ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวรอบรั้วภูธร ข่าวเชียงใหม่ นิตยสารตำรวจ สถานีประชาชน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากับโครงการวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอผลิตหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากับโครงการวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP
ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอผลิตหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

วันที่ 24 ธค.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เป็นประธานเปิดการวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้ดำเนินโครงการวิจัยและกระบวนการ พัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP บนฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อมุ่งสู่การค้าที่เป็นธรรม (พื้นที่ดำเนินการ : กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ ตำบลนาคอเรือ และตำบลบ้านตาล อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ) โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสู่ระบบการค้าที่เป็นธรรมในทุกระดับ และจากการดำเนินดำงาน คณะนักวิจัยได้จัดทำ รายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้นักวิจัยได้นำสอน (ร่าง) รายงานฉบับสมบูรณ์ ของชุดโครงการวิจัย และโครงการวิจัยย่อย ภายใต้ชุดโครงการ ตามกรอบข้อเสนอโครงการวิจัยตามที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อหน่วยงานผู้สนับสนุนงบประมาณและผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานวิจัยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานในพื้นที่ ของผ้าทออำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่โครงการทั้งหมด จะได้นำไปจัดโครงการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อภาคชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาการเรียนการสอนอันเป็นพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยฯ นำไปสู่การพัฒนาเชิงนโยบายระดับท้องถิ่นและระดับประเทศต่อไป

ดร.ภาสวรรธน์ วัชรดำรงศักดิ์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่าในการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อนำเสนอ (ร่าง)รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยย่อยภายใต้โครงการ “การวิจัยและกระบวนการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอพื้นถิ่นของอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ บนฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อมุ่งสู่การค้าที่เป็นธรรม” ในครั้งนี้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีภารกิจในการกำกับ ดูแล สนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรให้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยลักษณะบูรณาการด้านการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ได้จัดทำข้อเสนอโครงการและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมีเป้าหมาย คือ “การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสู่ระบบการค้าที่เป็นธรรมในทุกระดับ” โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานรวม 10 เดือน
เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้และให้นักวิจัยได้มีโอกาสนำเสนอผลการดำเนินงานและรับฟังข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานและการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอ (ร่าง)รายงานฉบับสมบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้อาจารย์นักวิจัยได้นำเสนอ (ร่าง)รายงานฉบับสมบูรณ์ของชุดโครงการวิจัย และโครงการวิจัยย่อย ภายใต้ชุดโครงการ ตามกรอบข้อเสนอโครงการวิจัยตามที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อหน่วยงานผู้สนับสนุนงบประมาณและผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานวิจัยให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานในพื้นที่

โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯครั้งนี้ได้มีชุดโครงการวิจัยจำนวน 1 ชุดโครงการ ประกอบด้วย 1.ชุดโครงการวิจัย “การยกระดับคุณภาพผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ต่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า” จำนวน 1 ชุดโครงการและโครงการย่อยจำนวน 4 โครงการ
2.โครงการวิจัย “การยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค”3.โครงการวิจัย “ศึกษาความเป็นไปได้แนวทางและรูปแบบการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคมกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่”4.โครงการวิจัย “การพัฒนารูปแบบการกระจายรายได้และการแบ่งสัดส่วนที่เป็นธรรมในกลุ่มต้นน้ำ และกลางน้ำ ของผ้าทออำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่”โดยมีนักวิจัยจากภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้แก่ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมเศษสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร รวมถึงนักวิจัยจากชุมชน หน่วยงานภาคี ที่มีประสบการณ์ องค์ความรู้ ความสามารถ ซึ่งจะได้ร่วมกันพัฒนา อันจะนำไปสู่การได้ข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์ต่อชุมชน.

ทรงวุฒิ ทับทอง