการจับรางวัลหางบัตร ที่มีรางวัลใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก นายรอมดอน หะยีอาแว. ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานเปิดพิธีการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย
ซึ่งบรรยากาศในงานแข่งขันของวันนี้ เหล่าผู้เลี้ยงนกได้เดินทางมาตั้งแต่ช่วงสายของวันนี้ พร้อมกับนกคู่ใจ ซึ่งได้มาลงทะเบียนนก ก่อนจะเริ่มการแข่งขันในช่วงเที่ยง โดยขณะที่เริ่มการแข่งขัน เหล่าบรรดาผู้เลี้ยงนกที่ส่งนกของตัวเองเข้าประชันเสียงนั้น นอกจกาที่นกจะต้องร้องเสียงเพื่อเป็นการเรียกคะแนนแล้ว ทางเหล่าผู้เลี้ยงนกก็โชว์สกิลการกระตุ้นให้นกของตัวเองร้องด้วยเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการปรมมือเรียกตามจังหวัดและขยับท่าทาง สร้างความสนุกสนานและยังเป็นสีสันอีกอย่างในการแข่งนกครั้งนี้
นอกจากจะมีการแข่งนกกรงหัวจุกแล้ว ยังมีทางพ่อค้าในพื้นที่ มาขายกรงนก ซึ่งเป็นงานฝีมือท้องถิ่นที่ผู้เลี้ยงนกในจังหวัดปัตตานีได้สร้างขึ้นอย่างงดงามและบรรจงฝีมืออย่างสุดสวย โดยจะมีขายแบบทั้งกรงรูปแบบ สี่เหลี่ยม วงกลม รวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับนกกรุงหัวจุก และอาหารนกด้วยเช่นกัน ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่เอานกมาแข่งอย่างมาก โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่กรงละ 3500 บาทขึ้นไป
สำหรับพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนใต้ นกกรงหัวจุกมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการแข่งขันนกกรงหัวจุก ถือได้ว่าเป็นนกสายพันธุ์หนึ่ง/ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในพื้นที่ภาคใต้ การเลี้ยงนกกรงหัวจุกมีวัตถุประสงค์การเลี้ยงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะนิยมเลี้ยงไว้ฟังเสียงร้องของนก เพื่อความเพลิดเพลิน

เลี้ยงเพื่อการค้า หรือเลี้ยงไว้เพื่อการแข่งขันประชันเสียง ซึ่งกลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาช้านาน ถือเป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่นที่น่าสนใจ อันจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว การสร้างอาชีพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อต่อยอดให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่จะผลักดันให้การเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็น soft power ให้โดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายรอมดอน หะยีอาแว กล่าวว่า ศอ.บต. พร้อมส่งเสริมวิถีชีวิตของประชาชน ตามความเชื่อ อัตลักษณ์และประเพณี เข้าใจดีว่า การเลี้ยงนกกรงหัวจุกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นวิถีชีวิตที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีต โดยขณะนี้ ศอ.บต. ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เดินหน้าผลักดันการถอดบัญชีนกปรอดหัวโขน (นกกรงหัวจุก) ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ตามพระราชบัญญัติการเพาะพันธุ์สัตว์ป่า พร้อมจัดตั้งอนุกรมคณะกรรมการฯ เพื่อดำเนินการปลดล็อค เชื่อว่าเมื่อมีข่าวดี จะสามารถสร้างรอยยิ้มแก่ชาวบ้านในพื้นที่ที่เลี้ยงและหวงแหนนกกรงหัวจุก เพราะนั่นหมายถึง การสามารถเลี้ยงนกกรงหัวจุกได้อย่างถูกกฎหมาย