ข่าวกระแสสังคม ข่าวรัฐสภา แถลงข่าว

“ไทยศรีวิไลย์” บี้ “บิ๊กตู่”!!เร่งเช็คบิลคดีปรส. ประกาศ “ลอยค่าเงินบาท-ขายทรัพย์สิน” ขาดทุนอื้อ หนี้สาธารณะบาน ทำเศรษฐกิจเจ๊งร่วม 1.4 ล้านล้านบาท!!

https://web.facebook.com/khaochad/videos/2151476988432129/

https://web.facebook.com/khaochad/videos/2151476988432129/

เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่สำนักงานมูลนิธิเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (เมืองทองธานี) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ และว่าที่ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวว่า เมื่อปี 2540 ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤติการเงิน ที่เรียกว่าวิกฤติการต้มยำกุ้ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้สั่งปิด บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 18 แห่ง ปิดธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง เดือน มีนาคม 2540 กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้สถาบันการเงินเพิ่มทุนอีก 10 แห่งวันที่ 27 มิถุนายน 2540 ต้องสั่งปิด 16 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์วันที่ 5 สิงหาคม 2540 ปิดอีก 42 บริษัท รวมเป็น 58 สถาบันการเงิน (เป็นการสั่งปิดชั่วคราว เพื่อแยกสินทรัพย์ ดี – เสีย ออกจากกัน) หลังประกาศค่าเงินบาทลอยตัว พร้อมระงับถอนเงินฝากชั่วคราว 16 สถาบันการเงิน การประกาศคุ้มครองเงินฝาก และอีก 1 เดือนต่อมา ก็สั่งให้ระงับการถอนเงินฝากชั่วคราวกับอีก 42 สถาบันการเงิน หลังประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ได้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจจริง โรงงานหยุดการผลิต โครงการอสังหาริมทรัพย์ถูกปล่อยทิ้งร้าง ธุรกิจหนี้ท่วม หลายแห่งต้องปิดกิจการ มีคนตกงานหลายแสนคน


นายมงคลกิตติ์ กล่าวต่อว่า ด้วยหนี้ต่างประเทศที่สูงมาก ทำให้รัฐบาลไทยต้องเข้าไปทำสัญญาขอกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ(IMF) เข้ามากอบกู้เศรษฐกิจภายใน ซึ่งเงินกู้มาพร้อมกับเงื่อนไขที่เข้มงวด และในมุมหนึ่งฉุดให้เศรษฐกิจไทยในปี 2541 หดตัวรุนแรง ด้วยตัวเลขติดลบถึงร้อยละ 8 อย่างไรก็ตาม ช่วงปี 2534-2539 ระบบเศรษฐกิจไทยเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่ไม่มีเสถียรภาพ มีการจัดตั้งสถาบันการเงินเป็นจำนวนมาก มีนักธุรกิจการเงินบางส่วนเข้ามาเป็นนักการเมือง นั้นหมายรวมถึงนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ด้วย หลายคนเข้ามาทำธุรกิจการเมือง เข้ามาแทรกแซงการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินหลายแห่งเพื่อขยายธุรกิจโดยใช้อำนาจทางการเมืองประมาณ 30% อีกประมาณ 70% นักธุรกิจต่างๆก็เร่งขยายธุรกิจเป็นไปตามปกติ ทั้งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ ต่อมานายทักษิณ ได้มาเป็น รองนายกฯ ดูแลกระทรวงการคลัง และเศรษฐกิจ ก็คิดเอาละกันว่าใครกันที่วางแผนให้ประกาศค่าเงินบาทลอยตัว หรือสถานการณ์พาไปซึ่งกลายเป็นเพราะเป็นระเบิดลูกใหญ่ ต้องเผชิญปัญหาหนี้ท่วม ปิดกิจการ ปลดคนงาน และฉุดรั้งตัวเลขจีดีพีติดลบไปถึงร้อยละ 8 เขาจึงมีเพียง 2 ทางเลือก คือ จะลอยตัวค่าเงินบาท หรือ ลอยตัวแบบมีการตั้งเพดาน

ว่าที่หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวว่า จากผลของการวิกฤติทางด้านการเงินทำให้ พล.อ. ชวลิต ตัดสินใจลาออก ทำให้นายชวน หลีกภัย ได้จัดตั้งรัฐบาลต่อมา ซึ่งผลงานที่ยังเป็นตราบาปของนายชวน คือการสั่งปิด 56 สถาบันการเงินอย่างถาวร ซึ่งการปิดสถาบันการเงิน แทนที่รัฐบาลนายชวน จะแยกหนี้เสีย เพื่อผลประโยชน์ ของเจ้าของเงินฝาก และทำให้บางสถาบันการเงินสามารถดำเนินต่อไปได้ กลับรวมหนี้แล้วให้ บริษัท เลแมน บาเดอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และพวก ในราคาสินทรัพย์ต่ำกว่า ราคา จริง 20 % จากราคา จริง 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท ขาดทุนทั้งสิ้น 660,000 ล้านบาท โดยไม่ได้ลงทุนอะไรเลย กรณีนี้ศาลฏีกาได้สั่ง จำคุก 2 ปี ปรับ 2 หมื่น แต่โทษจำคุก รอลงอาญา 3 ปี กับ นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานปรส. และ นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาฯ ปรส. ขายไฟแนนซ์เน่าถูกให้ต่างชาติ จึงเป็นที่มาของ คดี ปรส. ที่ค้างอยู่ที่ ป.ป.ช.สั่งฟ้องเป็นบางคดี ซึ่ง อัยการสูงสุดได้สั่งฟ้องไปหลายคดี อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
“นี่คือการที่เปิดช่องให้ต่างชาติ เข้ามาฮุบทรัพย์สินของประชาชนอย่างหน้าด้าน ๆ ผ่าน พ.ร.บ.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ปี 2540(ฉบับที่ 2) เพราะ ปรส. ไม่อนุญาตให้ลูกหนี้ ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน มาประมูลโดยตรงได้ แต่กลับให้ซื้อผ่าน ทางบริษัท เลแมน บาเดอร์ส และ พวกฯ ในราคาที่สูงขึ้น คือ ประมาณ 60 -70 % ของราคาทรัพย์สิน ลองคิดดูว่า ต่างชาติได้กำไรเท่าไหร่ เมื่อผู้บริหาร ปรส. คือ ประธานมีความผิด ผู้กำกับโดยกระทรวงการคลัง คือ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ ในฐานะรมว.คลัง และ นายชวน นายกฯ และ คณะรัฐมนตรี เป็นผู้ออกมติ ครม.การขายทรัพย์สินแต่ละครั้งเพราะมีมูลค่าสูง ยากที่จะปัดความรับผิดชอบไปได้” นายมงคลกิตต์ กล่าว


นายมงคลกิตต์ กล่าวด้วยว่า ขอเรียกร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เร่งดำเนินการดังนี้ 1.ขอให้ตรวจสอบและเอาผิดทางอาญา-แพ่ง หรือ ละเมิด ตาม พรบ.ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 กับ การตัดสินใจผิดพลาดและอาจจะทำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาลจนเกิดหนี้สาธารณะ กรณี การประกาศลอยค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2540 ของ คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 52 ทั้งชุดของรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็น นายกรัฐมนตรี อีกทั้ง การออก พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540(ฉบับที่1) เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2540 อาจจะไม่ชอบหรือขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540


2.เร่งดำเนินคดีเพิ่มเติมทางอาญา-แพ่งหรือละเมิดตาม พรบ.ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 กับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขายสินทรัพย์ ปรส อาทิ คณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน(ปรส) ชุดที่ 2 แต่งตั้ง เมื่อ 23 ธันวาคม 2540 จำนวน 6 ราย(หรือชุดอื่นเพิ่มเติม) พร้อม คณะรัฐมนตรี ชุดที่ 53 สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 49 ราย(หรือชุดอื่นเพิ่มเติม) อีกทั้ง การออก พระราชบัญญัติการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ปี 2540 (ฉบับที่ 2) วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 อาจจะไม่ชอบหรือขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งที่ทำให้รัฐขาดทุนทันที 660,000 ล้านบาท ซึ่งถ้านับดอกเบี้ยถึงปัจจุบันกว่า 20 ปี ถ้าร้อยละ 2.5% ร่วม 330,000 ล้านบาท รวมแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งกลายเป็นหนี้สาธารณะในปัจจุบัน ซึ่งถ้าเทียบเคียงกับความเสียหายของการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ถูกดำเนินคดี และตัดสินไปแล้วทั้งคดีอาญา-แพ่ง และอื่นๆ

ด้านนายณัชพล กล่าวว่า ที่ผ่านมานักการเมืองหลายคนเข้ามาเพื่อหวังกอบโกยผลประโยชน์ แต่เมื่อผลกของการกระทำมีปัญหาสร้างความเสียหายกับประเทศชาติ กลับไม่มีใครออกมารับผิดชอบ ตนเห็นว่าวันนี้เราควรออกมาเรียกร้องถึงพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกฯ ที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง ตนจึงนำคดีเก่าๆ ที่นักการเมืองได้สร้างเอาไว้ออกมารื้อฟื้นเพื่อสะท้อนให้ประชาชนเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นประชาชนล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ทางพรรคเตรียมทำหนังสือเพื่อไปยื่นเรื่องให้พล.อ.ประยุทธ์ ในสัปดาห์หน้าช่วงที่นายกฯ ลงพื้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่ จ.อุบลราชธานี.